มารยาทในการลาออกอย่างมืออาชีพ ด้วย Farewell Message 

มารยาทในการลาออกอย่างมืออาชีพ
สมัครงาน สัมภาษณ์งาน ทำงาน แล้วลาออก…เมื่อถึงจุดนึง เส้นทางการทำงานของทุกคนก็ต้องเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดด้วยการลาออกไปเติบโตที่อื่นหรือลาออกเพือเดินตามฝันของตัวเอง

สมัครงาน สัมภาษณ์งาน ทำงาน แล้วลาออก…เมื่อถึงจุดนึง เส้นทางการทำงานของทุกคนก็ต้องเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดด้วยการลาออกไปเติบโตที่อื่นหรือลาออกเพือเดินตามฝันของตัวเอง

และเมื่อวันสุดท้ายมาถึง การจากลาร่ำลากันก็เป็นวัฒนธรรมที่ขาดไปไม่ได้ โดยหนึ่งในธรรมเนียมปฏิบัติสากลคือสิ่งที่เรียกว่า “Farewell Message – ข้อความร่ำลาเมื่อลาออก” เพื่อทิ้งความประทับใจไม่รู้ลืม

แต่ก่อนที่เราจะไปดูรานละเอียดกัน เรามาทำความเข้าใจกันเล็กน้อยว่า…แล้วทำไมเราต้องมี Farewell Message ด้วย?

เส้นทางที่ตัดกันอีกครั้งในอนาคต

ต้องไม่ลืมว่า ยุคสมัยนี้เกิดพนักงานประเภท Boomerang Employees พนักงานที่เคยลาออกไปแล้ว แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ถูกว่าจ้างกลับมาทำบริษัทเดิมอีกครั้ง ซึ่งบริษัทก็เต็มใจรับกลับมาด้วย!

พอเป็นแบบนี้ Farewell Message จึงยิ่งสำคัญ เพราะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีอย่างจริงใจ เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับคนทำงานในระยะยาวเมื่อพิจารณาถึงโอกาสเส้นทางอาชีพในอนาคตที่อาจกลับมาบรรจบกันอีกครั้ง

หรือถึงแม้จะไม่ได้ Boomerang กลับมาที่เดิม แต่ก็อาจไปพบเจอกันที่อื่น ตามงานอีเวนตท์อื่น โดยเฉพาะบางธุรกิจที่ “วงการนี้มันแคบ” เช่น วงการเซลส์อสังหาริมทรัพย์ โอกาสพบเจอกันใหม่ถือว่าไม่ยากเลย

แน่นอนว่าการอาจไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานทุกคน 100% แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ควรเขียนข้อความเสียๆ หายๆ ปิดท้าย เพราะอาจมีต่อเนื่องทางกฎหมายและเป็น Last impression ที่ไม่สง่างาม สิ่งที่ไม่ดีควรอดทนและเก็บรวบรวมไปพูดกับฝ่าย HR แบบเป็นส่วนตัวมากขึ้น เมื่อถึงเวลา Exit Interview สัมภาษณ์ครั้งสุดท้ายตอนลาออกจะดีกว่า

ความประทับใจในรูปแบบตัวอักษร

ปกติแล้วตอนลาออก พรรคพวกในทีมก็มักพากันไปดินเลี้ยงส่งที่ร้านอาหารหรู หรือจัดพิธีแจกมอบของขวัญเป็นที่ระลึกตามธรรมเนียม ซึ่งล้วนแล้วเป็นสิ่งสวยงามและควรทำต่อไป…แต่ทั้งนี้ หลายคนอาจเผลอมองข้าม Farewell Message ไปบ้าง

ต้องไม่ลืมว่า “ตัวหนังสือ” ที่ดีเยี่ยมทรงพลังกว่าที่เราคิด มันพาเราหวนระลึกถึงอดีต แสดงคำขอบคุณ แสดงคำขอโทษ อธิบายถึงแผนการเปลี่ยนผ่านอันราบรื่น มันเปิดเผยบางสิ่งบางอย่างที่อัดอั้นอยู่ในใจผู้เขียน และบ่งบอกถึงการบรรจงขีดเขียนของเจ้าตัวด้วย

Farewell Message ที่ดีงามยังสามารถเก็บขึ้นหิ้งไง้เป็นความทรงจำในประสบการณ์ทำงานที่นี่ได้ด้วยเช่นกัน

ผลวิจัยยังเผยว่า คนที่ได้คราฟท์ Farewell Message ข้อความลาออกร่ำลาอย่างละเมียดละไม มักจะมีแนวโน้มย้ายงานได้อย่างราบรื่น รู้สึกผิดกับอดีตน้อยกว่า มีความหวังมากกว่า เมื่อเทียบกับคนที่ลาออกและเดินออกไปเลย

Farewell Message แม้ลาออกแต่ความทรงจำยังอยู่

ไม่ต่างจากคนเราที่จะรู้สึกพิเศษเมื่อได้รับสิ่งของแบบ “พิเศษเฉพาะคุณ” ถ้าเป็นไปได้ Farewell Message จึงควร personalize ปรับให้เหมาะกับเพื่อนร่วมงานแต่ละคน เพราะเรามีประสบการณ์ทำงานกับแต่ละคนแตกต่างกันไป 

ประเด็นนี้ย่อมหมายถึง การใช้เวลาพอสมควรในการค่อยๆ คราฟท์ค่อยๆ เขียนมันออกมาด้วยมือตัวเอง และอาศัยการวางแผนล่วงหน้าซักระยะหนึ่งเช่นกัน

ข้อความควรเน้นให้สั้นกระชับ เลือกใช้คำศัพท์ที่ทางการเป็นหลัก แต่ก็สามารถแทรกประโยคเป็นกันเอง มุขตลกขำๆ ที่ช่วยหวนระลึกถึงความทรงจำดีๆ ในอดีตที่เคยมีร่วมกับเพื่อนร่วมงานมา จุดนี้ถ้าเรียบเรียงได้จะสร้างผลกระทบต่อจิตใจให้ทุกคนคิดถึงคุณแม้จะลาออกไปแล้วด้วยซ้ำ

ทั้งนี้ เนื้อหาควรโฟกัสแต่ความทรงจำแง่บวกเท่านั้น เราได้ผ่านอุปสรรคอะไรร่วมกันมา เราได้สร้างผลงานชิ้นโบว์แดงอะไรร่วมกันมา รวมถึงสามารถระบุแผนเปลี่ยนถ่ายงานหรือคำแนะนำเชิงบวกต่อการทำงานจากนี่ได้ด้วย และแม้ว่าเราจะมีปัญหาส่วนตัวกับเพื่อนร่วมงานบางคน แต่ก็ควรอดทนเก็บไว้เปิดเผยใน Exit Interview สัมภาษณ์ครั้งสุดท้ายตอนลาออกกับฝ่าย HR แบบเป็นส่วนตัวมากขึ้นจะดีกว่า

กรณีถ้าเราอยู่ในองค์กรใหญ่มีพนักงานหลายร้อยคน อาจไม่สามารถส่งให้ครบได้ทุกคน นอกเสียจากว่าเราจะอยู่ในตำแหน่งที่สูงจริงๆ เช่น C-Level ขึ้นไป ซึ่งการลาออกอาจส่งผลกระทบต่อทิศทางการดำเนินธุรกิจต่อไป

สุดท้าย ต้องไม่ลืมมอบช่องทางติดต่อการทำงานในอนาคตด้วย เนื่องจากกรณี Boomerang Employees ที่ชีวิตการทำงานอาจวนเวียนมาเจอกันอีก จริงอยู่…ทุกวันนี้เรามี LINE, FB, IG ไว้คุยกันอยู่แล้ว แต่ก็สามารถเพิ่มช่องทางติดต่อในลักษณะการทำงานแบบเป็นทางการไว้ด้วยก็จะดีมากๆ 

และการส่ง Farewell Message ควรส่งให้ครบทุกคนล่วงหน้าอย่างน้อย 5-7 วันก่อน last day วันสุดท้ายก่อนลาออก เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับมีเวลาอ่านและอาจเกิดคำถามโต้ตอบกลับมา แต่ไม่ควรส่งล่วงหน้านานเกินไปกว่านี้ เพราะรู้สึกห่างไกลและหลงลืมจนทำให้ข้อความลาออกร่ำลาไม่ทรงพลังนั่นเอง

ตัวอย่าง Farewell Message เขียนข้อความลาออกยังไงให้เป็นที่จดจำ

ตัวอย่างเมื่อเป็น “เพื่อนร่วมทีม” ที่ทำงานใกล้ชิดโดยตรงมาตลอดในชีวิตประจำวัน การใช้ภาษาจึงลดความเป็นทางการลงได้ เช่น 

  • หัวข้อ: การลาออกจากงาน
  • เนื้อหา: ถึงเพื่อนๆ ร่วมทีมทุกคนที่บริษัท xxx

ผมได้ตัดสินใจลาออกจากบริษัทเพื่อไปเติบโตในเส้นทางอาชีพใหม่ๆ และค้นหาความท้าทายใหม่ๆ

การทำงานวันสุดท้ายของผมคือสิ้นเดือนนี้ (ระบุวันที่ให้ชัดเจน) 

ผมรู้สึกเป็นเกียรติ เติบโต ได้เรียนรู้ และโชคดีที่ได้ทำงานร่วมกับคนเก่งๆ ตลอดเวลา x ปีที่ได้อยู่ในบริษัทนี้ ผมได้รับคำแนะนำที่ทำให้เติบโตจากภายใน ได้รับคำสอนที่ปูความรู้พื้นฐานให้แน่นกว่าเดิม และได้เจอมิตรภาพดีๆ อันจริงใจที่ซาบซึ้ง หวังว่าเราจะมีโอกาสได้ร่วมงานกันอีกในอนาคต

ระหว่างขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านนี้ สามารถติดต่อคุณ xxx ฝ่าย HR ซึ่งจะรับผิดชอบในส่วนของผมจนกว่าพนักงานใหม่จะรับตำแหน่งเข้ามาทดแทนในวันที่ xxx (ระบุวันที่ให้ชัดเจน)

หากต้องการติดต่อเรื่องการงานในอนาคต สามารถติดต่อผมได้ผ่านทางอีเมล [email protected] 

ขอขอบพระคุณอีกครั้ง และขอให้ทุกคนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและประสบกับความโชคดี

ด้วยความเคารพอย่างสูง

(ลงชื่อ) 

…กรณีที่ส่งให้ เพื่อนร่วมงานในบริษัททั่วไป หรือหัวหน้า หรือซัพพลายเออร์ หรือลูกค้า ควรดัดแปลงภาษาให้เหมาะสมกับแต่ละฝ่าย

สุดท้ายแล้ว ไม่มี Farewell Message ไหนที่ไร้ความหมาย แม้จะมีข้อบกพร่องในทางภาษาหรือการเรียงลำดับเรื่อง แต่ถ้าผู้ให้ทำมันอย่างจริงใจ และผู้รับสัมผัสสิ่งนั้นได้ ย่อมสร้างคุณค่าให้แก่สองฝ่ายและเรียกว่าเป็นความสุขสุดท้ายของการทำงานในบริษัทก่อนลาออกเกิดขึ้นจริงๆ ก็ว่าได้

เรื่องนี้ยังเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่งดงาม เป็นส่วนหนึ่งของ Team Building ในขั้นตอนสุดท้ายด้วย ทุกทีม-ทุกหัวหน้า-ทุกองค์กร จึงควรใส่ใจเลยเรื่องนี้ และคราฟท์มันออกมาให้งดงามที่สุด…

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Laura Vanderkam
ไม่มีคำว่า “ไม่มีเวลา” อีกต่อไปถ้าคุณมี Mindset แบบนี้ โดย Laura Vanderkam นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา
สรุปวิธีคิดที่จะทำให้คุณ “มีเวลา” สำหรับสิ่งสำคัญในชีวิต โดยลอรา แวนเดอร์แคม (Laura Vanderkam) นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา ผู้บรรยาย TED Talk ที่มียอดวิวหลายล้าน...
Vacation Blues
10 เคล็ดลับ "Bounce Back" สลัดอาการ "Vacation Blues" ให้หายเป็นปลิดทิ้ง!
อาการ “Vacation Blues” หรือความเศร้าหลังไปเที่ยวหยุดยาว เป็นอาการปกติที่เล่นงานคนทำงานอย่างหนักอึ้ง ซึ่งเกิดขึ้นกับคนทำงานหลายคนโดยเฉพาะช่วงหยุดยาว อย่างไรก็ตามการจมกับความเศร้าหลังเที่ยวไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก...
Harvard Business Review
ผลสำรวจพบเทรนด์ใหม่คนทำงาน เลือกใช้ AI ดูแลจิตใจแซงการทำงาน โดย Harvard Business Review
งานวิจัยจาก Harvard Business Review เพิ่งออกมา มีผลสำรวจพบว่าคนทำงานเปลี่ยนการใช้ AI จากเครื่องมือทำงาน มาเป็น “เพื่อนคู่ใจ” แทน สิ่งที่เปลี่ยนไปในปี...