ผู้นำที่อ่อนโยนไม่จำเป็นต้องอ่อนแอ บทเรียนจาก Brene Brown

การเป็นผู้นำในภาพที่ทุกคนจำติดตา มักจะเป็นภาพของคนที่ขึงขัง ตัดสินใจฉับไว แก้ปัญหาได้ทันท่วงทีอย่างรวดเร็ว และเด็ดขาด คำถามคือผู้นำที่อ่อนโยน ยอมรับจุดอ่อนของตัวเองนั้นเป็นผู้นำบ้างไม่ได้เหรอ?

Brene Brown เป็นหนึ่งในนักเขียนและนักวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ สิ่งที่เธอสนใจคือ เรื่องของ ความสัมพันธ์ ความรู้สึกละอาย เจ็บปวดของมนุษย์ สิ่งที่เธอสนใจศึกษาคือเรื่องของความละอายและความกลัว (Shame & Fear) ความรู้สึกว่าฉันไม่ดีพอ ฉันไม่เก่งพอ ฉันไม่สมควรได้รับความรัก

คำถามที่เธอสงสัยคือ ทำไมคนแต่ละคนถึงมีความรู้สึกละอายกับตัวเองมาก และทำไมอีกหลายๆ คนถึงก้าวผ่านมันมาได้ จากการศึกษายาวนานกว่า 6 ปี ผ่านบทสัมภาษณ์คนนับพัน

สิ่งที่เธอพบในกลุ่มตัวอย่างที่มีความมั่นใจ ไม่รู้สึกผิดกับตัวเอง หวาดกลัวน้อยกว่าคนอื่นๆ สิ่งหนึ่งที่พวกเขามีร่วมกันคือ

1. Courage พวกเขามีความเห็นใจต่อตัวเองก่อน กล้าที่จะมองโลกตามที่มันเป็น
2. Compassion พวกเขาเห็นอกเห็นใจคนอื่นๆ
3. Connection พวกเขาเข้าใจ เห็นใจตัวเองและที่สำคัญที่สุด
4. Vulnerability พวกเขายอมเปิดเผยด้านที่อ่อนแอของตัวเอง พวกเขายอมละทิ้งตัวตนที่ ‘ควรจะเป็น’ กลายมาเป็น ‘ตัวตนที่พวกเขาเป็นจริงๆ’


เธอค้นพบสิ่งหนึ่งที่สำคัญและน่าสนใจอย่างมาก นั่นคือ “การยอมรับความอ่อนแอเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับตัวเองในเวลาเดียวกัน” ความเปราะบาง เป็นแหล่งของความกลัว ความอ่อนแอ แต่ก็เป็นแหล่งที่มาของ ความคิดสร้างสรรค์ ความรัก ความกล้า ในเวลาเดียวกัน มันเป็นแบบนั้นไปได้ยังไง?

ทำไมความกล้ากับความกลัว ถึงมาจากสิ่งเดียวกันได้

เมื่อเธอศึกษาต่อไปจึงพบว่าผู้คนในปัจจุบัน ‘เพิกเฉยต่อความอ่อนแอ’ ของตัวเอง ทุกคนคิดเองว่า ฉันไม่อยากอ่อนแอ ฉันไม่อยากกลัว ฉันไม่อยากเปราะบาง แล้วก็ปล่อยมันไปยังงั้น ทำเป็นเหมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น เราทุกคนพยายามคิดอยู่เสมอว่าชีวิตนั้นวางแผนได้ ชีวิตมีความแน่นอนและพยากรณ์ได้ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ไม่มีทางทำได้อย่างสมบูรณ์แบบ

แน่นอนว่าเราไม่ควรใช้ชีวิตแบบไม่วางแผนใดๆ แต่ในขณะเดียวกัน การคิดว่าสิ่งต่างๆ นั้นพร้อมจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเราก็เตรียมใจพร้อมจะสู้กับมัน นั่นแหละคือความแข็งแกร่งที่แท้จริง

Brene Brown ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับความเป็นผู้นำขึ้นมาใหม่ ผู้นำที่ดีไม่จำเป็นต้องเสียงดัง แข็งแกร่ง เด็ดขาดเสมอไป แต่ผู้นำที่ดีคือ ’ผู้นำที่ยอมรับจุดอ่อนของตัวเอง’ ยอมรับว่าไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบอย่างที่มันเป็นจริงๆ มีความอ่อนโยน และเข้าใจคนทำงานด้วยกันทุกคน เพราะความแข็งแกร่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรายอมรับความอ่อนแอของตัวเองอย่างเต็มใจนั่นเอง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง