Sephora สวัสดิการดีไหม น่าทำงานด้วยอย่างไรบ้าง

Sephora ร้านบิ้วตี้ชั้นนำของโลกที่มีอยู่กว่า 2,700 สาขา ใน 35 ประเทศทั่วโลก แต่ภาพลักษณ์ร้านที่ดูสดใสเอเนอร์จี้บวกล้นทะลักขนาดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย…ถ้าไม่มีเบื้องหลังการบริหารพนักงานสไตล์ Sephora ที่มีอยู่กว่า 39,000 คนทั่วโลก ที่รวมทั้งศาสตร์ & ศิลป์ (Art & Science) เข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว

Sephora เทคแคร์ทีมยังไงให้ทำงานอย่างมีความสุข แบรนด์มีสไตล์ และลูกค้าแฮปปี้?

 

ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

 

การบริหารคนมักเกี่ยวข้องกับเรื่อง Soft skills ทั้งหลาย แต่การจะทำแบบนั้นได้แบบตรงจุดต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้อง

 

อันดับแรกเลย Sephora จึงลงทุนกับการ เก็บข้อมูลทุกรูปแบบ (Data collection) ผลลัพธ์การตัดสินใจที่ถูกต้องมาจากการวิเคราะห์รอบด้าน และการวิเคราะห์รอบด้านมาจากวัตถุดิบฐานข้อมูลที่ถูกต้องและมีเยอะมากพอ 

 

เมื่อข้อมูลครบถ้วน Sephora ถึงค่อยนำมาพัฒนาสวัสดิการและออกแบบนโยบายที่ตอบโจทย์พนักงานต่อไป

 

จุดยืนแบรนด์ชัดเจน

 

วิสัยทัศน์ที่ฟังดูเรียบง่ายแต่ทรงพลังอย่าง “สู่การเป็นคอมมูนิตี้ด้านความงามที่ผู้คนรักมากที่สุด” (Be The Most Loved Beauty Community.)

 

แบรนด์ยังมีทัศนคติที่ชัดเจนว่า ความงามเกิดขึ้นเมื่อมีความหลากหลาย แต่ละคนมีความสวยในเอกลักษณ์แบบฉบับของตัวเอง ไม่ควรมีใครเอาไม้บรรทัดแค่แท่งเดียวมาเป็นมาตรฐานกลางในการใช้วัดคนอื่น

 

แนวคิดนี้นำไปสู่การเปิดรับพนักงานที่มีภูมิหลังหลากหลาย มีมุมมองต่อความครีเอทีฟที่ต่างกัน พร้อมเป็นผู้นำที่ฉายแสงการทำงานในแบบตัวเอง จนไปสู่การเปิดกว้างต่อผลิตภัณฑ์บิวตี้อันหลากหลายที่แบรนด์คัดสรรนำมาวางจำหน่าย

 

Sephora University

 

แบรนด์จัดทำพื้นที่แห่งการเรียนรู้ออนไลน์และออฟไลน์สำหรับพนักงานโดยเฉพาะ ไม่มีค่าใช้จ่าย เรียกว่า Sephora University เป็นเหมือนระบบเทรนนิ่งไปในตัว อัพเดท Insights ล่าสุดในวงการ และเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน

 

เมื่อร่วมเรียนไปได้ซักพัก หัวหน้างานจะรู้ว่าควร assign งานได้ตรงจุดตามความสามารถแก่พนักงานคนไหน และเป็นเครื่องมือในการคัดเลือก Talents เวลาต้องการโปรโมตสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น เพราะเนื้อหาภายในมีการแบ่งระดับขั้นการเรียนรู้ สำหรับระดับสูงสุด พนักงานต้องเข้าเรียนถี่และสอบให้ได้คะแนนมากกว่า 80%

 

Sephora Engagement

 

Sephora ให้ความสำคัญกับ Employee engagement สูงมาก แบรนด์มองว่านี่คือด่านแรกที่ต้องทำให้สำเร็จก่อนไปส่งมอบประสบการณ์ดีๆ แก่ลูกค้าต่อไป 

 

มีกิจกรรมที่หัวหน้าจะหมั่นพูดคุยกับพนักงานทุกระดับ มีการทำแบบสอบถาม ทำการสำรวจออนไลน์ หรือตระเวนแวะเวียนไปเยี่ยมถึงร้านสาขาและพูดคุยกับพนักงานแบบซึ่งๆ หน้า ในบางสนทนา อาจถูกยิงคำถามที่วัดกึ๋นความเป็นผู้นำ เช่น “ถ้าคุณได้ขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูง คุณจะเปลี่ยนแปลงองค์กรจุดไหนบ้าง?” 

 

กิจกรรมเหล่านี้ยังเป็นเครื่องมือค้นหา Hidden Gem คนเก่งที่มีแววฉายแสง และเป็นการตรวจสอบปัญหาภายในองค์กรไปในตัว ก่อนรีบแก้ไขไม่ให้บานปลาย

 

ทำให้ทุกวันเป็นเรื่องแปลกใหม่

 

แบรนด์รู้ว่า ถ้าสามารถสร้างสีสันกับสิ่งที่เป็นชีวิตประจำวันในการทำงานของพนักงานได้ ย่อมสร้างความสุข ความตื่นเต้นได้ไม่ยาก…โดยใช้งบที่ต่ำ

 

จึงเกิดตัวอย่างไอเดียกิจกรรม โดยจะแอบติดสติ๊กเกอร์ใต้ที่นั่งของพนักงาน และสุ่มผู้โ๙คดี 5 คนเพื่อไปรับรางวัลพิเศษ ลักษณะกิจกรรมและของรางวัลจะเปลี่ยนไปเรื่อย แม้จะไม่ได้มีมูลค่ามากมายอะไร แต่ก็มากพอที่จะทำให้พนักงานรู้สึกสนุกตื่นเต้นสดใหม่กับการมาทำงานแล้ว 

 

ซึ่งในเวลาต่อมา ไอเดียนี้ก็ถูกประยุกต์ใช้กับแคมเปญการตลาด ลูกค้า Sephora รับของขวัญวันเกิด หรือถูกเชิญมาร่วมงานอีเวนต์พิเศษ 

 

นอกจากนี้ จิตวิทยาพื้นฐานของมนุษย์ต้องการได้รับ การยอมรับ (Recognition) โดยพนักงานที่ทำผลงานได้สำเร็จ…แม้จะเล็กน้อยก็ตาม เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่จะได้รับการชื่นชมจากคนอื่น เกิดเป็นห่วงโซ่ของการชมกันไปชมกันมา กลายเป็นบรรยากาศทำงานที่ชื่นใจ บูสท์ความคิดสร้างสรรค์ แฮปปี้กับการมาทำงาน

 

เพราะ Sephora มองว่าตัวเองเป็นอีกหนึ่ง People Business ต้องใส่ใจกับคนทั้งพนักงานภายในเองและลูกค้า ไม่แปลกเลยที่เราจะเห็นแบรนด์พยายามสรรหากลยุทธ์บริหารหรือแนวทางการปั้นคน 

 

เพราะการจะรุ่งใน People Business บางทีแบรนด์ต้องทรีตท์ People คนในองค์กรตัวเองให้ยอดเยี่ยมก่อน!

 

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 47