สัมภาษณ์พนักงานให้อยู่กับองค์กรไปนานๆ ด้วย Stay Interview

พวกเราส่วนใหญ่เจอมากับตัวว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เกิดภาวะ The Great Resignation การลาออกครั้งใหญ่ของคนทำงาน ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสเกลใหญ่ทั่วโลก

ทีนี้ เวลาคนลาออก มักมีการทำ Exit Interview หรือการสัมภาษณ์หาเหตุผลว่าทำไมถึงลาออก? แต่เมื่อคนลาออกชนิดมโหฬาร ต้องสัมภาษณ์กันแทบทุกอาทิตย์ จึงเริ่มเกิดความคิดว่า แล้วเราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อป้องกันไม่ให้คนลาออก จะมีการสัมภาษณ์แบบไหนได้บ้างเพื่อค้นหาต้นตอสาเหตุ จะได้ช่วยกันหาค้นหาทางออกแต่เนิ่นๆ ไม่ให้พนักงานยื่นใบลาออกกัน 

 

ผลลัพธ์จึงออกมาเป็นสิ่งที่เรียกว่า Stay Interview การสัมภาษณ์เพื่อรักษาพนักงานให้อยู่กับเราไปนานๆ

 

Stay Interview สัมภาษณ์สู่ความสำเร็จ

 

Stay Interview เป็นเครื่องมือฉุดรั้งพนักงานให้อยู่กับเราไปนานๆ เมื่อองค์กรเจอเข้ากับปัญหาที่เริ่มก่อตัวขึ้นแล้ว แต่ยังมีสเกลเล็กอยู่ ยังไม่ได้สร้างความเดือดร้อนวงกว้างนัก…จะเริ่มทำ Stay Interview เพื่อป้องกันปัญหา “แต่เนิ่นๆ” ไม่ให้บานปลาย 

 

ระหว่างขั้นตอนการทำ Stay Interview จะเกิดการทบทวนตัวอีกครั้ง (Re-evaluation) ทั้งฝั่งนายจ้างและลูกจ้าง หรือหัวหน้าและลูกน้อง ผลวิจัยเผยว่า ยิ่งทำ Stay Interview ถี่และรอบคอบมากเท่าไร อัตราเกิด Exit Interview ยิ่งน้อยลงมากเท่านั้น

 

Stay Interview ไม่ใช่การไต่สวนพนักงานเสมือนว่าเค้าทำความผิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่เป็นการร่วมค้นหาต้นตอสาเหตุของปัญหาต่างหาก ตัวอย่างคำถาม Stay Interview เช่น

 

  • ถ้าคุณมีอำนาจตัดสินใจที่สามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานของที่นี่ได้ คุณจะทำอะไรบ้าง?
  • ถ้าจะต้องตัดสินใจลาออกเพื่อย้ายไปทำที่อื่น คุณจะออกด้วยเหตุผลหลักอะไรบ้าง?
  • คุณรู้สึกกับตัวเองยังไงเมื่อมาทำงานในแต่ละวัน?
  • ยกตัวอย่างให้ฟังซักเรื่องหน่อย ถึงปัญหาที่เจอระหว่างการทำงานที่นี่?
  • คุณชอบและไม่ชอบทำงานกับใครมากที่สุด? เพราะอะไร?

 

อีกมุมที่ต้องไม่มองข้ามคือ Stay Interview ไม่ได้สัมภาษณ์กับพนักงานที่มีแนวโน้มจะลาออกเท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับกลุ่ม Talents เก่งๆ ที่ทำกับองค์กรไม่นาน มีโอกาสถูกซื้อตัวสูง…แต่ก็ยังไม่ไปไหน ยังภักดีทำงานกับองค์กรต่อไป 

 

Talents กลุ่มนี้ก็เหมาะกับทำ Stay Interview มากๆ เพราะแสดงว่าองค์กรต้องมีข้อดีบางอย่างทีสตรองจริงๆ จนเค้าไม่ไปไหน 

 

สำหรับกลุ่มหลัง ลักษณะคำถามจะแตกต่างออกไป เช่น

  • อะไรคือเหตุผลที่ทำให้คุณไม่ย้ายไปที่อื่น? แต่ยังอยู่ที่นี่มาตั้งหลายปี?
  • ปัจจัยไหนบ้างที่เป็น Incentive แรงจูงใจในการทำงานของคุณที่นี่?
  • มีเรื่องอะไรบ้างที่ทำให้คุณดูมีความสุขกับการทำงานในทุกๆ วัน แม้จะรายล้อมด้วยปัญหาต่างๆ?

Stay Interview ต่างยังไงกับ Coaching?

 

ดูเผินๆ สองอย่างนี้ดูคล้ายกัน แต่ความจริงแล้วต่างกันพอสมควร เพราะ Coaching จะไม่มีคำตอบให้ นักโค้ชจะเป็นฝ่ายถาม ส่วนคนถูกถามจะตระหนักค้นพบคำตอบด้วยตัวเอง

 

ในขณะที่ Stay Interview จะเป็นการเดินทางหาคำตอบร่วมกัน มีข้อสรุปที่ปลายทาง ต้องตกลงเห็นตรงกันเมื่อจบบทสนทนา

 

ควรทำ Stay Interview เมื่อไร?

 

ถ้าเรามี Entry & Exit Interview สัมภาษณ์ตอนเริ่มต้นต้อนรับคนเข้า และ สัมภาษณ์ตอนจบสั่งลา Stay Interview จะอยู่ตรงกลางเป็น “กลางเหตุ” ระหว่างต้นเหตุและปลายเหตุ 

 

ที่ต้องสังเกตให้ดีคือ อย่าให้รอปัญหาเรื้อรัง แต่ควร “คุยแต่เนิ่นๆ” สัญญาณเตือนที่สพอสังเกตได้คือ เวลาบริษัทเจอวิกฤติหรือมีโปรเจคท์เข้าท่วมท้นจนพนักงานเครียดและเหนื่อยล้า

 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่มีความถี่ที่ตายตัวสำหรับการทำ Stay Interview เพราะขึ้นอยู่กับ Talents แต่ละคน และสถานการณ์บริษัทแต่ละแห่งที่ไม่เหมือนกัน

 

แต่โดยทั่วไป ควรทำ Stay Interview อย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อปี และกรณีเป็นบริษัทที่กำลังเจอวิกฤติหรือมีปัญหา Turnover สูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อาจถึงขั้นต้องทำทุกๆ 1-2 เดือนเลยทีเดียว

 

สิ่งที่ต้องตามมาทุกครั้งหลังจบ Stay Interview คือต้องรีบตามมาด้วย ”Stay Action” นำสิ่งที่ได้สัมภาษณ์พูดคุยมาลงมือปฏิบัติแก้ไขทันทีเพื่อรักษาพนักงานให้อยู่กับเราไปนานๆ 

 

เพราะถ้ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น พนักงานจะรู้สึกว่าอุตส่าห์ระบายความในใจออกไปหมดแล้วแท้ๆ แต่กลับไม่ช่วยอะไรเลย กรณีนี้อาจยิ่งซ้ำร้าย ยิ่งเร่งให้พนักงานลาออกเร็วขึ้นไปอีก

 

อย่างที่หัวหน้างานรู้กันดีว่า การหาพนักงานใหม่ต้องใช้ Cost & Effort มหาศาลกว่าการรักษาพนักงานเก่าเอามากๆ Stay Interview จึงเป็นกลไกที่ช่วยลดต้นทุนองค์กรไปในตัว 

 

นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าใจ Employee Experience ประสบการณ์ของพนักงานซึ่งเป็นต้นน้ำที่จะส่งมอบสินค้าบริการและความสุขแก่ปลายน้ำอย่างลูกค้าด้วยนะ!

 

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 66