Servant Leadership – ผู้นำที่สร้าง “ผู้นำ” คนอื่นให้ฉายแสงกว่า

Servant Leadership
ปกติแล้ว เรามักเคยชินกับนิยามของ “ผู้นำ” ที่ดีว่าต้องสามารถสร้าง “ผู้ตาม” ได้เยอะ ผู้นำต้องเป็นคนมีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล มีทักษะบริหารดีเยี่ยม และต้องมีเสน่ห์บางอย่างที่ชวนให้ผู้คนได้เดินตามรอย แต่ในศาสตร์ภาวะความเป็นผู้นำ ยังมีหลาย Leadership Style เอามากๆ ทั้งผู้นำแบบเผด็จกาจที่ชี้นิ้วสั่งให้เดินตามทุกกระเบียดนิ้ว หรือผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนตกผลึกทางความคิดด้วยตัวเอง แต่ทั้งหมดนี้ มีอยู่สไตล์หนึ่งที่เรียกว่า Servant Leadership “ผู้นำที่รับใช้คนอื่น” ซึ่งถูกยกขึ้นหิ้งให้เป็นภาวะผู้นำบนยอดสุดของพีรามิด ที่แม้แต่คนระดับหัวหน้าผู้นำด้วยกันเองยังให้การยอมรับนับถือ!

Servant Leadership คืออะไรกันแน่?

 

ถ้าให้สรุปแบบสั้นๆ Servant Leadership คือผู้นำที่ “สร้างผู้นำ” คนอื่นขึ้นมาอีกที ไม่ยึดติดกับตำแหน่งว่าตัวเองต้องเป็นเบอร์ 1 ไปตลอดกาล ถ้าสมาชิกทีมคนอื่นมีศักยภาพพร้อมโชว์ของ เค้าก็พร้อมเปิดพื้นที่ให้ได้เฉิดฉาย และมีความใจกว้างถึงขั้นให้เฉิดฉายชนิดมาแทนที่ตัวผู้นำคนนั้นเองได้!

 

ผู้นำประเภทนี้จะทำหน้าที่คอยเสิร์ฟให้บริการ (Servant) สมาชิกทีมคนอื่นๆ พร้อมปั้นลูกทีมที่มีพรสวรรค์มีศักยภาพต่อยอดได้ไกล ปูทางลัดไปสู่ความสำเร็จโดยไม่ต้องผิดพลาดก่อน อำนวยความสะดวกไปสู่จุดหมายได้อย่างราบรื่นขึ้น 

 

เข้าใกล้ความเป็น Servant Leadership อีกนิด?

 

คำถามที่น่าสนใจคือ แล้วเราต้องทำตัวยังไงบ้างถึงสามารถเป็น…หรือเข้าใกล้สถานะ Servant Leadership ได้มากขึ้น?

 

อันดับแรก ต้องเปิดให้มี Bottom-Up Empowerment ให้อิสระอำนาจลูกน้องในทีมได้มีส่วนตัดสินใจเรื่องใหญ่ๆ โดยที่หัวหน้ายังคงดูแลอยู่ห่างๆ และแน่นอน คอยรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น ต้องไม่ปล่อยทอดทิ้งให้ลูกทีมโดดเดี่ยว

 

อีกคาแรคเตอร์ที่ Servant Leader ต้องมีชนิดเป้นอุปนิสัยประจำตัวเลยคือ Empathy & Deep listening เพราะลูกทีมจะโชว์ศักยภาพไปได้ไกล หัวหน้าอย่างเราต้องพยายามเข้าอกเข้าใจความรู้สึกและคอยรับฟังความต้องการอย่างเปิดใจ 

 

ผลวิจัยจาก Salesforce เผยว่า พนักงานที่รู้สึกว่าไอเดียความคิดเห็นของตัวเองได้รับการฟังอย่างใส่ใจจากหัวหน้า จะมีแนวโน้มมากกว่าเดิมถึง 4.6 เท่าที่จะทำงานอย่างเต็มที่ชนิดทุ่มหมดหน้าตัก

 

อีกเรื่องที่ขาดไม่ได้คือ Accountability แม้หัวหน้าจะเปิดพื้นที่ให้ลูกน้องได้แสดงออก แต่หัวหน้ายังคงต้องแสดงความรับผิดชอบเต็มที่อยู่ การทำแบบนี้ลูกน้องจะรู้สึกปลอดภัยและไม่กังวลจนเกินไปเวลาต้องแสดงศักยภาพบนเวทีใหญ่ ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า แม้ลูกน้องจะเก่ง แต่ทุกคนต้องผ่านขั้นตอนการลองผิดลองถูก ซึ่งอาจเกิดความผิดพลาดขึ้นเป็นธรรมดาอยู่แล้ว

 

ตัวอย่าง Servant Leadership ในชีวิตจริง

 

“ทิม พิธา” หัวหน้าพรรคก้าวไกล คือตัวอย่างของผู้นำแบบ Servant Leadership ที่ชัดเจนที่สุดในยุคนี้ก็ว่าได้ แม้จะมาจากบริบทการเมือง แต่เราสามารถ apply มาใช้ในการทำงานในองค์กรได้โดยตรง

 

เมื่อถูกสื่อซักถามถึงสไตล์การบริหารพรรค คุณทิม พิธาเปิดเผยว่าเขาเป็นผู้นำแบบ Servant Leadership ที่ไม่ต้องการเป็นดาวฤกษ์เพียงดวงเดียว ถ้าสมาขิกพรรคคนไหนมีใครที่ฉายแสงกว่า เก่งโดดเด่นกว่า เค้าก็พร้อมจะถอยหลังและให้คนๆ นั้นได้ออกมาพรีเซนท์ตัวเอง

 

ไม่แปลกเลยที่พวกเราจะมีโอกาสเห็นและจดจำสมาขิกพรรคก้าวไกลคนอื่นๆ ได้ฉายแสง อาทิเช่น

  • เท่าพิภพ – ผู้นำการผลักดันนโยบายสุราก้าวหน้า
  • วิโรจน์ ลักขณาอดิศร – ผู้นำที่กล้าท้าชน วิจารณ์แบบตรงไปตรงมา
  • รังสิมันต์ โรม – ผู้นำที่เปิดโปงตำรวจเทา และยึดมั่นในความยุติธรรม
  • ศิริกัญญา – ผู้นำด้านการคลัง ต้องการผลักดันไปสู่การเป็นรัฐสวัสดิการ
  • ธัญวัจน์ – ผู้นำด้านการสมรสเท่าเทียม ผู้เคารพสิทธิมนุษยชนอย่างถึงที่สุด
  • ไอติม พริษฐ์ – ผู้นำที่ต้องการปฏิรูปการศึกษาไทยให้เท่าทันโลกสมัยใหม่

 

และสมาชิกพรรคอีกหลายต่อหลายคนทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ที่มีพื้นที่ได้ฉายแสงและเริ่มโชว์ศักยภาพ เราจะเห็นว่าทุกคนมีพื้นที่ได้ฉายแสงโดยไม่ถูกควบคุมจากทิม พิธาเลย

 

ตัวอย่างอาชีพที่ต้องใช้ Servant Leadership  เยอะๆ?

 

แล้วอาชีพไหนที่มีโอกาสใช้ Servant Leadership มากเป็นพิเศษ? CEO บริษัททุกอุตสาหกรรมมีบทบาทที่ต้องใช้ Servant Leadership ในการบริหารองค์กรแบบภาคบังคับอยู่แล้ว โดยเฉพาะองค์กรยุคใหม่ที่เปิดพื้นที่ให้พนักงานได้โชว์ไอเดีย หรือต้องการนวัตกรรมใหม่ๆ มาคอยขับเคลื่อนองค์กรอยู่เสมอ

 

Project Manager เป็นอีกคนที่ต้องเรียนรู้ Servant Leadership อย่างที่รู้กัน…ตำแหน่งนี้ไม่ใช่คนที่เก่งทุกอย่าง ไม่ใช่คนที่เก่งที่สุด แต่มีทักษะบริหารระบบนิเวศโดยรวมเป็นเลิศ ซึ่งการบริหารที่ว่าอาจหมายถึง 

  • กระตุ้นทีมให้ทำงานเสร็จตรง Deadline 
  • รับสมัคร Talents ที่ตรงความต้องการของโปรเจคท์ 
  • รวบรวมทีมเจรจาเพื่อดีลผลประโยชน์ให้ลงตัวกับลูกค้า

 

Brand Manager เป็นอีกตำแหน่งที่ใช้เยอะกว่าที่คิด เพราะการสร้าง “แบรนด์” เป็นเรื่องที่มีองค์ประกอบหลายอย่างเยอะมากๆ ต้องอาศัย

  • ทีมกราฟิก – ออกแบบโลโก้และกำหนดสี
  • ทีมคอนเทนต์ – สื่อสารให้ตรงภาพลักษณ์แบรนด์
  • ทีมการตลาด – วางแผนแคมเปญที่ตรงกับกลยุทธ์แบรนด์

 

จะว่าไปแล้ว “นักการเมือง” (โดยเฉพาะหัวหน้าพรรค) ก็เป็นอีกอาชีพที่ใช้ Servant Leadership สูงมาก นอกจากดูแลสมาชิกทีมในพรรคแล้ว ยังต้องรับใช้ประชาชนโดยตรงอีก ดังเช่นที่ทิม พิธาได้พิสูจน์จนประสบความสำเร็จงดงามมาแล้ว

 

แม้จะเป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่หัวหน้าคนไหนอยากเป็นก็เป็นได้ แต่ Servant Leadership เป็นภาวะผู้นำขั้นสุดที่ถ้าใครทำได้ล่ะก็…จะติดจรวดให้องค์กรโตระเบิดในทุกๆ ด้านเลยทีเดียว!

 

อ้างอิง

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง