อยากตั้งเป้าหมายในการทำงาน ต้องเริ่มต้นอย่างไร

หมดยุคของการทำงานไปเรื่อย ๆ แบบไม่มีเป้าหมายกันแล้ว มีใครบ้างที่ตอนนี้ทำงานอยู่แต่รู้สึกล่องลอยไปหมด ลองตั้งเป้าหมายให้กับตัวเองดู อาจจะเป็นเป้าหมายระยะสั้นหรือระยะยาวก็ได้ แต่บอกเลยว่าเวลาที่เราทำอะไรแบบมีจุดหมาย มันจะเป็นแรงผลักดันให้เราตั้งใจทำมันให้ออกมาดีที่สุดอย่างที่หวังไว้แน่นอน

หมดยุคของการทำงานไปเรื่อย ๆ แบบไม่มีเป้าหมายกันแล้ว มีใครบ้างที่ตอนนี้ทำงานอยู่แต่รู้สึกล่องลอยไปหมด ลองตั้งเป้าหมายให้กับตัวเองดู อาจจะเป็นเป้าหมายระยะสั้นหรือระยะยาวก็ได้ แต่บอกเลยว่าเวลาที่เราทำอะไรแบบมีจุดหมาย มันจะเป็นแรงผลักดันให้เราตั้งใจทำมันให้ออกมาดีที่สุดอย่างที่หวังไว้แน่นอน

 

หากแต่ว่าหลายคนอาจจะยังสับสนว่า แล้วเราจะตั้งเป้าหมายตรงนี้ออกมาอย่างไรดี อะไรคือตัวชี้วัดว่ามันสามารถเกิดขึ้นได้จริงหรือเป็นเป้าหมายที่ดี

มาลองดูกันว่าเราจะทำได้ด้วยวิธีอย่างไรบ้าง

 

หลายคนอาจจะมีวิธีการตั้งเป้าหมายที่แตกต่างกัน บางคนอาจจะเริ่มที่ตั้งเป้าหมายระยะสั้นไปเรื่อย ๆ แล้วค่อย ๆ ทำเป้าหมายให้สำเร็จไปทีละอย่างเหมือนการเก็บแต้ม แต่บางคนก็อาจจะเริ่มที่การตั้งเป้าหมายระยะยาวก่อน แล้วค่อย ๆ ทำไปทีละนิดเพื่อให้ถึงจุดหมายตรงส่วนนั้น ซึ่งวิธีการคิดหรือแนวทางการวางแผน ก็แล้วแต่ความถนัดหรือความชอบของแต่ละคน

 

วันนี้ CareerVisa จะมานำเสนอ วิธีการตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ด้วยวิธีง่าย ๆ สำหรับคนที่ต้องการมีเป้าหมายในชีวิตการทำงานมากขึ้น มาดูกันว่าเราสามารถมีแนวทางได้อย่างไรบ้าง

 

1) ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน : หลายคนอาจจะรู้สึกว่าตั้ง ๆ ไปก่อน เพื่อให้ตัวเองสามารถมีอะไรให้เกาะให้ถึงเป้าหมายตรงนั้น แต่ถ้าหากเป้าหมายไม่ชัดเจนมากพอ ก็อาจจะทำให้ระหว่างทางของเราแกว่งไปมาก็เป็นได้ ตัวอย่างเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น เราต้องการเป็นหัวหน้าในสายงานนี้ที่บริษัทนี้

 

2) เป้าหมายต้องวัดผลได้ : หลังจากที่เรามีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว เราก็ควรจะทำเป้าหมายนั้นให้สามารถวัดผลได้ หรือมีตัวเลขรองรับ อย่างเช่น เราจะเติบโตเป็นหัวหน้าให้ได้ภายใน 1 ปี หรือ เราจะต้องทำยอดขายให้ได้ 1 ล้านบาท ในระยะเวลา 2 ปี เป็นต้น

 

3) ตั้งเป้าหมายในเชิงบวก : พยายามให้เป้าหมายนั้นออกมาเป็นการคิดในแง่บวก เช่น เราอยากที่จะพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมนี้ให้ได้ในระยะเวลา 1 ปี ไม่ใช่ เราอยากจะหลุดพ้นจากการทำงานที่นี่ให้ได้ภายใน 2 ปี พยายามตั้งเป้าหมายที่เรานึกถึงแล้วจะรู้สึกบวกมากกว่าลบ

 

4) อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง : อย่าตั้งเป้าหมายที่ยากเกินกว่าจะเอื้อมถึง ให้ตั้งเป้าหมายที่สามารถเกิดขึ้นได้จริง และไม่เกินความสามารถของตัวเองมากจนเกินไป เนื่องจากเป้าหมายที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง จะช่วยให้เรามีความกระตือรือร้น และไม่รู้สึกว่ามันยากเกินไปจนไม่อยากไปถึงเป้าหมายนั้น ๆ นั่นเอง

 

5) ตั้งระยะเวลาในการบรรลุเป้าหมายนั้น ๆ แบบไม่เร่งรัด : เราไม่จำเป็นต้องรีบทำให้เป้าหมายสำเร็จ หรือยึดติดกับระยะเวลาที่กระชั้นชิดมากจนเกินไป หากแต่ว่าการมีระยะเวลากำหนดไว้ ก็จะช่วยให้เราวางแผนได้ง่ายขึ้น และมีแรงผลักดันมากยิ่งขึ้น เพียงแต่อย่าลืมว่าระยะเวลานั้น ก็ต้องยืดหยุ่นและอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้อีกเช่นกัน

 

6) จับคู่เป้าหมายนั้นกับการกระทำ : อย่าลืมว่าเป้าหมายต้องสอดคล้องกับสิ่งที่เราทำ หรือการกระทำที่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างเช่น เราจับคู่เรื่องของการบรรลุเป้าหมายที่จะเรียนรู้ทักษะการเขียนโปรแกรมกับการสมัครคอร์สเรียนเขียนโปรแกรมเพื่อเรียนรู้มัน เป็นต้น

 

7) อย่าเครียดกับเป้าหมายมากจนเกินไป : เปลี่ยนแรงกดดันให้มาเป็นแรงผลักดัน อย่าจมปลักกับเป้าหมายจนเกิดความเครียดมากจนเกินไป พยายามยืดหยุ่นกับมันและมองว่าเป้าหมายสามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอหากเรามีการปรับวิธีการใช้ชีวิตหรือแนวทางในการทำงาน

 

อย่ากดดันตัวเองมากจนเกินไป การตั้งเป้าหมายการทำงานเป็นเพียงสิ่งที่เพิ่มแรงผลักดันให้กับตัวเองให้เราตั้งใจทำสิ่ง ๆ หนึ่งมากขึ้น แบบที่ไม่หลุดจากแนวทางที่เราวางไว้ เชื่อว่าทุกคนสามารถไปถึงเป้าหมายการทำงานและประสบความสำเร็จในชีวิตได้หากมีความพยายามมากพอ

 

 

อ้างอิง : https://www.thebalancemoney.com/goal-setting-526182

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง