จุดอ่อนของผู้นำ ผู้นำที่ดีไม่ใช่คนที่แข็งแกร่งที่สุด แต่คือคนที่ซื่อสัตย์กับจุดอ่อนของตัวเอง คิดมุมต่างอย่าง Simon Sinek

เคยรู้สึกว่าตัวเราเก่งไม่พอบ้างมั๊ย? ทำงานมาแค่ไหนก็ยังไม่รู้สึกว่าตัวเองเก่งสักที ทำงานมาสัก 2-3 ปี เวลามีน้องๆ ในทีมมาถาม แต่ก็ยังมีหลายเรื่องที่เราให้คำตอบไม่ได้ หลายๆ ครั้งการทำงานของเรา เราเจ็บปวดกับความไม่รู้ อยากจะทำได้แต่ก็ทำไม่ได้ และใช้ความรู้สึกนี้เป็นเรื่องบั่นทอนจิตใจของตัวเอง แต่จริงๆ แล้วความรู้สึกแบบนี้เป็นความรู้สึกที่แย่จริงๆ หรือเปล่า

Simon Sinek ผู้เขียนหนังสือ Start with why เคยกล่าวไว้ว่า

“ผู้นำที่ดีไม่ใช่คนที่แข็งแกร่งที่สุด แต่คือคนที่ซื่อสัตย์กับจุดอ่อนของตัวเอง
ผู้นำที่ดีไม่ใช่คนที่ฉลาดที่สุด แต่คือคนที่รู้ว่าตัวเองยังไม่รู้อีกมากแค่ไหน
ผู้นำที่ดีไม่ใช่คนที่ทำได้ทุกอย่างแต่คือคนที่รู้ว่าใครจะช่วยเขาได้
คนที่เป็นผู้นำที่ดีไม่ได้มองว่าตัวเองเก่งกว่าคนอื่น แต่มองตัวเองเป็นมนุษย์ธรรมดาๆ คนหนึ่ง”

จะเห็นว่าความรู้สึกอ่อนแอนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด แต่มันคือความรู้สึกที่คนที่เป็นผู้นำที่ดีได้จะเข้าใจและยอมรับมันมากกว่าต่อต้าน

ถ้าเรายอมรับว่าเรายังเป็นคนที่ Manage เวลาได้ไม่ดีพอ
ถ้าเรายอมรับว่าเราพูด Presentation ไม่เก่ง
ถ้าเรายอมรับได้ว่าเรายังมีความรู้เรื่องการตลาดไม่เพียงพอ

การยอมรับตัวเองอย่างซื่อสัตย์นี่แหละ คือจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้นำที่ดี

บางทีการที่เราจะทำงานอย่างมีความสุขมากขึ้นได้ อาจไม่ใช่การที่เราต้องเก่งทุกอย่างในทุกด้าน แต่เพียงแค่เข้าใจว่าความเป็นมนุษย์มากขึ้น ว่าทุกคนก็มีมุมที่อ่อนแอ นั่นก็เพียงพอที่จะทำให้เราทำงานต่อไปอย่างมีความสุขมากขึ้นได้แล้วเช่นกัน

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง