เจ้าของ TikTok จาง อี้หมิง เริ่มต้นจากการเป็นลูกข้าราชการ

จาง อี้หมิง (Zhang Yiming) คือผู้บุกเบิกสร้างแอป TikTok ที่หลายคนอาจกำลังติดกันระงมในตอนนี้ เขาคือนักธุรกิจหนุ่มอายุ 40 ปีที่อาจเป็นกรณีศึกษาแก่ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารระดับสูงหลายคนได้เขาเรียนจบด้าน วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) ซึ่งเป็นงานแห่งอนาคตและมีบทบาทในการชี้นำทิศทางธุรกิจ ซึ่งเขาจะได้ใช้มันสร้างแอปตัวหนึ่งที่คนนับ 1,000 ล้านคนใช้กันในอีกไม่กี่ 10 ปีต่อมา

พนักงานหรือเจ้าของกันแน่?

 

ตั้งแต่สมัยเป็นมนุษย์เงินเดือน จาง อี้หมิงมีทัศนคติการทำงานที่ treat ตัวเองและเพื่อนร่วมงานเสมือนเป็น “เจ้าของกิจการ” 

 

เช่น ถ้ามีโปรเจคท์เร่งด่วนเข้า…แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบหลักของเขาโดยตรง แต่เขาจะขอเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาราวกับว่ามันคือหน้าที่หลักของเค้า พร้อมทำ OT อยู่ถึงดึกดื่น พร้อมเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ พร้อมอัพสกิลในเรื่องที่ไม่เก่งเพื่อมาแก้ปัญหานั้นๆ โดยเฉพาะ 

 

เรียกว่าถ้าจะต้องทำงานเกินเงินเดือน…จาง อี้หมิงก็ไม่เกี่ยง

 

ทิ้งโอกาสบริษัทเทคยักษ์ใหญ่

 

จาง อี้หมิงมีอุดมการณ์จุดยืนการทำงานที่แน่วแน่ แม้มีโอกาสได้เข้าทำงานที่ Microsoft ในปี 2008 ซึ่งสำหรับหลายคน อาจเป็นที่ชุบตัวอยู่ยาวหลาย 10 ปีได้เลยทีเดียว 

 

แต่เขาเลือกที่จะลาออกในเวลาต่อมา เพราะก่อนหน้านั้นที่อยู่บริษัทเล็ก เขามีโอกาสได้บริหารทีมและเห็นผลลัพธ์โดยตรงจากสิ่งที่คิด แต่เมื่อมาอยู่ Microsoft เขาพบว่าตัวเองเป็นแค่ฟันเฟืองเล็กๆ ขององค์กรระดับโลก เขาไม่สามารถ contribute ความคิดความสามารถตัวเองได้แบบต้นน้ำ-ปลายน้ำเหมือนเดิมได้อีกต่อไป แถมการทำงานยังมี ระดับขั้น (Hierearchy) มากอย่างเหลือเชื่อชนิดที่เขาไม่เคยคิดมาก่อน (อย่างน้อยก็ในออฟฟิศที่จีนแผ่นดินใหญ่)

 

เมื่อ Microsoft ไม่ตอบโจทย์ เขาตัดสินใจครั้งใหญ่ด้วยการลาออกไป “ก่อตั้งบริษัท” ของตัวเองเป็นครั้งแรก!

 

ยังไม่พอใจกับผลงานตัวเองอีก

 

บริษัทแห่งแรกของเขาคือ 99fang.com บริษัทนายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นท่ามกลางการก่อสร้างตึกระฟ้ากันชนิดพลิกโฉมน่านฟ้าทั่วเมืองใหญ่ของจีน บริษัทนี้ไปได้ด้วยดี เขาได้เรียนรู้อะไรมากมายจากการสวมหมวกเป็นเจ้าของกิจการเต็มตัว

 

แต่มันก็ยังไม่ใช่ประเภทธุรกิจในฝันของเขาจริงๆ เพราะสิ่งที่ต้องการลึกๆ คือโปรดักท์ที่มาเปลี่ยนแปลงชีวิตมวลมหาชนได้ต่างหาก ซึ่งมวลชนในที่นี้ จาง อี้หมิงหมายถึงสเกลระดับโลก

 

หลังจากนั้น เขาหาคนมาสานต่อธุรกิจและถอนตัวมาสร้างบริษัทแห่งหนึ่งในปี 2012 ที่ต่อมาคือบริษัทแม่ของ TikTok บริษัทนั้นคือ “ByteDance”

 

เพราะคนติดมือถือ

 

Steve Job ทำให้คนทั่วโลกเริ่มติดมือถือจากการเปิดตัว iPhone และ Facebook ก็เกิดขึ้นแล้วและกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว แถมจีนเองมีแอป Baidu (คล้าย Google) ที่ผู้ใช้งานเติบโตก้าวกระโดดเช่นกัน

 

จาง อี้หมิงนำเทรนด์ที่เกิดขึ้นมาประกอบร่างกันจนมองเห็นโอกาสและได้พัฒนาโปรดักท์สมใจหวังที่มีชื่อว่า Toutiao เป็นแอปข่าวที่ใช้ระบบ AI ในการนำเสนอข่าวสารตามที่เราสนใจ ซึ่งเรียกว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก มีผู้ใช้งานในจีนกว่า 10 ล้านคนในเวลารวดเร็ว

 

จากนั้น นักลงทุนสาย Tech ก็มองเห็นโอกาสการเติบโต จึงได้มาลงทุนมหาศาลกับจาง อี้หมิงจนเขานำเม็ดเงินหลายพันบาทมาสร้างแอปวิดีโอสั้น(ให้บริการเฉพาะในจีน) ที่มีชื่อว่า Duoyin ในปี 2016

 

และเป็น Duoyin เองที่ทำให้ความสำเร็จของ Toutiao ดูเล็กไปเลย เพราะแค่ปีเดียวมีผู้ใช้งาน Duoyin แตะ 100 ล้านคนในจีนไปแล้ว

 

จังหวะนี้เอง จาง อี้หมิงคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ความฝันของเขาในสเกลระดับโลกได้มาถึงแล้ว ในปี 2017 เขาจึงพัฒนาแอป TikTok ขึ้นมาแยกต่างหากจาก Duoyin ในจีนไปเลย และให้บริการใน “ตลาดโลก”

 

ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่

 

จาง อี้หมิงรู้ดีว่ากลุ่มคนที่จะขับเคลื่อนโปรดักท์แบบนี้ให้เติบโตระดับโลกได้ดีที่สุดคือกลุ่มคนรุ่นใหม่ เขาจึงพัฒนาแอปให้ถูกจริตคาแรคเตอร์คนกลุ่มนี้ไม่ว่าจะฟีเจอร์ให้ร้องเพลงลิปซิงค์ ลูกเล่นเอฟเฟกต์และฟีลเตอร์ต่างๆ อัลกอริทึมที่เน้นโปรโมตวิดีโอแบบสั้นและเน้นเนื้อหาแบบเนื้อๆ ตรงประเด็นที่มีความเรียล (Authenticity) พร้อมกับเพิ่มฟังก์ชั่นการช็อปปิ้งออนไลน์ผนวกเข้ากับแอปแบบไม่มีสะดุด 

 

ในมุมของแบรนด์บริษัท TikTok มีความครบวงจรตั้งแต่สร้างการรับรู้ การตลาด แบรนด์ดิ้ง และทำยอดขาย ดังที่เราเห็นจาก TikTok Shop, TikTok Ads, หรือ Affiliate Marketing จบครบในที่เดียว

 

ทุกอย่างต้องง่าย

 

โปรดักท์หนึ่งจะไปสเกลระดับโลกและผู้คนส่วนใหญ่ใช้กันได้ในชีวิตประจำวัน มันต้องมีความง่ายมากพอ เรื่องนี้สะท้อนการคิดของจาง อี้หมิงโดยตรงที่ว่า แอปต้องใช้งานง่ายพอ ตัดทิ้งโปรดักชั่นยากๆ มีฟีเจอร์ที่อำนวยความสะดวกต่อการอัดคลิป แม้คุณจะเป็นมือใหม่ แต่คุณก็สร้างวิดีโอไวรัลใน TikTok ได้!

 

เขายังเอาตัวเองไปเจอ “ปัญหาหน้างาน” โดยกำหนดเป็น KPI ให้ทีมงานพัฒนาต้องสมัครบัญชีเข้าไปเล่นและสวมบทบาทต่างๆ ทั้งเป็นผู้ใช้งานหรือเป็นครีเอเตอร์ ก่อนระบุประเด็นปัญหาเพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนา

 

ทุกวันนี้ TikTok ประสบความสำเร็จจน Facebook ต้องปรับตัวเร่งด่วน (และทำตัวให้เหมือน TikTok ในบางมุม) จากชายหนุ่มพื้นเพธรรมดา มาวันนี้ จาง อี้หมิงคือคนรวยที่สุดอันดับ 2 ในจีนด้วยความมั่งคั่งเกือบ 2 ล้านล้านบาท เขาเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่ Talents แบบเราควรศึกษาไม่น้อย

 

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

generation
จะทำอย่างไร? หากต้อง "ทำงานกับคนต่าง Generation" ที่คิดไม่เหมือนกัน
Generation กับความคิดที่ไม่เหมือนกัน เป็นอย่างไร?ความท้าทายของการทำงานร่วมกับคนที่ต่างอายุ ต่างช่วงวัย หลายครั้งไม่ใช่ความสามารถในการทำงานหรือประสบการณ์ที่มากกว่ากัน...
Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...