“บริหารเวลา”ขั้นเทพสไตล์ World Leaders

บริหารเวลา
“คนที่เอ่ยปากว่ามีเวลาไม่พอ…คือคนที่ "บริหารเวลา" ไม่เป็น” คำกล่าวนี้น่าจะจริงเพราะ “บุคคลสำคัญระดับโลก” ในหลายวงการ ล้วนไม่เคยบ่นเรื่องเวลาเลย แต่กลับสร้างสรรค์ผลงานที่พลิกโฉมโลกมาแล้ว น่าสนใจว่าแล้วพวกเขามีวิธี “บริหารเวลา” อย่างไร? ตามไปดูกัน (ปล. หลายอย่างเรียบง่ายกว่าที่คิด ทำตามได้ไม่ยาก!)

Elon Musk | “Time Blocking”

ขอแนะนำให้รู้จักกับ Tony Stark ในชีวิตจริง ก่อนอื่น Elon Musk เรียงลำดับความสำคัญภารกิจต่างๆ ในชีวิต เขาเป็นหนึ่งในมนุษย์ที่ทะเยอทะยานที่สุดในการนำพามนุษยชาติไปดาวอังคาร จึงใช้เวลากว่า 80% ไปกับ SpaceX บริษัทจรวดของเขา ส่วนที่เหลือให้กับ Tesla และบริษัทอื่นๆ ที่เขาดูแล

จากนั้น เทคนิคที่เขาใช้เรียกว่า “Time Blocking” แบ่งเวลาซอยย่อยเป็นบล็อคๆ ตั้งแต่ตื่นนอนยันเข้านอน เช่น กินข้าว 5 นาที / เขียนอีเมล์ 3 นาที / อาบน้ำ 6 นาที…เขาทำงานเฉลี่ยวันละ 10-12 ชม. บล็อคของเขาจึงถี่ซอยย่อยมากๆ Elon Musk เข้าใจกฎ Parkinson’s Law เป็นอย่างดีที่ว่า คนเราจะใช้เวลาทำงานหนึ่ง ‘เท่าที่เวลามีให้’ ถ้าต้องทำโปรเจคท์นี้ให้เสร็จภายใน 3 วัน คนจะใช้เวลา 3 วัน ถ้ามีเวลาให้ทั้งเดือน…คนจะใช้เวลาทั้งเดือน (นึกถึงสมัยเรียนมั๊ย?)

ด้วย Time Blocking เขาจะบีบให้การทำงานย่อยๆ เช่น เขียนอีเมล์ จากที่เขียนเรื่อยเปื่อยก็ลดลงเหลือหลักนาที(บางครั้งวินาที) และไปโฟกัสงานสำคัญแทน วิธีของเขาสอดคล้องกับการ “ตั้งเป้าหมาย” ก่อนจะถึงปลายทางต้องพบเจอกับภารกิจน้อยใหญ่แตกต่างกันไป

วิธีนี้ยังเป็นการสั่งสมองให้เกิด Deadline ไปในตัว ซึ่งจะกระทบไปเรื่องอื่นอย่างต่อเนื่อง เช่น ถ้าต้องกินมื้อเที่ยงให้เสร็จภายใน 10 นาที ต้องกินอะไรที่จะเคี้ยวได้หมดและได้รับสารอาหารครบถ้วน? ที่น่าสนใจคือ Elon Musk ทำงานหนักขนาดนี้ แต่เขาไม่ละทิ้งการนอน โดยใช้เวลานอนเฉลี่ยวันละ 6-6.30 ชั่วโมง ซึ่งเป็นจุดที่เขารู้สึกลงตัวที่สุด

Tony Schwartz | “Rest”

ประธานของ Energy Project คือผู้ที่ขึ้นชื่อเรื่องการ “หยุดพักทุกระยะ” (Rest) เขาจะทำงานอย่างมีสมาธิสูงสุดไม่ให้อะไรมารบกวนและ…หยุดพักทุกๆ 90 นาที ประมาณ 5-10 นาที/ครั้ง ก่อนกลับไปทำงานใหม่ วนลูปแบบนี้ไปจนจบ เขาเข้าใจชีววิทยาร่างกายของมนุษย์ดี เมื่ออ่อนเพลียก็ต้องหยุดพัก เมื่อง่วงก็ไปนอน อย่าฝืน เขาเป็นคนที่แทบไม่ดื่มกาแฟหรือคาเฟอีนใดๆ เลย ที่สำคัญ การพักนั้นต้องเป็นการพักจริงๆ แบบปิดตัวเอง ห้ามเล่นมือถือ ห้ามคิดอะไร (Mindless Break)

Bill Gates | “Think Long-Term”

บิล เกตส์เผยว่า มุมมองเวลามีทั้งระยะสั้นและระยะยาว บางครั้งเขายอมทุ่มหมดหน้าตักให้กับระยะสั้น เพื่อที่จะเสวยสุขในระยะยาว ดังเช่นที่เคยทำมาในอดีต เขายังเคยกล่าวติดตลกว่า อันที่จริง ก่อนจะแต่งงานกับ Melinda(ภรรยา) เขาได้แต่งงานกับ Microsoft ก่อนซะอีก อยู่กินฉันสามีภรรยา ทุ่มเทเวลาให้กับมัน กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ไม่มีชั่วโมงทำงานเพราะมันไม่ใช่งานแต่คือคู่ชีวิต มอบใจให้ทั้งหมดก่อนเขาจะประสบความสำเร็จด้วยซ้ำ

เมื่อสิ่งที่เขาทำออกดอกออกผล เขาไม่จำเป็นต้องทำงานอีกเลยตลอดชีวิต (Bill Gates คือคนที่รวยที่สุดในโลกติดต่อกันยาวนานที่สุด)

Carlos Ghose | “Productive Meeting”

CEO ของ Nissan บริษัทรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ประเทศที่มีวัฒนธรรมเรื่องการประชุม แต่เขาไม่เหมือนคนอื่น แม้การประชุมจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ทุกการประชุมของเขาจะต้องกำหนด “ระยะเวลา” ให้ชัดเจน และเลือก “ผู้เข้าร่วมประชุม” ที่เกี่ยวข้องจริงๆ เท่านั้น เช่น หัวข้อประชุมครั้งนี้คือมาตรการป้องกันโควิด-19 ใช้เวลา 60 นาที: 30 นาทีแรกนำเสนอ 30 นาทีหลังแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใครพูดเรื่องอะไรบ้าง คนละกี่นาที Action Plan เมื่อประชุมเสร็จคืออะไร

Warren Buffett | “NO!”

รู้หรือไม่? นักลงทุนระดับโลก คือเจ้าพ่อแห่งการ “ปฏิเสธ” เขารู้ดีว่าถ้าโอบกอดทุกอย่างเข้ามาในชีวิต แต่ละวันจะมีงานยิบย่อยให้ทำจนไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เขาจะปฏิเสธงานดาษดื่น อะไรผิวเผินก็ตัดทิ้งให้หมด และ ‘โฟกัส’ งานที่เขามองว่าสำคัญจริงๆ เท่านั้น งานน้อยลงแต่เวลาเท่าเดิม เขาจึงเหมือนมีเวลาทำงานสำคัญมากขึ้นนั่นเอง (Steve Jobs เองยังเคยกล่าวว่า นวัตกรรมเกิดจากการปฏิเสธสิ่งต่างๆ)

Barack Obama | “Family Time”

เมื่อคุณบอกว่าคุณเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คุณคงจะยุ่งมากจนหลายคนจินตนาการไม่ออก โอบามารู้ถึงข้อนี้ดีและได้เตรียมพร้อมตั้งแต่ก่อนเข้ารับตำแหน่ง ทุกเช้า เขาจะตื่นมา “ออกกำลังกาย” โดยการวิ่งและยกเวท เป็นเวลา 45 นาที 6 วัน/สัปดาห์ เขายืนกรานว่านี่เป็นกิจวัตรที่ประนีประนอมไม่ได้ (Non-Negotiable Routine) งานวันนั้นของเขาจะทำได้ดีถ้าหากเขาได้ออกกำลังตอนเช้า

สื่อมวลชนที่ได้มีโอกาสเข้าไปทำข่าวช่วงเช้าที่โอบามาออกกำลังกายเปิดเผยว่า เขาน่าจะเป็นปธน.ที่มีร่างกายฟิตกำยำที่สุดเท่าที่สหรัฐอเมริกาเคยมีมา นอกจาก Workout แล้ว ข้อได้เปรียบอีกอย่างคือ เขาแทบจะ Work From Home ตลอด เพราะใช้เวลาเดินเท้า 30 วินาที ก็ถึงห้องทำงานใน White House แล้ว แต่ละวันปธน.มีเรื่องต้องคิดเยอะมาก เขาจะมอบหมายงานที่สำคัญรองลงมาให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นเป็นคนจัดการ ส่วนตัวเขาจะทุ่มเวลาให้กับงานที่สำคัญที่สุดหรือการตัดสินใจใดๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติ (คล้ายกับ John C. Maxwell ที่ว่า ถ้าคนอื่นสามารถทำงานที่คุณทำได้อย่างน้อยๆ 80% งั้นจงมอบหมายงานนั้นซะ! เป็นแนวคิดให้คนอื่นทำแทนเรา)

สิ่งที่หลายคนไม่รู้คือ โอบามาเป็นสุภาพบุรุษที่ให้ความสำคัญกับ “Family Time” เวลาครอบครัวเป็นที่สุด ครอบครัวคือหัวใจของเขา ไม่ว่าวันนั้นเค้าจะเจออะไรมา ข้อพิพาทระหว่างประเทศ สงครามตะวันออกกลาง ปัญหาภาวะโลกร้อน ไม่ว่างานจะเสร็จหรือไม่เสร็จ ทุกเย็นเขาจะนั่งล้อมวงรับประทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัว ‘ทุกวัน’ นอกจากนั้นเขาจะเดินพาส่งลูกๆ เข้านอน ซึ่งทำมาตลอด 8 ปีที่ดำรงตำแหน่ง 

เขาเสริมว่า ปธน.เป็นแค่ตำแหน่งชั่วคราว แต่ครอบครัวอยู่กับเขาตลอดไป..โอบามายังเป็น “นักอ่าน” ตัวยง กิจวัตรก่อนนอนทุกคืนคือการอ่านหนังสือประมาณ 30 นาที หนังสืออุดมไปด้วยแรงบันดาลใจ ได้ใช้ตรรกะขบคิด หลังก้าวลงจากตำแหน่ง เขายังออกมาแนะนำ “หนังสือแห่งปี” อยู่เป็นประจำ

ตัวคุณเองก็”บริหารเวลา”ได้แบบเดียวกับบุคคลสำคัญระดับโลก

แต่ก่อนจะมีเวลาเพื่อทำงาน ต้องรู้ก่อนว่าอยากทำงานแนวไหน? อยู่สายอาชีพแบบไหน?

ไปลองทำ “แบบประเมินอาชีพ” ฟรีๆ กับ CareerVisa ได้ที่ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

CEO of the year
อยากสำเร็จ อย่ารอคำว่าพร้อม ถอดบทเรียนจาก Lisa Su ถึงคนทำงาน เจ้าของรางวัล CEO of the year 2024 จากนิตยสาร Times
Lisa Su หรือเจ้าแม่แห่ง AMD ได้มีโอกาสให้สัมภาษณ์ ในรายการ View From The Top with Lisa Su: Chair and CEO of AMD โดย Stanford Graduate School of Business...
The One-Page Financial Plan
วิธีสรุปการเงินของคุณ ไว้ในแผ่นเดียว แค่ทำตามขั้นตอนนี้ จากหนังสือ The One-Page Financial Plan
สำหรับใครที่อยากจัดการ การเงินของตัวเองให้เป็นระเบียบกว่าเดิม วันนี้ CareerVisa อยากมาแนะนำการทำสรุปการเงินไว้ให้ครบ จบในแผ่นเดียว จากหนังสือ The One-Page...
สวัสดิการสำคัญ
เช็กลิสต์ 10 สวัสดิการสำคัญ ถามไว้ก่อนไปสมัครงาน
“สวัสดิการสำคัญ” ไม่แพ้เงินเดือน! หลายคนอาจโฟกัสที่ตัวเลขเงินเดือนเป็นหลัก แต่แท้จริงแล้ว สวัสดิการที่ดีสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้อย่างมาก...