ทำไมบริษัทต้อง Layoff?

ชีวิตจริงการทำงาน เราทุกคนมีสิทธิ์ “โดนให้ออก” ด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งเสมอ แม้ว่าเราจะเก่งมีความสามารถหรือสร้างรายได้ให้บริษัทมากแค่ไหนก็ตาม

เราอาจจะเคยเห็นตัวอย่างจากซีอีโอชั้นนำของโลกที่โดนไล่ออกจากบริษัทที่ตัวเองก่อตั้งขึ้นมาเองกับมือ ไม่ว่าจะเพราะทำผลประกอบการได้ไม่ตรงเป้าที่บอร์ดบริหารคาดหวัง หรือมีจุดยืนอุดมการณ์ที่ดันไม่ตรงกับผู้บริหารคนอื่น ๆ จนต้องออกไปตั้งหลักใหม่

 

แล้วทำไมการปลดพนักงาน ถึงเป็นทางเลือกที่หลายบริษัทใช้?

 

ในมุมบริษัท การปลดพนักงานเป็นวิธีลดต้นทุนที่เร็วที่สุดที่บริษัทหนึ่งจะทำได้แล้ว พนักงานทุกคนมาพร้อมต้นทุนค่าใช้จ่ายของบริษัท และมีผลต่อกำไร เมื่อจำนวนพนักงานลดลง ต้นทุนก็ลดลงและตัวเลขกำไรจึงเพิ่มขึ้นนั้นเอง

 

อะไรคือสาเหตุที่นำไปสู่การปลดพนักงานของหลายบริษัทใหญ่ในรอบปีที่ผ่านมานี้?

  • กลางปี 2022 Shopee ปลดพนักงานกว่า 7,000 คนทั่วโลก
  • ปลายปี 2022 Facebook ปลดพนักงานกว่า 11,000 คนทั่วโลก
  • ต้นปี 2023 Amazon ปลดพนักงานกว่า 18,000 คนทั่วโลก
  • ต้นปี 2023 Google ปลดพนักงานกว่า 12,000 คนทั่วโลก

 

เมื่อการสร้างรายได้ทำได้ยากกว่าการลดค่าใช้จ่าย บริษัทจึงเลือกทำอย่างหลัง (พร้อมตัดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยของบริษัท) 

ส่วนสาเหตุในระดับ Mega คือ ภาวะเงินเฟ้อทั่วโลกในหลายประเทศ โดยในปี 2022 ที่ผ่านมา เฉลี่ยแล้วทั่วโลกมี อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate) สูงถึง 9% เลยทีเดียว! 

อีกทั้งเจอกับสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ส่งผลให้น้ำมันขึ้นทั่วโลก สุดท้ายสินค้าข้าวของก็ขึ้นตามเพราะค่าน้ำมันเป็นต้นทุนของสินค้าแทบทุกอย่าง บวกกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการจับจ่ายซื้อของยังไม่กลับมาเท่าเดิมก่อนยุคโควิด

นอกจากนี้ บางบริษัทที่แม้จะเป็นส่วนน้อย เช่น Zoom, Shopee, Netflix ได้โอกาสเติบโตแบบก้าวกระโดดจากยุคโควิด-19 ที่ช่วงปีนั้นจ้างพนักงานเพิ่มกันแบบไม่อั้น แต่พอทุกอย่างเริ่มกลับมาเป็นปกติ บริษัทเหล่านี้ก็กลับสู่ภาวะปกติและพบว่าพนักงานที่มีอยู่ดันมีค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็นที่บริษัทต้องการจริงๆ

การปลดพนักงานชุดใหญ่ชนิดที่เกิดขึ้นกับหลายบริษัททั่วโลก จึงเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา พนักงานบริษัทชั้นนำเหล่านั้นส่วนใหญ่เป็น Talents ที่เก่งกว่าคนทั่วไปด้วยซ้ำ แต่ก็ยังโดนปลดอยู่ดี

แต่ถ้ามองในอีกมุมหนึ่ง เมื่อบริษัทปลดพนักงานไปแล้ว ค่าใช้ต้นทุนลดลงแล้ว และสถานการณ์กลับมาอยู่ในจุดที่พอดีตัว เมื่อเวลาผ่านไป กำลังซื้อของคนเริ่มกลับมา บริษัทเพิ่มกำลังการผลิต และต้องการจ้างพนักงานใหม่เพิ่มในที่สุด

แต่แม้จะมีคนถูกปลดเยอะ แต่ก็ยังมีพนักงานอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังคงเติบโตก้าวหน้าและได้เงินเดือนเพิ่มต่อไป 

สุดท้ายแล้วหนทางที่มั่นคงที่สุดสำหรับคนทำงาน คือการพัฒนาตัวเอง อย่างต่อเนื่อง (Endless learning) เกาะกลุ่มผู้นำทันเทรนด์และมีทักษะใหม่ๆ ที่เป็นที่ต้องการอยู่ตลอด  หาจุดยืนคุณค่าที่ตลาดยังไงก็ต้องการคุณ คนแบบเองที่นี้จะมีโอกาสสูงกว่าที่จะยังคงเติบโตท่ามกลางมรสุมการปลดพนักงาน ต่อให้ถูกปลดจริงๆ ก็จะมีบริษัทอื่นที่พร้อมรับคนเก่งแบบคุณไปร่วมงานด้วยอยู่ดี หรือแม้กระทั่งเลือกเดินออกมาเองเพื่อไปอยู่กับบริษัทใหม่ที่มีโอกาสเติบโตไปกับอนาคตได้มากกว่า

 

อ้างอิง :

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง