บุคลากรไทยกับการทำงานต่างประเทศ: แนวโน้มแรงงานและโอกาสใหม่ในปี 2024

ทำงานต่างประเทศ

Jobsdb by SEEK (7 สิงหาคม, 2567) ได้เปิดเผยข้อมูลตลาดแรงงานทั่วโลกและในประเทศไทยจากบทสรุปข้อมูลเชิงสำรวจเกี่ยวกับการทํางานและความสมัครใจในการโยกย้าย ทำงานต่างประเทศ ซึ่งนําเสนอข้อมูลระดับโลกพร้อมข้อมูลเชิงลึกในระดับประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในผลสํารวจ ชุด Global Talent Survey 2024 จัดทำโดย JobStreet และ Jobsdb ภายใต้กลุ่มบริษัท SEEK ร่วมกับ Boston Consulting Group (BCG) (บริษัท เดอะ บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป จำกัด) และ The Network (เดอะ เน็ตเวิร์ค) พันธมิตรระดับโลก จัดทำร่วมกัน ซึ่งการสำรวจนี้ได้สํารวจความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของสถานที่ทํางานและวิธีการทํางานที่ผู้หางานทั่วโลกต้องการจากผู้ทำแบบสำรวจกว่า 150,000 คน จากกว่า 180 ประเทศ โดยผลการสํารวจระดับโลกนี้อ้างอิงตามกลุ่มตัวอย่างจํานวนมากที่มีความหลากหลายและครอบคลุมถึงตลาดผู้หางานหลักที่สําคัญ

.

บทสรุปสำคัญจากการสำรวจ

แนวโน้มการโยกย้าย: 63% ของผู้หางานทั่วโลกเปิดรับการย้ายถิ่นฐานเพื่อทำงาน โดยมีสัดส่วนลดลงเมื่อเทียบกับก่อนโควิดที่มีอัตราเปิดรับการย้ายถิ่นฐานที่ 71%

ความกระตือรือร้นในการหางาน: 25% ของผู้หางาน กำลังมองหางานในต่างประเทศเพราะมีความคาดหวังโอกาสในการทำงาน คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และรายได้ที่มากขึ้น

ปัจจัยที่ทำให้คนไทยสนใจ ทำงานต่างประเทศ”

แนวโน้มการทำงานทางไกลระหว่างประเทศ: ภาพรวมผู้หางานจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กว่า 66% สนใจที่จะทำงานในต่างประเทศโดยที่ไม่ต้องมีการย้ายถิ่นฐาน แสดงให้เห็นถึงการโยกย้ายแบบเสมือน หรือ Virtual Mobility ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามคนไทย ตอบรับการทำงานทางไกลระหว่างประเทศสูงถึง 76% เทียบกับปี 2563 ที่มีสัดส่วนเพียง 50%

ผู้หางานชาวไทยสนใจในการ “ทำงานต่างประเทศ” มากขึ้น: ผู้ตอบแบบสอบถามคนไทยกว่า 66% มีความสนใจในการโยกย้ายไปทำงานต่างประเทศ และ 79% ของกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มคนที่มีอายุน้อย ที่แสดงความสนใจในการไปทำงานต่างประเทศ ปัจจัยของความสนใจโยกย้ายถิ่นฐานนี้มาจาก ความมุ่งมั่นเกี่ยวกับความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น ตลอดจนโอกาสที่จะได้รับประสบการณ์ในระดับนานาชาติ และถึงแม้ตัวเลขจะยังไม่ถึงจุดสูงสุดก่อนเกิดโรคระบาดในปี 2561 แต่ความสนใจถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปี 2566 ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนถึง ปรากฏการณ์สมองไหล โดยเฉพาะคนทำงานในกลุ่มการศึกษาและการฝึกอบรม กฎหมาย การจัดการธุรกิจ และไอที

การพัฒนากลยุทธ์สำหรับบริษัทจ้างงาน เพื่อดึงดูดผู้หางานระดับโลก: การสร้างมาตรฐานองค์กรสากลเพื่อดึงดูดผู้หางานระดับโลกด้วยข้อเสนอที่ตอบสนองกับความต้องการของชาวต่างชาติอย่างการสนับสนุนในการย้ายถิ่นฐานพร้อมกับการจัดการเรื่องวีซ่าเเละที่อยู่อาศัย และการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เปิดกว้าง ไม่แบ่งแยก เพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานคุณภาพระดับโลก

.

ประเทศไทย: จุดหมายปลายทางยอดนิยม

ประเทศไทยขยับขึ้นอันดับที่ 31 ในประเทศเป้าหมายของแรงงานทั่วโลก ด้วยเหตุผลหลัก:

  • คุณภาพชีวิต วัฒนธรรมที่เป็นมิตร
  • ค่าครองชีพที่เหมาะสม
  • วัฒนธรรมองค์กรที่ยอมรับความหลากหลาย

ประเทศไทยยังได้ถูกยกให้เป็นจุดหมายปลายทางที่เป็นที่ต้องการของผู้หางานจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้ขยับขึ้นมาลำดับที่ 31 จากลำดับที่ 39 ในการจัดอันดับโลกนับจากปี 2561 ประเทศไทยดึงดูดผู้ที่มีความสามารถหลากหลายจากทั่วโลกถึง 62% ให้เข้ามาทำงาน เนื่องจากชื่นชอบในคุณภาพชีวิต วัฒนธรรมที่เป็นมิตรและการไม่แบ่งแยก ควบคู่ไปกับการพิจารณาเรื่องค่าครองชีพที่เอื้อต่อการอยู่อาศัย โดยผลสำรวจในเดือนมีนาคมปี 2566 ได้เปิดเผยว่าในประเทศไทยมีพนักงานต่างชาติกว่า 2.7 ล้านคน ซึ่งนับเป็น 7% ของแรงงานในประเทศ

จุดหมายปลายทางยอดนิยมของชาวไทย

79% ของผู้หางานชาวไทยเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่มีความสนใจในการทำงานในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายประการ รวมถึงความมุ่งมั่นในความก้าวหน้าในอาชีพ โดยเฉพาะในกลุ่มการศึกษาและการฝึกอบรม ขณะที่สาขาเช่นการบริการทางการเงินและธุรการมีความสนใจที่น้อยกว่า ซึ่งอาจเป็นเพราะมีโอกาสในประเทศมากกว่า

จุดหมายปลายทางที่แรงงานไทยให้ความนิยมได้แก่ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่ประเทศจีน ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ เช่นความสัมพันธ์ระดับภูมิภาค ศักยภาพทางการตลาด และการเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม 60% ของผู้ที่ได้ไปทำงานในต่างประเทศมีความตั้งใจที่จะกลับมายังประเทศไทยในท้ายที่สุด เเละอีก 18% ที่ต้องการอยู่ต่ออย่างไม่มีกำหนด

ตัวอย่างสาขาอาชีพที่มีความพร้อมในการโยกย้าย:

  • การศึกษาและการฝึกอบรม: 85% ของอาจารย์เเละผู้สอนในประเทศไทยนั่นเชื่อว่าจะได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายเเละเติบโตในหน้าที่จากการสอนระหว่างประเทศ
  • กฏหมาย: 73% ของนักกฎหมายชาวไทยกำลังมองหาบทบาทระดับนานาชาติเพื่อขยายความเชี่ยวชาญทางกฎหมายและสร้างเครือข่ายระดับโลก
  • การจัดการธุรกิจ: นักบริหารธุรกิจมีความต้องการที่จะมองหาโอกาสการทำงานในต่างประเทศอย่างสิงคโปร์และฮ่องกงเพื่อการเติบโตด้านการตลาด สื่อดิจิทัล และอุตสาหกรรม AI
  • ไอที: ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีมีความมุ่งมั่นที่จะไปทำงานในประเทศที่มีการพัฒนาในด้านเทค อย่าง สหรัฐอเมริกา เพื่อที่จะเสริมสร้างความรู้ในแง่ของการพัฒนาซอฟต์แวร์ วิทยาศาสตร์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการพัฒนาและปฏิบัติการร่วมกัน
  • วิศวกรรมและเทคนิค: วิศวกรมีความต้องการที่จะทำงานในองค์กรขนาดใหญ่เเละครบวงจรโดย 69% ของวิศวกรมีความยินดีที่จะย้ายสถานที่ทำงาน

แนวโน้มการทำงานทางไกลระหว่างประเทศ

แนวโน้มการทำงานระยะไกลเพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดยตั้งแต่ปี 2563 ผู้หางานชาวไทยมีความต้องการในการทำงานระยะไกลหรือการทำงานแบบไม่ต้องย้ายถิ่นฐานเพิ่มขึ้นถึง 26% จาก 50%ในปี 2563 เพิ่มขึ้นเป็น 76% ในปี 2566 แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นนี้สอดคล้องกับความสนใจในการย้ายถิ่นฐานไปทำงานต่างประเทศที่ไม่ได้เพิ่มขึ้น เพราะผู้หางานมองว่าตนเองสามารถทำงานทางไกลได้จากประเทศไทยโดยไม่จำเป็นต้องย้ายถิ่นฐานได้เช่นกัน

.

ข้อเสนอแนะสําหรับผู้ประกอบการชาวไทย

การพัฒนากลยุทธ์เพื่อดึงดูดผู้หางานระดับโลก:

การวางแผนเกี่ยวกับความต้องการบุคลากรระดับโลก: เพื่อรับมือกับปัญหาขาดแคลนบุคลากรในอนาคต ผู้ประกอบการไทยควรวางแผนจำนวนบุคลากรล่วงหน้าโดยเฉพาะในสาขาที่มีทักษะสูง เนื่องจากประชากรสูงวัยและภาคดิจิทัลมีช่องว่างด้านบุคลากรจึงอาจพิจารณาดึงคนจากประเทศใกล้เคียง เช่น สิงคโปร์และมาเลเซีย ที่สนใจย้ายมาทำงานในไทย

การดึงดูดเเละสรรหาบุคลากรจากทั่วโลก: เพื่อดึงดูดผู้หางานคุณภาพจากต่างประเทศ ผู้ประกอบการในประเทศไทยควรปรับข้อเสนอขององค์กรให้เหมาะสมกับความต้องการของแรงงานทั่วโลกโดยการมุ่งเน้นไปที่คุณภาพชีวิต วัฒนธรรมองค์กร รายได้ ภาษี และค่าครองชีพ นอกจากนี้ การเป็นพันธมิตรกับแพลตฟอร์มสรรหาบุคลากรที่มีเครือข่ายทั่วภูมิภาค เช่น SEEK ก็ช่วยเปิดโอกาสในการค้นหาผู้หางานได้มากขึ้นเช่นกัน

การย้ายถิ่นฐานเเละการต้อนรับดูแลบุคลากรจากทั่วโลก: ผู้ประกอบการไทยควรให้การสนับสนุนดูแลบุคลากรจากทั่วโลกที่ย้ายมาทำงานในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการช่วยเหลือด้านวีซ่า ที่อยู่อาศัย และการย้ายถิ่นฐาน รวมถึงการปฐมนิเทศและโปรแกรมเพื่อนร่วมงานในช่วงแรก

การรักษาพนักงานคุณภาพระดับโลก: เพื่อปลดล็อกศักยภาพของวัฒนธรรมองค์กรควรที่จะสร้างบรรยากาศการทำงานที่เปิดกว้างเเละไม่แบ่งแยกโดยการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการทำงานเเละยังมุ่งเน้นในการสร้างวัฒนธรรมที่ยอมรับความหลากหลายเช่น การจัดทีมงานระหว่างวัฒนธรรม การฝึกอบรมหัวหน้างานเกี่ยวกับการไม่ลำเอียง และการเคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรม

การสำรวจแรงงานทั่วโลก หรือ Global Talent Survey 2024 โดย Jobsdb by SEEK แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับบุคลากรระดับมืออาชีพทั้งจากโอกาสทางอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในขณะเดียวกันความสนใจของชาวไทยในการทำงานต่างประเทศก็เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน การปรับกลยุทธ์ในการดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถจึงเป็นสิ่งสำคัญในการตอบรับกับแนวโน้มการทำงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้

ขอบคุณข้อมูลจาก : Jobsdb by SEEK

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...
การประเมินผลการทำงาน
เตรียมตัวให้พร้อม : เคล็ดลับรับมือการประเมินผลการทำงานช่วงสิ้นปีอย่างมืออาชีพ
การประเมินผลการทำงาน คืออะไร?การประเมินผลการทำงาน คือกระบวนการประเมินผลงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเกณฑ์ตรงกลางที่บริษัทตั้งไว้ และพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้างานหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในการทำงาน...