Self-Overestimation : คุณอาจไม่ได้เก่งอย่างที่คิด

Overestimation
Self-Overestimation คือการประเมินความสามารถหรือศักยภาพของตนเองสูงเกินจริง ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดหรือความล้มเหลวในการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ เพราะขาดการประเมินความเสี่ยงหรือข้อจำกัดของตนอย่างเหมาะสม
  • เราทำงานเก่ง ออกมาเปิดบริษัทเองก็น่าจะรุ่ง
  • ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม…เราเป็นครัวของโลก!!
  • “ผมมั่นใจว่าตัวเองขับรถดีกว่าคนอื่นทั่วไป”

เรามักตกเป็นเหยื่อของอาการ Self-Overestimation การคิดว่าตัวเองเก่ง(เกินจริง) เรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่เสมอ จนนำไปสู่ข้อสรุปที่บิดเบือนหรือการตัดสินใจที่ผิดพลาด!!

ทำไมเรามักคิดว่าตัวเองเก่งเกินจริง (Overestimation) ?

ตั้งแต่อดีตกาล มีกลไกหนึ่งที่ผลักดันมนุษย์ให้คิดว่าตัวเอง “ดีพอ” เพื่อออกไปลงมือทำอะไรบางอย่าง 

  • คิดว่าเก่งพอที่จะออกไปล่าสัตว์ได้
  • คิดว่าเก่งพอที่จะปกป้องคนอื่นได้
  • คิดว่าเก่งพอที่จะจีบสาวในหมู่บ้านได้

แต่ความบานปลายของกลไกนี้นำไปสู่ Self-Overestimation จนทำให้เรารู้สึก “ยกยอ” ตัวเองเกินจริง นักจิตวิทยาจาก Cornell University ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ให้เหตุผลว่า มนุษย์มักคิดว่าตัวเองเป็นคนฉลาดกว่าความจริง เมื่อเราคิดเช่นนั้นแล้ว ก็พลอยทำให้มองข้ามข้อบกพร่อง / ขีดจำกัด / อุปสรรคภายนอก…จนนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เรื่องธุรกิจการทำงาน แต่ครอบคลุมถึงชีวิตส่วนตัว / สุขภาพ / ความสัมพันธ์ ฯลฯ

เราอาจไม่ได้เก่งอย่างที่คิด

ผลสำรวจในหลายประเทศพบว่า ผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนใหญ่คิดว่าตัวเองมี “ทักษะการขับขี่” ดีกว่าค่าเฉลี่ยคนทั่วไป ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ท้องถนนคงจะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยมากแน่ๆ แต่สถิติกลับไม่เป็นเช่นนั้น

  • คนอเมริกันเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนถึงปีละ 37,000 คน
  • คนอังกฤษเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนถึงปีละ 27,000 คน
  • คนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนถึงปีละ 12,000 คน

Nokia คิดว่าตัวเองเก่งพอแล้ว เพราะเป็นเจ้าตลาดมือถือมานานกว่า 20-30 ปีในสมัยนั้นและไม่ได้ให้ความสำคัญกับ Smartphone แต่ภายหลังก็ถูกผลิตภัณฑ์ที่ปฏิวัติวงการของ Apple เขี่ยให้ตกชั้นกลายเป็นอดีต

Starbucks พิสูจน์ความสำเร็จไปทั่วโลก ไปเปิดที่ไหน ผู้บริโภคประเทศนั้นๆ ก็ให้การต้อนรับที่ดี…แต่ไม่ใช่กับ “ออสเตรเลีย” ตอน Starbucks ไปเปิดตลาดที่ออสเตรเลีย ก็นำโมเดลธุรกิจและมาตรฐานกาแฟที่ใช้กับที่อื่นทั่วโลก…ไปใช้ที่ออสเตรเลีย ก่อนจะพบว่าล้มเหลวไม่เป็นท่า!! เพราะประเทศนี้ผู้คนมี “วัฒนธรรมกาแฟ” ที่แข็งแกร่งมาก มี “มาตรฐาน” หลายอย่างสูงกว่า Starbucks เสียอีก ในปี 2008 Starbucks ได้ปิดสาขากว่า 70% ที่มีทั้งหมดในประเทศออสเตรเลีย จนเหลือแค่เพียง 23 สาขาเท่านั้น!! หรือด้านการศึกษา ย้อนกลับไปเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว ถ้าคุณเรียน “จบนอก” แล้วกลับมาทำงานเมืองไทย คุณแทบจะเป็น Privileged Class ในสังคมไทยทันที เพราะสมัยก่อนคนจบระดับนี้ได้ยังมีน้อยมาก

แต่ปัจจุบัน แต่ละปีมีคนเรียนจบนอกถึงกว่า 15,000 คน/ปี การจบนอกยุคนี้จึงไม่ได้มี “แต้มต่อ” สำคัญเท่ายุคก่อนอีกต่อไป นอกจากนี้มหาวิทยาลัยในไทย ยังเปิดหลักสูตรนานาชาติขึ้นมากมาย ซึ่งอาจมีคุณภาพดีไม่แพ้การจบนอกด้วยซ้ำ!! หรือแม้แต่ “ความเก่าแก่” ที่เราอาจหยิบยกมาเคลมความสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น 

  • Central คือห้างสรรพสินค้าที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี 1927 ปัจจุบันมีอายุกว่า 94 ปี

แต่อายุความเก่าแก่นี้อาจเทียบไม่ได้เลยกับห้างที่อังกฤษ

  • ห้าง Selfridge ก่อตั้งเมื่อปี 1908 ปัจจุบันมีอายุ 113 ปี
  • ห้าง Harrods ก่อตั้งเมื่อปี 1824 ปัจจุบันมีอายุ 197 ปี
  • ห้าง Fortnum & Mason ก่อตั้งเมื่อปี 1707 ปัจจุบันมีอายุ 314 ปี

หรือในเชิงภาพรวม “อุตสาหกรรม” เราอาจหลงระเริงกับความชำนาญในการทำ “เกษตรกรรม” ของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ยังมีประเทศอื่นๆ ที่แม้เกษตรกรรมจะไม่ใช่สัดส่วน GDP หลักของประเทศ แต่เกษตรกรรมในประเทศนั้นกลับมีประสิทธิภาพสูงกว่าไทยด้วยซ้ำ เช่น ประเทศที่มีพื้นที่ขนาดเล็กอย่างเนเธอร์แลนด์ พบว่า

  • เนเธอร์แลนด์มีเกษตรกร 100,000 คน ทำยอดส่งออกสินค้าเกษตรอยู่ที่ราว 3 ล้านล้านบาท
  • ไทยมีเกษตรกร 12,500,000 คน ทำยอดส่งออกสินค้าเกษตรอยู่ที่ราว 700,000 ล้านบาท

จะเห็นว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของเนเธอร์แลนด์ สูงกว่าไทยถึง 4 เท่ากว่าๆ นำไปสู่คำถามว่า เนเธอร์แลนด์อาจมีความเป็น “ครัวของโลก” มากกว่าไทยใช่หรือไม่?

วิธีป้องกันไม่ให้ “Overestimation” ?

ในทุกการวิเคราะห์ใดๆ ให้ลอง “เอาตัวเองออกมา” เลิกตื่นเต้น ไม่ด่วนตัดสิน แล้วมองภาพรวมตามความจริง นี่คือด่านแรกที่ไม่นำไปสู่ความประมาท หัด “ตั้งคำถาม” อยู่บ่อยๆ เพราะจะนำคุณไปสู่ประเด็นหรือมุมมองอื่นที่ให้ข้อมูลรอบด้านได้มากขึ้น เช่น ตั้งคำถามกับประวัติศาสตร์เก่าแก่ของห้างอังกฤษ จนอาจนำคุณไปพบกับกลยุทธ์การสืบทอดธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น / วิธีการรักษาลูกค้าเก่าและหาลูกค้าใหม่ / หรือความสวยงามของสถานที่ การตกแต่งภายในแบบฉบับอังกฤษที่สวยไร้กาลเวลา (Timeless Design)

อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยได้มากคือ การค้นหา “ตัวเลข” มาประกอบทุกการพิจารณา และเปรียบเทียบกับคู่แข่งรอบด้าน “ตัวเลขไม่เคยโกหกใคร” คำนี้ยังเป็นความจริงและใช้ได้ดีอยู่ ตัวเลขจะมาเปลี่ยนสิ่งที่เป็นนามธรรม 🡺 รูปธรรมมากขึ้น

ที่สำคัญ ตัวเราเองต้องละทิ้งอคติส่วนตัว และต้องศึกษา “เรียนรู้” (Lifetime Learning) อยู่ตลอดเวลาเพื่อตามโลก เทรนด์ใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ให้ทันนั่นเอง 

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ และมีความสุขกับงานในทุกๆวัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

CEO of the year
อยากสำเร็จ อย่ารอคำว่าพร้อม ถอดบทเรียนจาก Lisa Su ถึงคนทำงาน เจ้าของรางวัล CEO of the year 2024 จากนิตยสาร Times
Lisa Su หรือเจ้าแม่แห่ง AMD ได้มีโอกาสให้สัมภาษณ์ ในรายการ View From The Top with Lisa Su: Chair and CEO of AMD โดย Stanford Graduate School of Business...
The One-Page Financial Plan
วิธีสรุปการเงินของคุณ ไว้ในแผ่นเดียว แค่ทำตามขั้นตอนนี้ จากหนังสือ The One-Page Financial Plan
สำหรับใครที่อยากจัดการ การเงินของตัวเองให้เป็นระเบียบกว่าเดิม วันนี้ CareerVisa อยากมาแนะนำการทำสรุปการเงินไว้ให้ครบ จบในแผ่นเดียว จากหนังสือ The One-Page...
สวัสดิการสำคัญ
เช็กลิสต์ 10 สวัสดิการสำคัญ ถามไว้ก่อนไปสมัครงาน
“สวัสดิการสำคัญ” ไม่แพ้เงินเดือน! หลายคนอาจโฟกัสที่ตัวเลขเงินเดือนเป็นหลัก แต่แท้จริงแล้ว สวัสดิการที่ดีสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้อย่างมาก...