Servant Leadership คืออะไรกันแน่?
ถ้าให้สรุปแบบสั้นๆ Servant Leadership คือผู้นำที่ “สร้างผู้นำ” คนอื่นขึ้นมาอีกที ไม่ยึดติดกับตำแหน่งว่าตัวเองต้องเป็นเบอร์ 1 ไปตลอดกาล ถ้าสมาชิกทีมคนอื่นมีศักยภาพพร้อมโชว์ของ เค้าก็พร้อมเปิดพื้นที่ให้ได้เฉิดฉาย และมีความใจกว้างถึงขั้นให้เฉิดฉายชนิดมาแทนที่ตัวผู้นำคนนั้นเองได้!
ผู้นำประเภทนี้จะทำหน้าที่คอยเสิร์ฟให้บริการ (Servant) สมาชิกทีมคนอื่นๆ พร้อมปั้นลูกทีมที่มีพรสวรรค์มีศักยภาพต่อยอดได้ไกล ปูทางลัดไปสู่ความสำเร็จโดยไม่ต้องผิดพลาดก่อน อำนวยความสะดวกไปสู่จุดหมายได้อย่างราบรื่นขึ้น
เข้าใกล้ความเป็น Servant Leadership อีกนิด?
คำถามที่น่าสนใจคือ แล้วเราต้องทำตัวยังไงบ้างถึงสามารถเป็น…หรือเข้าใกล้สถานะ Servant Leadership ได้มากขึ้น?
อันดับแรก ต้องเปิดให้มี Bottom-Up Empowerment ให้อิสระอำนาจลูกน้องในทีมได้มีส่วนตัดสินใจเรื่องใหญ่ๆ โดยที่หัวหน้ายังคงดูแลอยู่ห่างๆ และแน่นอน คอยรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น ต้องไม่ปล่อยทอดทิ้งให้ลูกทีมโดดเดี่ยว
อีกคาแรคเตอร์ที่ Servant Leader ต้องมีชนิดเป้นอุปนิสัยประจำตัวเลยคือ Empathy & Deep listening เพราะลูกทีมจะโชว์ศักยภาพไปได้ไกล หัวหน้าอย่างเราต้องพยายามเข้าอกเข้าใจความรู้สึกและคอยรับฟังความต้องการอย่างเปิดใจ
ผลวิจัยจาก Salesforce เผยว่า พนักงานที่รู้สึกว่าไอเดียความคิดเห็นของตัวเองได้รับการฟังอย่างใส่ใจจากหัวหน้า จะมีแนวโน้มมากกว่าเดิมถึง 4.6 เท่าที่จะทำงานอย่างเต็มที่ชนิดทุ่มหมดหน้าตัก
อีกเรื่องที่ขาดไม่ได้คือ Accountability แม้หัวหน้าจะเปิดพื้นที่ให้ลูกน้องได้แสดงออก แต่หัวหน้ายังคงต้องแสดงความรับผิดชอบเต็มที่อยู่ การทำแบบนี้ลูกน้องจะรู้สึกปลอดภัยและไม่กังวลจนเกินไปเวลาต้องแสดงศักยภาพบนเวทีใหญ่ ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า แม้ลูกน้องจะเก่ง แต่ทุกคนต้องผ่านขั้นตอนการลองผิดลองถูก ซึ่งอาจเกิดความผิดพลาดขึ้นเป็นธรรมดาอยู่แล้ว
ตัวอย่างในชีวิตจริง
“ทิม พิธา” หัวหน้าพรรคก้าวไกล คือตัวอย่างของผู้นำแบบ Servant Leadership ที่ชัดเจนที่สุดในยุคนี้ก็ว่าได้ แม้จะมาจากบริบทการเมือง แต่เราสามารถ apply มาใช้ในการทำงานในองค์กรได้โดยตรง
เมื่อถูกสื่อซักถามถึงสไตล์การบริหารพรรค คุณทิม พิธาเปิดเผยว่าเขาเป็นผู้นำแบบ Servant Leadership ที่ไม่ต้องการเป็นดาวฤกษ์เพียงดวงเดียว ถ้าสมาขิกพรรคคนไหนมีใครที่ฉายแสงกว่า เก่งโดดเด่นกว่า เค้าก็พร้อมจะถอยหลังและให้คนๆ นั้นได้ออกมาพรีเซนท์ตัวเอง
ไม่แปลกเลยที่พวกเราจะมีโอกาสเห็นและจดจำสมาขิกพรรคก้าวไกลคนอื่นๆ ได้ฉายแสง อาทิเช่น
- เท่าพิภพ – ผู้นำการผลักดันนโยบายสุราก้าวหน้า
- วิโรจน์ ลักขณาอดิศร – ผู้นำที่กล้าท้าชน วิจารณ์แบบตรงไปตรงมา
- รังสิมันต์ โรม – ผู้นำที่เปิดโปงตำรวจเทา และยึดมั่นในความยุติธรรม
- ศิริกัญญา – ผู้นำด้านการคลัง ต้องการผลักดันไปสู่การเป็นรัฐสวัสดิการ
- ธัญวัจน์ – ผู้นำด้านการสมรสเท่าเทียม ผู้เคารพสิทธิมนุษยชนอย่างถึงที่สุด
- ไอติม พริษฐ์ – ผู้นำที่ต้องการปฏิรูปการศึกษาไทยให้เท่าทันโลกสมัยใหม่
และสมาชิกพรรคอีกหลายต่อหลายคนทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ที่มีพื้นที่ได้ฉายแสงและเริ่มโชว์ศักยภาพ เราจะเห็นว่าทุกคนมีพื้นที่ได้ฉายแสงโดยไม่ถูกควบคุมจากทิม พิธาเลย
ตัวอย่างอาชีพที่ต้องใช้ Servant Leadership เยอะๆ?
แล้วอาชีพไหนที่มีโอกาสใช้ Servant Leadership มากเป็นพิเศษ? CEO บริษัททุกอุตสาหกรรมมีบทบาทที่ต้องใช้ Servant Leadership ในการบริหารองค์กรแบบภาคบังคับอยู่แล้ว โดยเฉพาะองค์กรยุคใหม่ที่เปิดพื้นที่ให้พนักงานได้โชว์ไอเดีย หรือต้องการนวัตกรรมใหม่ๆ มาคอยขับเคลื่อนองค์กรอยู่เสมอ
Project Manager เป็นอีกคนที่ต้องเรียนรู้ Servant Leadership อย่างที่รู้กัน…ตำแหน่งนี้ไม่ใช่คนที่เก่งทุกอย่าง ไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด แต่มีทักษะบริหารระบบนิเวศโดยรวมเป็นเลิศ ซึ่งการบริหารที่ว่าอาจหมายถึง
- กระตุ้นทีมให้ทำงานเสร็จตรง Deadline
- รับสมัคร Talents ที่ตรงความต้องการของโปรเจคท์
- รวบรวมทีมเจรจาเพื่อดีลผลประโยชน์ให้ลงตัวกับลูกค้า
Brand Manager เป็นอีกตำแหน่งที่ใช้เยอะกว่าที่คิด เพราะการสร้าง “แบรนด์” เป็นเรื่องที่มีองค์ประกอบหลายอย่างเยอะมากๆ ต้องอาศัย
- ทีมกราฟิก – ออกแบบโลโก้และกำหนดสี
- ทีมคอนเทนต์ – สื่อสารให้ตรงภาพลักษณ์แบรนด์
- ทีมการตลาด – วางแผนแคมเปญที่ตรงกับกลยุทธ์แบรนด์
จะว่าไปแล้ว “นักการเมือง” (โดยเฉพาะหัวหน้าพรรค) ก็เป็นอีกอาชีพที่ใช้ Servant Leadership สูงมาก นอกจากดูแลสมาชิกทีมในพรรคแล้ว ยังต้องรับใช้ประชาชนโดยตรงอีก ดังเช่นที่ทิม พิธาได้พิสูจน์จนประสบความสำเร็จงดงามมาแล้ว
แม้จะเป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่หัวหน้าคนไหนอยากเป็นก็เป็นได้ แต่ Servant Leadership เป็นภาวะผู้นำขั้นสุดที่ถ้าใครทำได้ล่ะก็…จะติดจรวดให้องค์กรโตระเบิดในทุกๆ ด้านเลยทีเดียว!
อ้างอิง