The Black Swan : สิ่งที่ไม่เคยเจอ… ไม่ได้แปลว่าจะไม่เจอ

Black Swan
"The Black Swan" คือทฤษฎีที่อธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันและมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อสังคมและเศรษฐกิจ เหตุการณ์ประเภทนี้ยากที่จะทำนายและมักถูกมองข้ามในการวิเคราะห์ทั่วไป การเข้าใจทฤษฎีนี้จึงมีความสำคัญในการบริหารความเสี่ยงและการเตรียมตัวรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคต

ทฤษฎี “The Black Swan” หรือ “หงส์ดำ” อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดและส่งผลกระทบใหญ่ เช่น วิกฤตน้ำมันปี 1973, การก่อการร้าย 9/11, สึนามิในญี่ปุ่นปี 2011 และโควิด-19 ปี 2020

เหตุการณ์ประวัติศาสตร์เหล่านี้ ไม่มีผู้เชี่ยวชาญคนไหนคาดคิดมาก่อน สิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นแต่ดันเกิดขึ้นแบบนี้เรียกเป็นภาษาไทยว่าทฤษฎี “หงส์ดำ” ซึ่งที่มาของชื่อมาจากยุคสมัยก่อน มนุษย์รู้จักแต่หงส์สีขาว และเชื่อมาตลอดว่า ‘หงส์มีแต่สีขาวเท่านั้น’

 

แต่สุดท้ายมาค้นพบ “หงส์ดำ” ที่ประเทศออสเตรเลีย ในปี 1697 โดยคุณ Willem de Vlamingh หงส์ดำจึงกลายเป็นคำแทนของ “สิ่งที่เหมือนจะเป็นไปไม่ได้” (แต่เป็นไปแล้ว)

 

ปัจจุบันเราใช้คำว่า Black Swan เปรียบเปรยถึงเรื่องที่ไม่คาดฝันว่าจะเกิด…แต่ดันเกิดขึ้นและสร้างผลกระทบใหญ่หลวง ซึ่งเป็นได้ทุกเรื่องทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเงิน การเมือง ฯลฯ

 

Positive and Negative

อย่างไรก็ตามทฤษฎี “หงส์ดำ” มีทั้งด้านบวก และ ด้านลบ ขึ้นอยู่กับว่าเราเตรียมตัวหรือได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน

 

ด้านบวก เช่น 

  •  การเติบโตแบบก้าวกระโดดของ ZOOM แพลตฟอร์มประชุมทางไกล

  • การเติบโตของ Delivery Service ที่เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อของคน

 

ด้านลบ เช่น 

  • อัตราการว่างงานพุ่งสูงเพราะพิษโควิด-19

  • สายการบินล้มละลายเพราะพิษโควิด-19

 

ข้อจำกัดของมนุษย์

แม้เราจะได้บทเรียนจากประวัติศาสตร์ แต่มนุษย์ก็ยังคงตกหลุมพรางด้านลบอยู่บ่อย ๆ

 

ที่เป็นเช่นนี้เพราะ สมองมนุษย์วิวัฒนาการมาท่ามกลางทุ่งหญ้าสะวันนา เราใช้ชีวิตแบบล่าสัตว์หาของป่า สภาพแวดล้อมเราค่อนข้างจะคงที่ สามารถคาดการณ์เรื่องต่างๆ ได้หมด ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างเนิบช้าตามธรรมชาติ…มนุษย์เราใช้ชีวิตแบบนี้อยู่นับแสนๆ ปี 

 

แต่โลกทุกวันนี้แตกต่างจากเดิมสิ้นเชิง ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก เหตุการณ์ผิดปกติบางอย่างอาจทำให้ตลาดหุ้นสูญเสียมูลค่านับล้านล้านบาทได้ภายในไม่กี่วินาที สมองมนุษย์ไม่อาจประมวลผลหรือคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำอีกต่อไป

 

“เราอยู่ในเมือง แต่ สมองเรายังอยู่ในป่า”

 

Black Swan จึงมีแต่จะเกิดถี่ขึ้น คาดการณ์ได้ยากขึ้น และเมื่อมันเกิดแล้ว มักทำลายแผนการเดิมที่เราวางไว้ทั้งหมด

 

นอกจากนี้ “การรู้” มี 3 แบบ

เรื่องที่เรารู้ว่า..เรารู้ (known facts)

เรื่องที่เรารู้ว่า..เราไม่รู้ (known unknowns)

เรื่องที่เราไม่รู้ว่า..เราไม่รู้ (unknown unknowns)

 

Black Swan มักเกิดจากการรู้แบบที่ 3 (unknown unknowns) และโควิด-19 คือตัวอย่างที่ดีที่สุดตอนนี้

 

เราได้เรียนรู้อะไรจาก Black Swan?

ขอให้คิดเสมอว่าทุกอย่างเป็นไปได้…แม้โอกาสจะน้อยมากก็ตาม (Above-Zero Probability)

  • 10 กว่าปีที่แล้ว ไม่มีใครคาดคิดว่า มนุษย์กว่า 2.7 พันล้านคนจะใช้ Facebook 

  • ภายใน 1 ชั่วอายุคน รายได้เฉลี่ย/หัว ของชาวจีนเพิ่มขึ้นกว่า 65 เท่า! กลายเป็นชาติมหาอำนาจที่จะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าสหรัฐอเมริกาภายในปี 2028

  • Lehman Brothers วาณิชธนกิจระดับโลกล้มละลายจนส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา

  • หรือ Tesla บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าที่พึ่งก่อตั้งมา 18 ปี จะมีมูลค่าแซงหน้า Toyota ที่ก่อตั้งมา 84 ปีและทำรถยนต์ครบวงจร

 

เราควรระลึกถึง Black Swan อยู่เสมอ ใช้มันเป็นตัวคอย “เตือนสติ” ให้ตั้งรับภัยจากด้านลบของมัน: บริหารธุรกิจอย่างรอบคอบ / ทุกอย่างควรต้องมี Plan B / มองโลกในแง่ร้ายไว้บ้าง / เป็นหนี้ให้น้อย / ลงทุนแบบ Conservative ไม่เกินตัว

ขณะเดียวกัน ก็เตรียมพร้อมฉวยโอกาสจากด้านบวกที่จะเกิดขึ้น..

 

ซึ่งด้านบวกแรก เริ่มง่ายๆ จากการเข้าไปทำ “แบบประเมินอาชีพฟรี” จาก CareerVisa… ไม่แน่นะ คุณอาจค้นพบอาชีพที่ใช่ เป็น Black Swan หงส์ดำท่ามกลางหงส์ขาว ในภาวะวิกฤติแบบนี้ก็ได้!! >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

 

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...
การประเมินผลการทำงาน
เตรียมตัวให้พร้อม : เคล็ดลับรับมือการประเมินผลการทำงานช่วงสิ้นปีอย่างมืออาชีพ
การประเมินผลการทำงาน คืออะไร?การประเมินผลการทำงาน คือกระบวนการประเมินผลงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเกณฑ์ตรงกลางที่บริษัทตั้งไว้ และพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้างานหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในการทำงาน...