Armchair Boss หัวหน้าที่นั่งเฉย ๆ ไปวัน ๆ แต่ติเก่ง จนอยากลาออก

หัวหน้าที่นั่งเฉย
ออฟฟิศคุณเป็นอีกที่รึเปล่า? ที่ลูกทีมพากันลาออก เพราะดันเจอคน Toxic คนเดียว หรือหัวหน้าเจ้าบงการ ชอบเสนอไอเดียบรรเจิดแก่ผู้บริหารให้ซื้อไอเดียนั้น ก่อนโยนให้ลูกน้องในทีมทำ ชอบสั่งงานมหึมาที่ไม่รู้จะทำให้เกิดขึ้นจริงได้ยังไง แถมตำหนิลูกน้องทุกจุดเมื่อเกิดความผิดพลาด แต่ไม่ช่วยหาโซลูชั่น

พฤติกรรมหัวหน้าแบบนี้เข้าข่าย Armchair Boss เป็นสิ่งที่องค์กรหวาดกลัวว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเองเหลือเกินเพราะนำไปสู่ปรากฎการณ์ “ลาออกแบบยกทีม” จนบริษัทสั่นคลอนได้เลยทีเดียว!

คาแรคเตอร์ของ Armchair Boss

“เก่งแต่พูด…แต่ไม่ถนัดทำ” น่าจะเป็นคำจำกัดความที่สั้นกระชับแต่บ่งบอกนิยามของ Armchair Boss มากที่สุดแล้วก็ว่าได้

Armchair Boss เป็นคนที่เก่งในการวิพากษ์วิจารณ์รอบด้าน…แต่ไม่ได้มีรู้ลึกในเรื่องนั้น ชอบตัดสินคนอื่นโดยยึดความคิดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ชอบ Micromage สั่งการควบคุมทุกอย่างแต่ตัวเองไม่ได้เข้าไปยุ่งกับเนื้องานเลยด้วยซ้ำ บางคนถึงขั้นบ่ายเบี่ยงไม่รับผิดชอบเมื่อเกิดข้อผิดพลาด จนกลายเป็น trigger ที่ทำให้ลูกน้องยื่นใบลาออกในวันต่อมา

เรียกว่า ทักษะด้าน Criticize แซงหน้าหัวด้าน Create ไปมากโข!

เปรียบเสมือนบอสที่นั่งพิงหลังสบายในโซฟาและวิพากษ์วิจารณ์เรื่องตรงหน้าอย่างออกรส โดยไม่ได้รู้บริบทหรือเข้าใจความรู้สึกของลูกน้องที่เป็นคนหน้างานเผชิญปัญหาจริงๆ

เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ลีลาสไตล์ แต่รวมถึงความลึกของเนื้อหาที่พูดด้วย Armchair Boss สามารถโค้ชชิ่งร่ายยาวได้ทั้งวัน แต่สิ่งที่พูดมักมีความนามธรรม มีความ conceptual ที่จับต้องยาก เมื่อถึงเวลาต้องนำไป apply ประยุกต์ใช้จริง ลูกน้องก็ไม่รู้ควรเริ่มทำอะไรก่อนหลังดี หรือถึงขั้นนำไปทำแบบผิดๆ ถูกๆ จนเกิดความผิดพลาดเสียหาย เกิดเป็นประวัติเสีย สูญเสีย self-esteem นำไปสู่อัตราการลาออกที่เพิ่มขึ้น

ป้องกัน Armchair Boss ก่อนพนักงานยกขบวนลาออก

กลุ่มผู้บริหารระดับสูงในองค์กร ต้องคอยจับตาดู Armchair Boss เหล่านี้ให้ดี เพราะแม้พวกเขาจะมี performane ที่ดีในบางเรื่องจนได้ขึ้นเป็นหัวหน้างาน แต่ด้วยอุปนิสัยและการสื่อสารที่ไม่เป็นมิตร-ไม่เฮลตี้กับสมาชิกทีมโดยรวม ก็ทำให้ผู้คนต่างพากันลาออกได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ที่มักจะไม่ทนกับนิสัยอะไรแบบนี้

เพราะหางจะเปลี่ยนได้-หัวต้องเปลี่ยนก่อน! 

ผู้บริหารระดับสูงสามารถออกนโยบายการทำงานที่จัดโควต้าให้หัวหน้างานต้อง “ไปเห็นปัญหาที่หน้างาน” เช่น ไปเยือนโรงงานผลิตเพื่อหาปัญหาสินค้า defect มีชำรุดที่พบบ่อยในช่วงหลังจนชื่อเสียงแบรนด์ได้รับความเสียหาย

อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรก็สำคัญไม่แพ้กัน ก่อนจะไปนึกถึงปลายทางการลาออก ผู้บริหารป้องกันได้เนิ่นๆ ด้วยการดีไซน์ให้เป็นองค์กรที่ “ขับเคลื่อนด้วย Data” (Data-driven company) จะตัดสินใจอะไรต้องทำบนพื้นฐานของข้อมูลที่น่าเชื่อถือและมีปริมาณมากพอ 

เมื่อทุกส่วนทุก unit ของบริษัทถูกไดรฟ์ด้วย data ต่อไปนี้เวลา Armchair Boss จะวิพากษ์วิจารณ์อะไรก็ต้องทำบนื้นฐานของ data ด้วยเช่นกัน เป็นการลดโอกาสตำหนิลูกน้องอย่างไม่เป็นธรรม ปิดประตูการวิจารณ์ผิดๆ

Armchair Boss เป็นเรื่องที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย เพราะไม่ได้แค่สร้างบรรยากาศ toxic ในออฟฟิศ หรือลด productivity ของคนทำงาน แต่เพราะมันบานปลายไปสู่การยกทีมลาออกของพนักงานเก่งๆ ได้เลยทีเดียว 

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Jeff Bezos
เลิกเป็นคนไม่กล้าตัดสินใจ ด้วยประตูสองบานของ Jeff Bezos เทคนิคการตัดสินใจที่ผู้บริหารใน Amazon ถูกสอนให้ใช้
1. เวลาตัดสินใจอะไรไม่ได้ อาจไม่ใช่เพราะว่าเราตัดสินใจได้ไม่ดี แต่เราหารู้ไม่ว่าเราไม่เคยแยกมากกว่าว่าการตัดสินใจไหนที่อนุญาตให้เรา ‘ตัดสินใจผิดพลาด’ ได้...
2025 ai
รวม 10 AI น่าใช้ประจำปี 2025 มีเอาไว้พนักงานออฟฟิศทำงานคล่องขึ้นแน่นอน
Work smarter, not harder ด้วย AI Tools เหล่านี้ จดเอาไว้! ฝึกใช้ ทำงานง่ายขึ้นแน่นอน 1. ChatGPT AI ChatBot ที่สามารถโต้ตอบและตอบคำถามได้อย่างเป็นธรรมชาติ...
mindset
10 Mindset สร้างความแตกต่าง สู่ความสำเร็จในที่ทำงานก่อนใคร
ในโลกที่แข่งขันสูงอย่างทุกวันนี้ ความรู้และความเชี่ยวชาญเพียงอย่างเดียวอาจไม่พาเราไปได้ไกลเท่าที่หวัง สิ่งที่แยกคนประสบความสำเร็จออกจากคนทั่วไปอย่างแท้จริงคือ...