Boss

รวิศ หาญอุตสาหะ จากมนุษย์เงินเดือน สู่ไอดอลของนักธุรกิจ

หลายคนรู้จัก คุณรวิศ หาญอุตสาหะในฐานะ “เจ้าพ่อคอนเทนต์” ที่เราสามารถรับฟัง-อ่าน-เสพได้ทุกวัน

แต่ตัวเค้าเองยังเป็นผู้บริหารแบรนด์ศรีจันทร์ที่สร้างปรากฎการณ์รีแบรนด์จนสำเร็จและพาแบรนด์โกอินเตอร์จนเป็นกรณีศึกษา ทั้งๆ ที่ไม่มีแบคกราวด์ด้านการตลาด และไม่เคยบริหารองค์กรเลยเพราะก่อนหน้านั้นก็เป็นพนักงานออฟฟิศมนุษย์เงินเดือน

จากมนุษย์เงินเดือน…สู่นักธุรกิจที่สำเร็จ
จากนักธุรกิจ…สู่นักบริหารชีวิตที่เป็นไอดอลของใครหลายคน

เคสของคุณรวิศ หาญอุตสาหะ จึงน่าสนใจไม่น้อย…

Job Demotion – กลยุทธ์ที่หัวหน้ามองข้าม แต่อาจทำให้คนทำงานแฮปปี้ขึ้น

ปกติเวลาเราพูดว่า ต้องการทำให้องค์กร productive / creative / scalable ขึ้น กลยุทธ์มักโฟกัสไปที่การ “เพิ่ม” เข้าไปให้มากขึ้น ใหญ่ขึ้น ถี่ขึ้น เข้มข้นขึ้น โดยลืมไปว่า บางเรื่องอาจจะ Less is more ทำน้อยแต่ได้มาก…น้อยๆ แต่เน้นๆ อาจจะดีกว่า

Servant Leadership

Servant Leadership – ผู้นำที่สร้าง “ผู้นำ” คนอื่นให้ฉายแสงกว่า

ปกติแล้ว เรามักเคยชินกับนิยามของ “ผู้นำ” ที่ดีว่าต้องสามารถสร้าง “ผู้ตาม” ได้เยอะ ผู้นำต้องเป็นคนมีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล มีทักษะบริหารดีเยี่ยม และต้องมีเสน่ห์บางอย่างที่ชวนให้ผู้คนได้เดินตามรอย

แต่ในศาสตร์ภาวะความเป็นผู้นำ ยังมีหลาย Leadership Style เอามากๆ ทั้งผู้นำแบบเผด็จกาจที่ชี้นิ้วสั่งให้เดินตามทุกกระเบียดนิ้ว หรือผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนตกผลึกทางความคิดด้วยตัวเอง

แต่ทั้งหมดนี้ มีอยู่สไตล์หนึ่งที่เรียกว่า Servant Leadership “ผู้นำที่รับใช้คนอื่น” ซึ่งถูกยกขึ้นหิ้งให้เป็นภาวะผู้นำบนยอดสุดของพีรามิด ที่แม้แต่คนระดับหัวหน้าผู้นำด้วยกันเองยังให้การยอมรับนับถือ!

อยากเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้น ลองทำตาม Brand Archetype ของแต่ละคน

ไม่มีหัวหน้างานคนไหนไม่รู้จักวลีคลาสสิคอย่าง “Put the right man on the right job.” เพราะงานของพวกเราอาจไม่ได้เน้นหนักที่ตัวเนื้องานอีกแล้ว แต่เป็นการบริหารคน ชี้แนะคน เข้าใจคน เพื่อที่จะมอบหมายงานได้ตรงความสามารถ

แต่การ “เข้าใจคน” เป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยาก มีความเป็นนามธรรม และยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละคนได้

จึงมีความพยายามประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียกว่า “Brand Archetype” มาช่วยจัดระเบียบความคิด จัดกลุ่มประเภทคนที่มีอุปนิสัยคล้ายกัน เมื่อเราเข้าใจคาแรคเตอร์ลูกทีมมากขึ้น จึงคาดหวัง ดีลงาน มอบหมายงานได้ตรงจุดกว่าเดิม

จากการเมืองสู่การงาน ถอดบทเรียนภาวะผู้นำในสไตล์ “ทิม พิธา”

นาทีนี้ไม่มีใครเฉิดฉายเท่าผู้ชายที่ชื่อ “ทิม พิธา” อีกแล้ว แม้ว่าเขาจะมาจากบริบทการเมือง แต่ถ้าดูให้ดีๆ เราสามารถถอดบทเรียนของเขาในฐานะผู้นำมา apply ใช้กับความเป็นหัวหน้าในการทำงานของพวกเราได้เพียบเลย

ข้อควรระวังสำหรับการเป็นหัวหน้า

เป็นหัวหน้าทีมไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากจะต้องมีความรู้และสามารถบริหารทีมได้ การวางตัวให้ดี และคิดก่อนทำอะไรต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญ มาลองดูกันว่ามีสิ่งไหนบ้างที่หัวหน้างานที่ดี “ไม่ควรทำ”

ทักษะการโค้ช สกิลที่หัวหน้างานหลายคนมองข้าม

รู้หรือไม่? คนเก่งระดับตำนานอย่าง Steve Jobs ยังเคยมี “โค้ชส่วนตัว” โค้ชของเขาชื่อว่าคุณ Bill Campbell ซึ่งจะไปทำการ Coaching ให้กับสตีฟ จ็อบส์อยู่เป็นระยะ…มีคำกล่าวว่า Steve Jobs จะไม่สามารถคิดค้น iPhone 1 ได้เลยถ้าไม่มีการ Coaching กับเค้าคนนี้

ต้องทำอย่างไร เมื่อลูกน้องขอลาออก

การลาออกเป็นเรื่องปกติ ใคร ๆ ก็ลาออกกันถ้าหากเริ่มรู้สึกว่างานที่ทำอยู่ไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองอยากทำแล้ว หรือว่ารู้สึกว่าสังคมในที่ทำงานไม่ใช่ที่ของตัวเอง มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้คนทำงานอยากลาออก ถ้ามองในมุมของหัวหน้า ก็คงไม่อยากมีใครให้ลูกน้องออกหรอก แต่แล้วเราควรจะต้องทำอย่างไรที่จะแก้ปัญหานี้ได้

เจ้าของ TikTok จาง อี้หมิง เริ่มต้นจากการเป็นลูกข้าราชการ

จาง อี้หมิง (Zhang Yiming) คือผู้บุกเบิกสร้างแอป TikTok ที่หลายคนอาจกำลังติดกันระงมในตอนนี้ เขาคือนักธุรกิจหนุ่มอายุ 40 ปีที่อาจเป็นกรณีศึกษาแก่ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารระดับสูงหลายคนได้

เขาเรียนจบด้าน วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) ซึ่งเป็นงานแห่งอนาคตและมีบทบาทในการชี้นำทิศทางธุรกิจ ซึ่งเขาจะได้ใช้มันสร้างแอปตัวหนึ่งที่คนนับ 1,000 ล้านคนใช้กันในอีกไม่กี่ 10 ปีต่อมา

จุดอ่อนของผู้นำ ผู้นำที่ดีไม่ใช่คนที่แข็งแกร่งที่สุด แต่คือคนที่ซื่อสัตย์กับจุดอ่อนของตัวเอง คิดมุมต่างอย่าง Simon Sinek

เคยรู้สึกว่าตัวเราเก่งไม่พอบ้างมั๊ย?
ทำงานมาแค่ไหนก็ยังไม่รู้สึกว่าตัวเองเก่งสักที ทำงานมาสัก 2-3 ปี เวลามีน้องๆ ในทีมมาถาม แต่ก็ยังมีหลายเรื่องที่เราให้คำตอบไม่ได้

หลายๆ ครั้งการทำงานของเรา เราเจ็บปวดกับความไม่รู้ อยากจะทำได้แต่ก็ทำไม่ได้ และใช้ความรู้สึกนี้เป็นเรื่องบั่นทอนจิตใจของตัวเอง แต่จริงๆ แล้วความรู้สึกแบบนี้เป็นความรู้สึกที่แย่จริงๆ หรือเปล่า