Networking สำคัญกับการทำงานมากกว่าที่เราคิด

หากคุณกำลังอยู่ในช่วงวัยที่เริ่มต้นทำงาน หรือทำงานมาได้สักระยะ แล้วยังไม่ได้รู้สึกอยากเข้าสังคมหรือสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน ลองคิดใหม่อีกครั้ง เพราะจริง ๆ แล้วการทำความรู้จักหรือสร้างสังคมเพื่อการทำงาน “Networking” สำคัญกว่าที่เราคิด

“Networking” หรือการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับคนรอบตัว เพื่อประกอบการทำงานหรือการทำธุรกิจ เป็นสิ่งที่หลายคนที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรมการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรจะศึกษาและความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นนี้เอาไว้ 

 

Networking คือการที่เราออกไปพบปะผู้คนใหม่ ๆ ที่อยู่ในสังคมธุรกิจ หรือการทำงานเดียวกับเรา หรืออาจจะต่างออกไปเพียงแต่เราก็จะได้แลกเปลี่ยนความรู้ทางธุรกิจและการทำงานกับคนเหล่านั้น จริง ๆ แล้วการทำ Networking มีประโยชน์หลายอย่าง มันไม่ใช่เพียงแค่การเข้าสังคมธรรมดา แต่เป็นการเข้าสังคมเพื่อประโยชน์ในการต่อยอดทางสายอาชีพ หรือธุรกิจในอนาคตของตัวเราเอง

 

Networking ยังช่วยสร้างสังคมให้กับเรา ทำให้เมื่อเราต้องการขอความช่วยเหลือหรืออยากได้ความรู้ เรารู้ว่าเราควรจะต้องไปปรึกษาใคร อีกทั้งยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวเอง เป็นการแสดงออกถึงความเป็นตัวเองและความสามารถของตัวเองให้คนในวงการรู้อีกด้วย

 

วันนี้ CareerVisa จึงจะมานำเสนอเหตุผลว่า ทำไมเราจึงควรที่จะต้องมีการเข้าสังคมธุรกิจหรือการทำ Networking และมันให้ประโยชน์กับเราอย่างไรบ้าง

 

 

10 เหตุผล ทำไมเราถึงควรรู้จัก Networking หรือการเข้าสังคมเพื่อการทำงานและธุรกิจ

สร้าง Connection ทางธุรกิจใหม่ ๆ : เป็นที่รู้กันว่า Networking คือการนำตัวเองไปพบปะผู้คนใหม่ ๆ ไปพูดคุยและแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นสิ่งที่ได้แน่นอนนั่นก็คือ Connection ใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ต่อเราในอนาคต

 

เป็นตัวช่วยหาแรงบันดาลใจ : การได้พบคนในแวดวงเดียวกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ ก็อาจจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับเราได้ว่าเราจะเดินทางชีวิตหรือต่อยอดตัวเองไปในรูปแบบไหน ไม่ว่าจะเส้นทางอาชีพหรือการทำธุรกิจ

 

มีตัวตนในสังคมมากขึ้น : เป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ กับคนที่คิดที่จะสร้างธุรกิจใหม่ หรือสร้างอะไรเป็นของตัวเอง การที่เราหาวิธีมีตัวตนในสังคม เป็นที่รู้จัก ก็จะทำให้เราสามารถกระจายธุรกิจของตัวเองให้เป็นที่รู้จักได้มากขึ้นเช่นกัน

 

สร้างโอกาสทางการงาน : หากใครที่กำลังอาจจะอยากหางานใหม่ หรือเติบโตในสายงานของตัวเองขึ้นไปอีก การได้รู้จักคนใหม่ ๆ การทำ Networking ก็ช่วยเปิดโอกาสให้ตัวเองได้มากยิ่งขึ้น

 

ทราบข่าวสารรอบตัวมากขึ้น : เพราะ Networking คือการได้คุยกับคนหลาย ๆ คน การได้แลกเปลี่ยนกันแบบนี้ก็จะทำให้เราทราบข้อมูลรอบตัวมากขึ้น มีความรู้มากขึ้น ซึ่งมันก็จะเป็นประโยชน์กับเราและการทำงานของเราอย่างแน่นอน

 

ได้ข้อคิดข้อแนะนำในการทำงาน : Networking อาจจะทำให้เราได้เจอคนเก่ง ๆ หรือคนมีสามารถที่หลากหลาย เพราะฉะนั้นเป็นที่รับรองได้ว่าเราจะสามารถได้รับความรู้และข้อคิดมาปรับใช้กับการทำงานของตัวเองอย่างแน่นอน

 

สร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง : การได้เจอคนหลายคน ได้รู้เรื่องราวมากยิ่งขึ้น ย่อมทำให้เรามั่นใจที่จะทำงานของตัวเอง หรือต่อยอดธุรกิจให้กับตัวเองได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

 

ได้รับคำตอบในสิ่งที่ตัวเองสงสัย : เหมือนกับกบที่ออกนอกกะลา หากเรามีอะไรที่สงสัยแล้วลองได้แลกเปลี่ยนความคิดกับคนรอบตัว ก็อาจจะเจอคำตอบที่ถูกต้องหรือเหมาะสมที่สุดกับข้อสงสัยนั้น ๆ ก็เป็นได้

 

สร้างความสัมพันธ์ที่ยาวนาน : หากเราเข้าสังคมหรือ Networking บ่อย ๆ เริ่มเจอคนหน้าเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ก็เหมือนการได้พัฒนาความสัมพันธ์กับคนรอบตัวให้เติบโตยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ

 

ตามความฝันของตัวเองได้ : หากเรามีความฝันที่จะทำอะไร หรือสำเร็จในสิ่งใดสักอย่าง แต่ยังไม่มีคนให้ปรึกษา Networking ก็อาจจะช่วยคุณได้ เพราะเป็นโอกาสให้ได้เจอคนใหม่ ๆ รอบตัว และอาจจะเจอที่ปรึกษาที่ดีด้วยก็ได้

 

 

ลองเปิดใจ เปิดตัวเองให้มากขึ้น การเข้าสังคมหรือ Networking ไม่ได้ยากอย่างที่คิด แถมยังได้ประโยชน์อีกหลาย ๆ อย่างอีกด้วย เพราะฉะนั้นลองดูกันนะ

 

 

อ้างอิง : https://www.indeed.com/career-advice/career-development/benefit-of-networking

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง