เข้าใจวิถีการทำงานที่มีอนาคต กับ “องค์กรอนาคต Amazon Web Services” คุยกับคุณ Sandra Teh, Story Teller & ​Head of APJC, Global Employer Brand

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่คนทำงานอย่างเราต้องเจอกับทั้ง COVID ทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ทำให้ธุรกิจฝืดเคือง และการเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานในทุกมุม ทำให้เราต้องกลับมาปรับตัวเอง หากคุณกำลังจะหาทางออกไปทำงานในที่ที่เหมาะกับยุค digital disruption หรือ after-covid เรามีแนวคิดมานำเสนอที่จะช่วยคุณเช็คว่าองค์กรที่คุณอยู่มีอนาคตหรือไม่ และงานปัจจุบันของคุณจะไปต่อได้รึเปล่า

แนวคิดที่เราจะนำมาเสนอเป็นมุมมองที่ผ่านจากการแลกเปลี่ยนกับผู้บริหารของ Amazon Web Services คุณ Sandra Teh ซึ่งมีบทบาทหน้าที่เป็น Storyteller ประจำองค์กร และ Head of Employer Brand for Asia Pacific, Japan and Greater China region, part of the Global Employer Brand team ที่ AWS ที่ทำให้เราเห็นว่าองค์กรที่จะมีทางเดินต่อไปในโลกอนาคต ต้องมีวิถีแนวทางการทำงานอย่างไร และต้องมีเป้าหมายอย่างไรถึงจะไปได้ไกล

ก่อนที่จะไปสรุปแนวคิดนี้เรามาทำความรู้จัก Amazon Web Services กันก่อน


Amazon Web Services คือใคร ?

Amazon Web Services เป็นบริษัทลูกของ Amazon ที่ให้บริการด้าน​  Cloud Technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในระดับเดียวกันกับที่  Amazon.com ใช้ support บริการของนักชอปทั่วโลก อยากเข้าใจ Cloud Technology จาก AWS มากขึ้น คลิกที่นี่  AWS มีวิถีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีชื่อว่า 14 leadership principles ซึ่งเป็นหลักเดียวกันกับบริษัทแม่ จากการพูดคุยครั้งนี้เราได้ดึงประเด็นสำคัญมาเป็นหลักวิเคราะห์ อนาคตให้ผู้อ่านได้สำรวจองค์กรและตัวงานของเราดูค่ะ


อยากรู้ว่าองค์กรเราจะไปรอดมั้ย “องค์กรของคุณมีวิถีการทำงานแบบนี้รึเปล่า ?”

  1. Customer Obsession แก้ปัญหาและคิดค้นสิ่งใหม่ให้ลูกค้ามากกว่ากังวลเรื่องคู่แข่ง

คุณ Sandra เล่าว่า Jeff Bezos เคยกล่าวไว้ว่า “Customers are always beautifully, wonderfully dissatisfied.” หรือ ลูกค้ามักจะมีบางสิ่งบางอย่างที่พวกเขายังไม่พอใจอยู่เสมอ และนั่นเองเป็นศูนย์รวมของไอเดียใหม ที่จะทำให้เราสามารถคิดค้นวิธีการแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น

บริษัท AWS เกิดขึ้นมาได้ ก็เพราะความ Customer Obsess ของ Amazonian ที่เห็นโอกาสในการพัฒนาระบบ Cloud ซึ่งเป็น Infrastructure ที่ Amazon.com ใช้ให้ขยายได้เพื่อรองรับ ​shopper  และจากการพัฒนาระบบนี้ ก็เป็นบ่อเกิดของโอกาสทางธุรกิจที่จะเปิดตลาดรองรับลูกค้าเจ้าของธุรกิจ Platform เพื่อให้ผู้ประกอบการเหล่านี้สามารถสร้างธุรกิจได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำลงผ่าน Cloud Technology สิ่งนี้จะเปิดโอกาสให้แม้แต่นักศึกษาที่ยังไม่มีรายได้ก็สามารถสร้าง Startup ของตัวเองได้

ในมุมมองของคุณ Sandra เมื่อองค์กรเข้าใจลูกค้าจริงๆ ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องการสร้างนวัตกรรม 

“We never get stuck on what to invent next, as we use our customer obsession and our curiosity as our guiding light and compass. When one is keen to keep solving our customers’ problems, there’s a whole long list for our builders to build. This keeps our jobs exciting, and we grow on a personal level too.”

  1. Think Big เป้าหมายใหญ่ที่ทำให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วม

จากที่เราคุยกับคุณ Sandra เราได้เห็นความฝันที่เป็นแรงขับเคลื่อนการทำงานของเธอ คุณ Sandra กล่าวว่า ในประเทศไทยมีผู้ประกอบการหลากหลายที่มีความคิดสร้างสรรค์ เธอเชื่อว่าการทำงานที่ AWS ของเธอจะตอบโจทย์ให้เธอได้มีโอกาสช่วยให้ ทวีปเอเชียสามารถสร้าง Technology company ที่เติบโตไปถึงระดับโลกได้ จากการเรียนรู้วิสัยทัศน์ของคุณ Sandra ทำให้เราสังเกตเห็นได้ชัดว่าการมีวิสัยทัศน์ที่ใหญ่พอ จะเป็นแหล่วงรวบรวมของพลังของคนในองค์กร ให้ฮึดสู้ไม่หยุดถึงแม้มีอุปสรรค เพราะว่าทุกคนก็อยากมีส่วนร่วมในการสร้างสิ่งที่มีความสำคัญ

  1. Earn Trust หัวหน้าที่พยายามสร้างความไว้ใจให้พนักงานเสมอ

ที่ AWS มีวิธีการเก็บข้อมูลและรับฟังพนักงานเพื่อทำความเข้าใจพวกเขาเสมอ เหมือนที่องค์กรเองก็ต้องฟังลูกค้า พนักงานก็ต้องได้รับการรับฟังเช่นกัน คุณ Sandra เล่าถึง Daily poll ที่องค์กรจะคอยถามความรู้สึกนึกคิดของพนักงาน คุณ Sandra เล่าอีกว่าที่ต้องให้ความสำคัญของพนักงานมากขนาดนี้เพราะกว่าที่ AWS จะได้คนเข้ามาบบริษัทที่ตามความคาดหวังขององค์กร จะต้องมีมาตรฐานการคัดกรองที่ค่อนข้างสูง 

เมื่อคุณเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Amazon Web Services คุณก็จะได้รับความไว้วางใจและให้อิสระกับอย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่น ระหว่างที่มีการ Work From Home คุณ Sandra เองก็ต้องทำหน้าที่เป็นคุณแม่ดูแลคนในครอบครัว ทำกับข้าวให้กับสมาชิก หลายๆครั้งเธออาจจะต้องจัดเวลาการดูแลครอบครัว พร้อมกับทำหน้าที่ของเธอไปพร้อมๆกัน หรือสมาชิกในทีมที่เป็นคนรุ่นใหม่บางทีพวกเขา ก็อาจจะมีตารางเวลาชีวิตที่แตกต่างกัน ในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพและควาคิดสร้างสรรค์นั้น องค์กรต้องการให้พื้นที่กับความหลากหลาย และเมื่อเราเลือกพวกเขามาแล้ว เราก็ต้องเชื่อใจให้อิสระกับพวกเขา ในมุมมองของคุณ​ Sandra 

  1. Bias for action ลงมือทดสอบดีกว่า กว่าจะรอให้ชัวร์ 100% ก็คงไม่ทันลูกค้าแล้ว

Jeff Bezos เคยกล่าวไว้ว่า “most decisions should probably be made with somewhere around 70% of the information you wish you had. If you wait for 90%, in most cases, you’re probably being slow”

เพราะฉะนั้นวิถีการทำงานของ AWS เน้นการลงมือทำ ทดลอง ทดสอบและเรียนรู้ เพราะว่าที่นี่เชื่อว่าในการแก้ปัญหาให้ลูกค้าและสร้างสิ่งใหม่ เป็นไปไม่ได้ที่ที่เราจะทำนายคำตอบได้ตายตัวแน่ชัด ถ้าเรามีคำตอบเห็นชัดๆอยู่แล้ว ก็คงไม่ใช่การคิดค้นสิ่งใหม่ คุณ Sandra แชร์ให้เราฟังแนวคิดว่า AWS ไม่ได้ต้องการการ recycle idea และไม่ได้ต้องการเป็น me-too product เพราะฉะนั้นหากบริษัทต้องรอให้ทุกอย่าง perfect พร้อม 100% ก็คงวิ่งไม่ทันตลาด 

  1. Deliver Results มาวัดกันที่ผลลัพธ์ เอา fact มาคุยกัน

เมื่อมีหลากหลายไอเดียจาก Builders ในองค์กร วิธีการทำงานที่นี่เน้นให้เกิดการทำงานเป็นทีมและทดสอบสมมติฐานนั้นๆ ในทางแรก คุณ Sandra เล่าว่าแต่ละทีมทำงานจะมีไซส์ไม่ใหญ่เกินกว่าจำนวนคนที่กิน Pizza 2 ถาด เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ร่วมลงมือทำ และการแลกเปลี่ยนความเห็นได้อย่างเต็มที่ และถ้าทีมมีความคิดเห็นขัดแย้ง ทีนี่ก็จะเน้นให้ต้องทดสอบผ่านการทำ A/B Testing ให้เห็นผลว่าไอเดียไหนที่จะไปได้จริงๆ แทนที่จะใช้เวลาถกเถียงกัน 

เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดที่เราเชื่อว่าเป็นหลักสำคัญที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมขององค์กรที่มีอนาคต เราได้แนวคิดนี้จากการสรุปเรื่องราวพูดคุยกับคนทำงานจริงใน AWS อย่างคุณ Sandra Teh ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ 14 leadership principles ที่ Amazon ได้กำหนดไว้ 


“งานที่คุณทำมีส่วนร่วมในการสร้างคุณค่าอะไรใหม่ๆให้กับลูกค้าของคุณบ้าง?”

ในมุมมองของ CareerVisa สำหรับคนที่กำลังทำงาน คุณควรถามตัวเองว่า งานที่คุณทำไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งอะไร ได้ช่วยให้คุณมีโอกาสแก้ปัญหาให้ลูกค้าบ้างรึเปล่า ถ้าคุณยังตอบไม่ได้ เราแนะนำว่าคุณควรจะต้องคิดถึงอนาคตของงานคุณให้ดี นั่นอาจจะแปลว่างานของคุณค่อนข้างไม่ปลอดภัยแล้ว อย่างที่ World Economic Forum Top 10 Skills 2025 ระบุไว้คือ ทักษะอันดับหนึ่ง คือ Analytical Thinking & Innovation คลิกที่นี่อ่านต่อ 

หากคุณสนใจทำงานกับองค์กรอย่าง AWS เราแนะนำให้คุณอ่านต่อ คลิกที่นี่ แล้วดู Tips ข้างล่างก่อนเตรียมตัวสมัครงานกับ AWS


อยากสัมภาษณ์งานที่ AWS ? ถามตัวเองก่อน !

คุณเป็น Builder รึเปล่า ?

ที่ AWS ต้องการคนที่มี Builder Mindset ที่เข้ามาแล้วพร้อมจะสร้างสิ่งใหม่ แล้วคุณ Sandra ยังเน้นอีกว่า การ “สร้าง” เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น ที่ AWS ยังต้องการคนที่สร้างและสามารถที่จะทำสิ่งนั้นต่อไปให้ประสบความสำเร็จให้ได้ แม้แต่ทีมน้อง Intern ที่เข้ามาก็ยังต้องได้รับโปรเจคในการสร้างสิ่งใหม่เหมือนกันหมด

คุณยังยึดติดกับความสำเร็จในอดีตรึเปล่า ?

การหาคนที่พร้อมจะคิดค้นสิ่งใหม่ เป็นแนวคิดที่ถูกสะท้อนผ่านวิธีการคัดเลือกพนักงานที่ AWS ที่นี่ไม่ได้อยากได้คนที่เชื่อมั่นว่าตัวเองรู้ดีไปหมดทุกเรื่อง (Know-it-all) คุณ Sandra เน้นว่าเพราะการคิดค้นสิ่งใหม่ไม่สามารถอาศัยเพียงแค่ความสำเร็จในอดีตได้ เพราะฉะนั้นที่สำคัญคุณต้องสามารถในการวางความสำเร็จในอดีตของตัวเองลง แล้วพร้อมเปิดใจเรียนรู้

การ recruit คนที่ AWS จะมองไปไกลกว่าแค่ดู resume และพื้นฐานการศึกษา เพราะที่นี่เชื่อว่าสิ่งเหล่านั้นไม่สามารถบ่งบอกความพร้อมของคนในการ unlearn & relearn ได้ ถึงแม้ที่นี่จะเป็นบริษัท Technology แต่ว่าเธอมีเพื่อนร่วมงานที่มาจากพื้นฐานการศึกษาที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น นักปรัชญา นักสังคมศาสตร์ หรือแม้แต่นักดนตรี 

แล้วเวลาที่คุณล้มเหลวคุณทำยังไงไง ?

ที่ AWS อยากรู้ว่าถ้าคุณทำอะไรบางอย่างแล้วล้มเหลวคุณมีทางออกอย่างไร เพราะที่องค์กรนี้คุณอาจจะต้องทดลองทำสิ่งใหม่อยู่บ่อยๆ และเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องเกิดความผิดพลาด และมีคนที่ไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณกำลังจะทำ เพียงเพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งใหม่ เพราะฉะนั้น ถ้าคุณมาสัมภาษณ์อย่าเล่าเพียงแต่ภาพความสำเร็จ แต่ขอให้แสดงถึง moment ที่คุณต้องแก้ไขปัญหา เมื่อผลงานไม่เป็นอย่างที่คุณวางแผนไว้ด้วย

เล่าเรื่องง่ายๆชัดๆใช้เทคนิค STAR

คุณ Sandra ได้แชร์เทคนิคในการเล่าเรื่องที่จะทำให้ทุกคนเห็นภาพอย่างชัดเจนผ่าน STAR technique

  • S – Situation บอกถึงสถานการณ์เบื้องหลังของเรื่องราวที่เกิดขึ้น
  • T- Task สิ่งที่คุณได้รับมอบหมายให้จัดการหรือแก้ไขในโจทย์นี้
  • A- Action สิ่งที่คุณเลือกที่จะทำเพื่อให้ตอบโจทย์ในงานที่ได้รับมอบหมาย
  • R- Result ผลลัพธ์ที่คุณได้จากการลงมือทำ

สนใจทำงานกับ AWS คลิกที่นี่

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 66