Sleep Hygiene “นอน” อย่างไรให้ “งาน” ออกมาดี!

นอน
ผู้บริหารทั่วไปมักคิดว่าการ "นอน" เป็นเพียงแค่การ ‘ชาร์จพลัง’ ไม่ต้องใช้เวลากับมันให้มาก เอาเวลาไปทำงานแก้ปัญหาดีกว่า น่าเสียดาย เพราะการนอนเป็นมากกว่านั้น

1 วัน มี 24 ชั่วโมง ผู้บริหารทั่วไปมักนอนให้น้อยที่สุดและทำงานให้มากที่สุด เพราะคิดว่า ยิ่งมีเวลาทำงานมาก ยิ่งมีประสิทธิภาพ…แต่ความจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น หารู้ไม่ว่า! การทำงานยิงยาว 20 ชั่วโมง ได้คุณภาพงาน “น้อยกว่า” การทำงานแค่ 8 ชั่วโมง…ในวันที่ได้นอนเต็มอิ่มครบ 8 ชั่วโมงเสียอีก!

ผลการวิจัยใน 4 ยักษ์ใหญ่บริษัทสัญชาติอเมริกันพบว่า การนอนไม่เพียงพอส่งผลให้พนักงานของตนเกิด Lost Productivity สูงถึงคนละ $3,500/ปี (ซึ่งยังไม่รวมตัวแปรอื่นอย่างความสุขในการทำงาน) หากมองในสเกลใหญ่ขึ้น RAND Corporation สถาบันด้านการวิจัยชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา เปิดเผยรายงานอันน่าตกใจว่า การนอนหลับไม่เพียงพอ สร้างความเสียหายมหาศาลแก่เศรษฐกิจทั้งประเทศโดยรวม

อเมริกา 411,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

ญี่ปุ่น 138,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

เยอรมนี 60,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

อังกฤษ 40,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

ความเสียหายคิดเป็นถึง 2-3% ของ GDP ทั้งประเทศ

ทำไมจึงเป็นเช่นนี้?

อย่างดี…ผู้บริหารทั่วไปมักคิดว่า การนอนเป็นเพียงแค่การ ‘ชาร์จพลัง’ ไม่ต้องใช้เวลากับมันให้มากหรอก เอาเวลาไปทำงานแก้ปัญหาให้บริษัทดีกว่า น่าเสียดาย เพราะการนอนหลับอย่างมีคุณภาพต่างหาก ที่เป็นบ่อเกิดของความคิดสร้างสรรค์ที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาบริษัท  ที่เป็นเช่นนี้เพราะ การนอนมี 2 แบบ:

Non-rapid eye movement (NREM) และ Rapid eye movement (REM)

แต่ละแบบก็จะทำหน้าที่แตกต่างกันไป วนเป็นรอบๆ ละ 90 นาที อธิบายอย่างง่ายรวบรัด ถ้าให้เวลาตื่นนอน เป็นช่วง “รับข้อมูล” ข่าวสารจากโลกภายนอก NREM จะเป็นช่วง “เก็บ-จัดระเบียบข้อมูล” REM จะเป็นช่วง “เชื่อมโยงข้อมูล” หากเรานอนอย่างมีคุณภาพ สุดท้ายเส้นประสาทนับพันล้านเซลล์จะถูกเชื่อมโยงยึดเข้าหากันอย่างเหนียวแน่น…และนี่คือ “ช่วงเวลาทอง” ก่อนนอน สมองคุณอาจรู้แค่ว่า A=B และ B=C แต่เมื่อคุณนอน สมองจะแอดวานซ์ไปต่อเองว่า A=C ด้วย (ของจริงทุกอย่างจะซับซ้อนกว่านี้มาก)

กระบวนการนี้เอง ทำให้เกิดสิ่งที่เราเรียกว่า “พลังความคิดสร้างสรรค์” ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ กลยุทธ์การตลาดที่โดนใจลูกค้า เราจะรู้สึกว่าแทบไม่ได้ออกแรงเลยแต่กลับได้ ‘งาน’ มากกว่าเดิม โดยที่เหนื่อยน้อยกว่าเดิม และมีความสุขมากขึ้นกว่าเดิม

ดังเช่น แบบประเมินอาชีพจาก CareerVisa ผลผลิตจากการนอนอย่างมีคุณภาพที่อยู่เบื้องหลัง >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

มาถึงตรงนี้ อาจพูดได้ว่าการนอนไม่ใช่แค่การชาร์จพลังให้กลับมาเท่าเดิม แต่เป็นการ “อัพเกรดพลัง” ต่างหาก

นอนอย่างไร? ดังคำคลาสสิก เราควรนอนให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 ชม. และ…จำนวนชั่วโมง สำคัญไม่แพ้ เวลาเข้านอน โดย 4-5 ทุ่ม คือเวลานอนที่ดีที่สุดตามธรรมชาติร่างกายของมนุษย์ (บางคน 3 ทุ่มกว่า บางคน 5 ทุ่มกว่า…แล้วแต่ร่างกาย) ที่สำคัญ ฝึกเข้านอน-ตื่นนอน ให้เป็นเวลากิจวัตรประจำทุกวัน จะช่วยให้ร่างกายนอนหลับได้เร็วขึ้นเมื่อเข้านอน และ ตื่นมาสดใสสมองแล่นที่สุดเมื่อตื่นนอน เคล็ดลับที่ใช้เพิ่ม Productivity แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ก่อนนอน และ หลังตื่นนอน

โดยก่อนนอน ให้ “ระลึกถึงปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก” แต่ยังไม่ต้องไปขบคิดแก้ ณ ตอนนั้น และให้นอนหลับไปเลยโดนที่ยังแก้ไม่ตก ปล่อยให้เส้นประสาททำหน้าที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ตามที่กล่าวไปเอง หลังตื่นนอนให้นั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที เพื่อเข้าสู่ “Flow State” หรือ สภาวะที่จิตเราจดจ่อกับเรื่องหนึ่งอย่างมีสมาธิเต็มที่

จากนั้น ให้เลือกทำงานที่ “ใช้ความคิด” มากที่สุด ภายใน 3-4 ชม.แรก ช่วงเวลานี้เองที่สมองเราจะทำงานได้เต็มที่ที่สุดของวัน ความคิดสร้างสรรค์พรั่งพรู ตรรกะเชื่อมโยงเหตุผล ความทรงจำแม่นยำ เหล่าผู้บริหารที่รู้เคล็ดลับนี้ ถึงกับเผยว่า ทำงานช่วงเวลาทองสั้นๆ 3-4 ชม.แรกหลังตื่นนอน เทียบเท่าได้กับทำงานอื่นๆ ทั้งวัน!

การเคลื่อนไหวของบริษัทยักษ์ใหญ่

หลายบริษัทชั้นนำระดับโลกก็เริ่มให้ความสำคัญเรื่องนี้แล้ว  มีการว่าจ้างนักวิทยาศาสตร์สมองที่เชี่ยวชาญด้านการนอน มาร่วมออกแบบนโยบายการพัฒนาองค์กร P&G และ Goldman Sachs เปิดคอร์ส “Sleep Hygiene” แก่พนักงานของตัวเองฟรี พร้อมติดตั้งไฟส่องสว่างแบบไฮเทคในอาคารสำนักงาน ที่ช่วยการหลั่งเมลาโทนินในร่างกาย Nike และ Google ปรับตารางเวลาการทำงานพนักงานให้ยืดหยุ่นมากขึ้น พร้อมสร้าง “ห้องนอน” ที่มืดสนิทแก่คนที่ต้องการพักผ่อน องค์ความรู้ด้านการนอนเพื่อพัฒนาองค์กร น่าจะเข้าสู่กระแสหลักในอนาคตอันใกล้ข้างหน้า…

การนอนรูปแบบอื่น?

เรามักได้ยินคำกล่าวว่า ผู้เป็นเลิศในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ต้องผ่านการฝึกฝนเรื่องนั้นๆ เป็นเวลา 10,000 ชม. แต่เบื้องหลังการฝึกฝนนั้นจะประกอบไปด้วย 

  • งีบพักผ่อน 12,500 ชม. (Rest)
  • นอนหลับ 30,000 ชม. (Sleep)

…การนอนหลับพักผ่อน กินเวลามากกว่าการฝึกฝนเป็นเท่าตัว และเราจะเห็นว่ามีคำใหม่เกิดขึ้น คือ งีบพักผ่อน (Rest) มีทั้ง Rest และ Sleep? ที่เป็นเช่นนี้เพราะร่างกายมนุษย์ถูกออกแบบมาให้นอนแบบ “Biphasic Sleep”

Bi = สอง

Phasic = มาจาก Phase ที่แปลว่า ช่วงเวลา

Sleep = นอน

…Biphasic Sleep จึงหมายถึง การนอน 2 ช่วงเวลา นั่นคือ “งีบกลางวัน-นอนกลางคืน” (เป็นเบื้องหลังของระบบการศึกษาในเด็กอนุบาล ที่จะให้น้องๆ งีบหลับตอนกลางวันนั่นเอง) มาถึงตรงนี้หลายคนน่าจะสงสัย…แล้วตอนไหนคือเวลาที่ควร Rest งีบพักที่ดีที่สุด? หลายคนอาจคิดว่า คือตอนที่คุณ ‘ไปต่อ’ ไม่ไหวแล้ว นั่งทำงานไปก็ไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมา คำตอบคือไม่ใช่ เพราะนั่นคือเวลาที่คุณควร Sleep ไปนอนหลับเต็มอิ่มต่างหาก

แต่เวลาที่ควรงีบพักที่สุด คือ “เวลาที่คุณยังไม่รู้สึกว่าต้องการพัก” เทคนิคคือ ทุกๆ 30-60 นาที ให้ shut down ปิดตัวเองประมาณ 3-5 นาที โดยการฟุบงีบบนโต๊ะ หรือนอนบนโซฟา(กรณีอยู่บ้าน)

ขอให้ 3-5 นาทีนี้…เป็นการงีบพักแบบจริงจังที่สุด! หลับตา งดเคลื่อนไหว หยุดคิดเรื่องงานใดๆ ทั้งสิ้น ในระยะยาว วิธีการ Rest แบบนี้ จะทำให้ร่างกายและสมองเรา มีความฟิตแอนเฟิร์มมากกว่าการโหมทำงานยิงยาว ซึ่งปรากฏการณ์นี้ เคยเกิดขึ้นกับบุคคลระดับโลกในหลายวงการมาแล้วทั้งสิ้น เช่น

Thomas Edison เคยเผยเคล็ดลับความอัจฉริยะของตนเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้วว่า ขณะทำงาน เขามักจะ Rest งีบพักบนเก้าอี้ยามบ่ายโดยในมือยังคงถือดินสอ เมื่อเริ่มฝัน กล้ามเนื้อจะผ่อนคลายจนในที่สุดทำปากกาตก เมื่อนั้นเอง เขาจะสะดุ้งตื่นขึ้นมาจดแสนยานุภาพความคิดสร้างสรรค์ที่พรั่งพรูออกมา สิ่งที่เขาจดนั้น ต่อมาก็คือนวัตกรรมเปลี่ยนโลกที่พวกเราสัมผัสกันนั่นเอง ไม่แน่นะ คุณเองก็อาจสร้างนวัตกรรมเปลี่ยนใหม่ ที่มีที่มาจากการ…นอน


ทำ “แบบประเมินอาชีพฟรี” จาก CareerVisa ได้ที่ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

CEO of the year
อยากสำเร็จ อย่ารอคำว่าพร้อม ถอดบทเรียนจาก Lisa Su ถึงคนทำงาน เจ้าของรางวัล CEO of the year 2024 จากนิตยสาร Times
Lisa Su หรือเจ้าแม่แห่ง AMD ได้มีโอกาสให้สัมภาษณ์ ในรายการ View From The Top with Lisa Su: Chair and CEO of AMD โดย Stanford Graduate School of Business...
The One-Page Financial Plan
วิธีสรุปการเงินของคุณ ไว้ในแผ่นเดียว แค่ทำตามขั้นตอนนี้ จากหนังสือ The One-Page Financial Plan
สำหรับใครที่อยากจัดการ การเงินของตัวเองให้เป็นระเบียบกว่าเดิม วันนี้ CareerVisa อยากมาแนะนำการทำสรุปการเงินไว้ให้ครบ จบในแผ่นเดียว จากหนังสือ The One-Page...
สวัสดิการสำคัญ
เช็กลิสต์ 10 สวัสดิการสำคัญ ถามไว้ก่อนไปสมัครงาน
“สวัสดิการสำคัญ” ไม่แพ้เงินเดือน! หลายคนอาจโฟกัสที่ตัวเลขเงินเดือนเป็นหลัก แต่แท้จริงแล้ว สวัสดิการที่ดีสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้อย่างมาก...