Rebranding For Entrepreneurs สร้างโอกาสใหม่ให้แบรนด์เดิม สำหรับคนทำธุรกิจ รุ่น 2

Rebranding for Entrepreneurs รุ่น 2 เปิดรับสมัครแล้ว กลับมาอีกครั้งกับคอร์สที่จะเตรียมพร้อมเจ้าของกิจการ ให้สามารถ “รีแบรนด์” ปรับธุรกิจให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เพราะในโลกที่หมุนไปข้างหน้าทุกวัน มีแบรนด์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย แบรนด์ที่ล้ำกว่า สดใหม่กว่า กระทั่งเป็นที่รู้จักมากกว่า แล้วเราในฐานะเจ้าของกิจการเดิมๆ ที่ทำแบรนด์เดิมมาแล้วหลายปี จะต่อสู้กับกระแสโลกได้อย่างไร?

รับชมบรรยากาศการเรียนการสอน Rebranding for Entrepreneurs รุ่น 1

ตัวอย่างเนื้อหาบทเรียน

[ ] Trends: วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เผชิญในธุรกิจยุคปัจจุบัน

[ ] Customer Journey & Customer Insight: ทำความเข้าใจลูกค้าอย่างรอบด้าน ตั้งแต่ความต้องการ พฤติกรรม จนถึงเส้นทางประสบการณ์ต่างๆ ของลูกค้าก่อนตัดสินใจซื้อ

[ ] Case Sharing: เรียนรู้การรีแบรนด์แบบละเอียดครั้งแรก! ผ่านกรณีศึกษาแบรนด์ “ศรีจันทร์”

[ ] Branding & Rebranding: เข้าใจความสำคัญของการสร้าง Branding และหลักการ Rebranding

[ ] Differentiation Strategy: สร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์อย่างยั่งยืน ด้วยการกำหนด Value และ Brand Positioning

[ ] Rebranding Canvas for Long-term Success: เรียนรู้ผ่าน Rebranding Canvas กับธุรกิจของตนเอง เพื่อพัฒนาไปเป็นกลยุทธ์ในอนาคต

Course Highlight! คุณจะได้อะไรจากคอร์สนี้?

[ ] อัปเดตเทรนด์การตลาดใหม่ๆ เพื่อให้ธุรกิจนำไปปรับใช้ได้ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

[ ] ได้เจาะลึกขั้นตอนการรีแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จของศรีจันทร์แบบละเอียด

[ ] เครื่องมือ Rebranding Canvas ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้จริง

[ ] Framework การ Rebranding ที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจวางแผนได้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้กลยุทธ์ที่นำไปใช้ต่อได้จริง

[ ] เคล็ดลับการวางแผนสื่อสาร Brand Identity ให้เป็นที่จดจำ

[ ] ลงมือทำเวิร์กชอปที่จะช่วยผู้เรียนวิเคราะห์ธุรกิจของตนเอง และช่วยให้เกิดไอเดียสูงสุด ด้วยแนวทางการทำเวิร์กชอปแบบ Productive Workshop

[ ] เครื่องมือ Rebranding Canvas ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้จริง

[ ] Networking Activity แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ในหลากหลายอุตสาหกรรม

[ ] ได้รับใบ Certificate รับรองการเรียนจบหลักสูตรจาก Mission Academy

 คอร์สนี้เหมาะกับใคร?

[ ] เจ้าของกิจการธุรกิจ SMEs, Startups หรือธุรกิจที่ต้องการรีแบรนด์

[ ] ผู้ที่มีสินค้า บริการ หรือแบรนด์เดิมที่สามารถนำมาพัฒนาต่อได้

รายละเอียดคอร์ส

ผู้สอน:

[ ] คุณรวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด และผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิชชั่น ทู เดอะ มูน มีเดีย จำกัด

วัน เวลา และสถานที่เรียน:

[ ] วันที่: 25-26 กุมภาพันธ์ 2566 (เรียนทั้งหมด 2 วัน)

[ ] เวลา: 8.30-17.00 น.

[ ] สถานที่: Sakuntala Ballroom, The Peninsula Bangkok Hotel

ราคาคอร์ส: Rebranding For Entrepreneurs สร้างโอกาสใหม่ให้กับแบรนด์เดิม โดย รวิศ หาญอุตสาหะ

[ ] ราคาพิเศษช่วง Early Bird! เพียง 19,000 บาท (จากราคาปกติ 24,000 บาท) สำหรับผู้ซื้อคอร์สตั้งแต่วันที่ 16-31 มกราคม 2566

[ ] ราคาปกติ 24,000 บาท สำหรับผู้ซื้อคอร์สตั้งแต่วันที่ 1-10 กุมภาพันธ์ 2566

[ ] จำนวนจำกัด! รับเพียง 50 ท่านเท่านั้น

ขั้นตอนการสมัครคอร์ส Rebranding For Entrepreneurs:

1. กรอกฟอร์มด้านล่างนี้ เพื่อสมัครคอร์ส และแอด LINE OA : @missiontothemoon พร้อมแจ้งว่าท่านได้กรอกใบสมัครคอร์ส Rebranding For Entrepreneurs เป็นที่เรียบร้อย *ผู้สมัครจะต้องกรอกรายละเอียด 1 ท่านต่อ 1 การกรอกฟอร์ม*

2. หากท่านได้รับการคัดเลือก ทางทีมงานจะติดต่อกลับภายใน 3 วันทำการ เพื่อยืนยันการจองที่นั่งและแจ้งรายละเอียดการชำระค่าเรียน

3. ผู้สมัครจะต้องชำระค่าเรียน พร้อมส่งหลักฐานการชำระเงินเข้ามาทาง LINE OA ภายใน 3 วัน หลังจากได้รายละเอียดการชำระเงินจากทีมงาน หากไม่ได้ชำระเข้ามา ที่นั่งที่จองไว้จะถูกยกเลิก

4. หลังทีมงานตรวจสอบการชำระเงินแล้ว ท่านจะได้รับหมายเลขที่นั่ง สำหรับยืนยันการเข้าเรียน และลิงก์สำหรับเข้ากลุ่มไลน์คอร์ส Rebranding For Entrepreneurs รุ่นที่ 2

5. หากท่านใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ใน LINE OA : @missiontothemoon

*หมายเหตุ:

– เนื่องจากคอร์สนี้ มีบทเรียนที่ผู้สมัครต้องนำแบรนด์ของตนเองมาพัฒนาต่อยอด ทางทีมงานจึงจะมีการคัดเลือกผู้เข้าเรียนตามลำดับการสมัครและคุณสมบัติ เพื่อความเหมาะสมกับเนื้อหาของคอร์ส (คอร์สนี้เหมาะกับเจ้าของกิจการ ธุรกิจ SMEs, Startups หรือธุรกิจที่ต้องการรีแบรนด์ โดยท่านจะต้องมีสินค้า บริการ หรือแบรนด์เดิมที่สามารถนำมาพัฒนาต่อได้ เพื่อใช้การทำ Group Workshop)

– ผู้ที่ชำระเงินเสร็จสมบูรณ์จะต้องส่งหลักฐานการชำระเงินผ่าน LINE OA: @missiontothemoon เท่านั้น โดยทางเราขอสงวนที่นั่ง สำหรับผู้ที่ชำระเงินเข้ามาตามลำดับ

เกี่ยวกับผู้สอน

รวิศ หาญอุตสาหะ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด และผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิชชั่น ทู เดอะ มูน มีเดีย จำกัด 

รวิศ หาญอุตสาหะ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร (CEO) แห่งบริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จำกัด ผู้ก่อตั้งเพจ Mission To The Moon, กรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระแห่งบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน), กรรมการอิสระแห่งบริษัท โพเมโล แฟชั่น จำกัด และกรรมการที่ปรึกษาแห่งบริษัท แรบบิท ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด จบการศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) จากมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา 

จากประสบการณ์และความสำเร็จในการทำธุรกิจ จึงได้ส่งต่อแรงบันดาลใจผ่านการเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษให้กับหลากหลายองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนั้น ยังได้ถ่ายทอดบทเรียนและแรงบันดาลใจในเรื่องการทำงานและการจัดการชีวิต ผ่านพอดแคสต์ในช่อง Mission To The Moon และเขียนบทความรวมเล่มเป็นหนังสือถึง 10 เล่ม เช่น คิดจะไปดวงจันทร์ อย่าหยุดแค่ปากซอย (2014), Super Productive (2019) และ รุ่งอรุณแห่งการเปลี่ยนแปลง (2021)

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 42