สัมภาษณ์พนักงานให้อยู่กับองค์กรไปนานๆ ด้วย Stay Interview

พวกเราส่วนใหญ่เจอมากับตัวว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เกิดภาวะ The Great Resignation การลาออกครั้งใหญ่ของคนทำงาน ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสเกลใหญ่ทั่วโลก

ทีนี้ เวลาคนลาออก มักมีการทำ Exit Interview หรือการสัมภาษณ์หาเหตุผลว่าทำไมถึงลาออก? แต่เมื่อคนลาออกชนิดมโหฬาร ต้องสัมภาษณ์กันแทบทุกอาทิตย์ จึงเริ่มเกิดความคิดว่า แล้วเราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อป้องกันไม่ให้คนลาออก จะมีการสัมภาษณ์แบบไหนได้บ้างเพื่อค้นหาต้นตอสาเหตุ จะได้ช่วยกันหาค้นหาทางออกแต่เนิ่นๆ ไม่ให้พนักงานยื่นใบลาออกกัน 

 

ผลลัพธ์จึงออกมาเป็นสิ่งที่เรียกว่า Stay Interview การสัมภาษณ์เพื่อรักษาพนักงานให้อยู่กับเราไปนานๆ

 

Stay Interview สัมภาษณ์สู่ความสำเร็จ

 

Stay Interview เป็นเครื่องมือฉุดรั้งพนักงานให้อยู่กับเราไปนานๆ เมื่อองค์กรเจอเข้ากับปัญหาที่เริ่มก่อตัวขึ้นแล้ว แต่ยังมีสเกลเล็กอยู่ ยังไม่ได้สร้างความเดือดร้อนวงกว้างนัก…จะเริ่มทำ Stay Interview เพื่อป้องกันปัญหา “แต่เนิ่นๆ” ไม่ให้บานปลาย 

 

ระหว่างขั้นตอนการทำ Stay Interview จะเกิดการทบทวนตัวอีกครั้ง (Re-evaluation) ทั้งฝั่งนายจ้างและลูกจ้าง หรือหัวหน้าและลูกน้อง ผลวิจัยเผยว่า ยิ่งทำ Stay Interview ถี่และรอบคอบมากเท่าไร อัตราเกิด Exit Interview ยิ่งน้อยลงมากเท่านั้น

 

Stay Interview ไม่ใช่การไต่สวนพนักงานเสมือนว่าเค้าทำความผิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่เป็นการร่วมค้นหาต้นตอสาเหตุของปัญหาต่างหาก ตัวอย่างคำถาม Stay Interview เช่น

 

  • ถ้าคุณมีอำนาจตัดสินใจที่สามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานของที่นี่ได้ คุณจะทำอะไรบ้าง?
  • ถ้าจะต้องตัดสินใจลาออกเพื่อย้ายไปทำที่อื่น คุณจะออกด้วยเหตุผลหลักอะไรบ้าง?
  • คุณรู้สึกกับตัวเองยังไงเมื่อมาทำงานในแต่ละวัน?
  • ยกตัวอย่างให้ฟังซักเรื่องหน่อย ถึงปัญหาที่เจอระหว่างการทำงานที่นี่?
  • คุณชอบและไม่ชอบทำงานกับใครมากที่สุด? เพราะอะไร?

 

อีกมุมที่ต้องไม่มองข้ามคือ Stay Interview ไม่ได้สัมภาษณ์กับพนักงานที่มีแนวโน้มจะลาออกเท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับกลุ่ม Talents เก่งๆ ที่ทำกับองค์กรไม่นาน มีโอกาสถูกซื้อตัวสูง…แต่ก็ยังไม่ไปไหน ยังภักดีทำงานกับองค์กรต่อไป 

 

Talents กลุ่มนี้ก็เหมาะกับทำ Stay Interview มากๆ เพราะแสดงว่าองค์กรต้องมีข้อดีบางอย่างทีสตรองจริงๆ จนเค้าไม่ไปไหน 

 

สำหรับกลุ่มหลัง ลักษณะคำถามจะแตกต่างออกไป เช่น

  • อะไรคือเหตุผลที่ทำให้คุณไม่ย้ายไปที่อื่น? แต่ยังอยู่ที่นี่มาตั้งหลายปี?
  • ปัจจัยไหนบ้างที่เป็น Incentive แรงจูงใจในการทำงานของคุณที่นี่?
  • มีเรื่องอะไรบ้างที่ทำให้คุณดูมีความสุขกับการทำงานในทุกๆ วัน แม้จะรายล้อมด้วยปัญหาต่างๆ?

Stay Interview ต่างยังไงกับ Coaching?

 

ดูเผินๆ สองอย่างนี้ดูคล้ายกัน แต่ความจริงแล้วต่างกันพอสมควร เพราะ Coaching จะไม่มีคำตอบให้ นักโค้ชจะเป็นฝ่ายถาม ส่วนคนถูกถามจะตระหนักค้นพบคำตอบด้วยตัวเอง

 

ในขณะที่ Stay Interview จะเป็นการเดินทางหาคำตอบร่วมกัน มีข้อสรุปที่ปลายทาง ต้องตกลงเห็นตรงกันเมื่อจบบทสนทนา

 

ควรทำ Stay Interview เมื่อไร?

 

ถ้าเรามี Entry & Exit Interview สัมภาษณ์ตอนเริ่มต้นต้อนรับคนเข้า และ สัมภาษณ์ตอนจบสั่งลา Stay Interview จะอยู่ตรงกลางเป็น “กลางเหตุ” ระหว่างต้นเหตุและปลายเหตุ 

 

ที่ต้องสังเกตให้ดีคือ อย่าให้รอปัญหาเรื้อรัง แต่ควร “คุยแต่เนิ่นๆ” สัญญาณเตือนที่สพอสังเกตได้คือ เวลาบริษัทเจอวิกฤติหรือมีโปรเจคท์เข้าท่วมท้นจนพนักงานเครียดและเหนื่อยล้า

 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่มีความถี่ที่ตายตัวสำหรับการทำ Stay Interview เพราะขึ้นอยู่กับ Talents แต่ละคน และสถานการณ์บริษัทแต่ละแห่งที่ไม่เหมือนกัน

 

แต่โดยทั่วไป ควรทำ Stay Interview อย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อปี และกรณีเป็นบริษัทที่กำลังเจอวิกฤติหรือมีปัญหา Turnover สูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อาจถึงขั้นต้องทำทุกๆ 1-2 เดือนเลยทีเดียว

 

สิ่งที่ต้องตามมาทุกครั้งหลังจบ Stay Interview คือต้องรีบตามมาด้วย ”Stay Action” นำสิ่งที่ได้สัมภาษณ์พูดคุยมาลงมือปฏิบัติแก้ไขทันทีเพื่อรักษาพนักงานให้อยู่กับเราไปนานๆ 

 

เพราะถ้ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น พนักงานจะรู้สึกว่าอุตส่าห์ระบายความในใจออกไปหมดแล้วแท้ๆ แต่กลับไม่ช่วยอะไรเลย กรณีนี้อาจยิ่งซ้ำร้าย ยิ่งเร่งให้พนักงานลาออกเร็วขึ้นไปอีก

 

อย่างที่หัวหน้างานรู้กันดีว่า การหาพนักงานใหม่ต้องใช้ Cost & Effort มหาศาลกว่าการรักษาพนักงานเก่าเอามากๆ Stay Interview จึงเป็นกลไกที่ช่วยลดต้นทุนองค์กรไปในตัว 

 

นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าใจ Employee Experience ประสบการณ์ของพนักงานซึ่งเป็นต้นน้ำที่จะส่งมอบสินค้าบริการและความสุขแก่ปลายน้ำอย่างลูกค้าด้วยนะ!

 

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...
การประเมินผลการทำงาน
เตรียมตัวให้พร้อม : เคล็ดลับรับมือการประเมินผลการทำงานช่วงสิ้นปีอย่างมืออาชีพ
การประเมินผลการทำงาน คืออะไร?การประเมินผลการทำงาน คือกระบวนการประเมินผลงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเกณฑ์ตรงกลางที่บริษัทตั้งไว้ และพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้างานหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในการทำงาน...