Read to Lead : “อ่านหนังสือ” อย่างไรให้เข้าสมอง

อ่านหนังสือ
จากผลสำรวจในหมู่คนที่ประสบความสำเร็จกว่า 1,200 คนทั่วโลกในหลายวงการ ยกความดีความชอบให้การ “อ่านหนังสือ” เป็นเบื้องหลังสู่ความสำเร็จของพวกเขา

จากผลสำรวจในหมู่คนที่ประสบความสำเร็จกว่า 1,200 คนทั่วโลกในหลายวงการ ยกความดีความชอบให้การ “อ่านหนังสือ” เป็นเบื้องหลังสู่ความสำเร็จของพวกเขา

แต่ถ้าคุณ อ่านเท่าไหร่ก็ไม่จำ เราคือเพื่อนกัน

คงจะดีไม่น้อยถ้าเรารู้เคล็ดลับการอ่าน…ว่าอ่านหนังสืออย่างไรให้เข้าสมอง ?

“อ่านหนังสือ” เพื่ออะไร ?

ไม่ต่างจากการทำโปรเจคท์ อย่างน้อยเราควรต้องรู้ภาพรวมว่าทำไปเพื่ออะไร? สิ่งที่ต้องการ ณ ปลายทางคืออะไร? 

แต่อย่าเข้าใจผิด นี่ไม่ใช่การ “ตีกรอบ” ความคิด เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าเนื้อหาหนังสือจะนำพาเราไปที่ไหน

แต่การระลึกไว้เสมอว่าอ่านหนังสือเล่มนี้ไปเพื่ออะไร จะทำให้เรามีโฟกัส วิเคราะห์ และตกผลึกการอ่านได้ดียิ่งขึ้น 

เมื่อเป้าหมายชัดเจนจะช่วยให้เรามีไหวพริบในการสกรีนหนังสือได้ดีขึ้น เช่น อ่านเพื่อนำเคล็ดลับไปเริ่มธุรกิจของตัวเอง แต่หนังสือกลับเล่าแต่ทฤษฎีจนรู้สึกว่า “ไม่ใช่” ไม่ตอบโจทย์ ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริงได้…ก็ควรทำใจยุติแล้วเอาเวลาไปอ่านหนังสืออื่นใช่มากกว่า

อ่านหนังสือที่คุณ “ไม่ได้สนใจ” (เป็นทุนเดิม)

นักประสาทวิทยาหลายคนลงความเห็นตรงกันแล้วว่า การจะทำให้สมองพัฒนาความฉลาดขึ้นได้ อย่าศึกษาเจาะลึกเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่พยายามเรียนรู้สิ่งต่างๆ ให้ “หลากหลาย” ยิ่งหลากหลายยิ่งดี 

เพราะเส้นประสาทจะเกิดการเชื่อมโยงอย่างเหนียวแน่นและก่อเกิดเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า “ความคิดสร้างสรรค์” จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า คนสำเร็จที่ชอบอ่านหนังสือ มักมีหนังสือที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงานของเค้าโดยตรงเต็มไปหมด

เรื่องนี้ Steve Jobs ก็เคยพูดไว้หลายครั้งว่ามันคือการ “Connecting the Dots” โดย Dots ในที่นี้คือข้อมูลความรู้ที่คุณมีเป็นทุนเดิม

ยิ่ง Dots มากเท่าไร (หลากหลาย) ยิ่งมีโอกาสสร้างสรรค์เป็นผลงานนวัตกรรมสุดครีเอทีฟได้มากเท่านั้น ยิ่งมีวัตถุดิบหลากหลายมากเท่าไร ยิ่งออกแบบเมนูอาหารได้มากเท่านั้น…อยากได้อะไรสั่งมาในครัวมีหมด!

ถ้าคุณอยากศึกษาความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย เป็นไปไม่ได้เลยที่แค่อ่านหนังสือเศรษฐศาสตร์แล้วจะเข้าใจได้ทั้งหมด แต่ต้องอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ / สังคม / ระบบการปกครอง…เมื่อเรารู้กว้างขวางขึ้น จะมองเห็นภาพรวมที่ต่างออกไป

จัดเวลา”อ่านหนังสือ”

ร่างกายและสมองคนเราจะจดจำกิจวัตรประจำวันที่เราคุ้นเคย

เช่น ร่างกายรู้ว่าคุณเป็นคนออกกำลังกายช่วงหัวค่ำเป็นประจำตอน 1 ทุ่ม ช่วงนี้ร่างกายจะปรับตัว “เตรียมพร้อม” (โดยที่เราไม่รู้ตัว) สำหรับการออกกำลังกายหนัก 

อะไรที่ทำเป็นประจำ จะเกิดแรงต้านน้อยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

อาจเริ่มได้ง่ายๆ เช่นกำหนดไปเลยว่า อ่านหนังสือหลังตื่นนอนเป็นเวลา 30 นาที เพราะหลังตื่นนอนสมองจะฟิต มีความคิดสร้างสรรค์ แถมไม่ได้ออกแรงแต่อย่างใด

การอ่านหนังสือเป็นกิจกรรมที่ใช้ “สมาธิ” สูงมาก อย่าใช้วิธี “ถ้าว่างเดี๋ยวค่อยอ่าน” (สุดท้ายมักไม่ได้อ่าน) แต่จงลงเวลาในปฏิทินของตัวเอง ให้ความสำคัญกับมันไม่ต่างจากเวลานัดหมายประชุมหรือออกกำลังกายประจำวัน

เตรียมสมุดโน้ตไว้ข้างตัว

เราอ่านเพื่อเอาไอเดีย เมื่อไอเดียผ่านเข้ามา ก็ต้องรีบจดโน้ตลงสมุดทิ้งไว้ นอกจากหนังสือแล้วจึงควรพกปากกาติดตัวเสมอ งานวิจัยจาก The Association for Psychological Science เผยว่า การจดด้วย “มือ” จะช่วยให้สมอง “จำ” ข้อมูลนั้นได้ดีกว่าการพิมพ์

แต่อันที่จริง ไม่จำเป็นต้องเป็นสมุด เราอาจจดโน้ตลงมือถือหรือเขียนลงบนหนังสือเลยก็ได้ ขอแค่เป็นอะไรก็ได้ที่คุณสะดวกในการ “บันทึกความคิด” เพราะบางครั้งไอเดียบรรเจิดจะ “แว่บ” เข้ามาในสมอง แต่มันมักอยู่แค่ชั่วคราวก่อนจะจากไปโดยไม่ทิ้งร่องรอย ถ้าจดไม่ทันก็อาจพลาดไอเดียดีๆ ไปเลย

นอกจากนี้ การจดยังเป็นการ “ทบทวน” เนื้อหาไปในตัว ไม่ว่าจะเป็นคำคม / ประโยคเด็ด / ชื่อบุคคลที่น่าสนใจ…เป็นการแปลงจาก Input เป็น Output ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยให้ “จำ” ใส่สมองได้ดียิ่งขึ้น!

บรรยากาศ

การอ่านหนังสือท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่สวยงามเป็นความรื่นรมย์-เป็นรสนิยมการใช้ชีวิตที่มีคลาสอย่างหนึ่ง 

ไม่ต่างจากนั่งทำงานในร้านกาแฟ การได้อ่านหนังสือในสถานที่บรรยากาศดีๆ วิวเปิดโล่ง กาแฟหอมๆ ซักแก้ว เสียงเพลงคลอเบาๆ มีความเงียบสงบกำลังดี…เรามักจะมีสมาธิมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การ “ปิ๊งไอเดีย” ในเรื่องต่างๆ ระหว่างที่อ่าน

หนังสือที่ใช่

หนังสือมีเป็นล้าน ต่อให้คุณใช้เวลาทั้งชีวิตก็ไม่มีวันอ่านครบ จะมีประสิทธิภาพกว่ามากถ้าเรารู้จัก “เลือก” หนังสือที่จะอ่าน

ซึ่งทำได้ง่ายๆ จากการดูรีวิวตามช่องทางต่างๆ หรือคำนิยมของบุคคลน่าเชื่อถือที่อยู่บนหนังสือ แต่ที่ทรงอิทธิพลในยุคนี้มากๆ คือ “คำแนะนำจากเหล่าคนดังระดับโลก” ซึ่งหลายคนเป็นนักอ่านตัวยง และทุกปีพวกเค้าจะออกมาแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ เช่น Bill Gates / Barack Obama / Oprah Winfrey

รู้หนังสือที่เหล่าคนดังแนะนำไปแล้ว…ว่าแต่ แล้วคนดังเหล่านี้ล่ะ มีวิธีอ่านหนังสืออย่างไรบ้าง?

เทคนิคการ “อ่านหนังสือ” ของเหล่าคนดังระดับโลก

Bill Gates จะทำการ “สรุป” เนื้อหาหลังจากอ่านจบทุกครั้งทุกเล่ม! โดยเขาบอกว่าอย่างน้อยควรสรุปใจความสำคัญให้ได้ 20% กระชับและครอบคลุมทุกประเด็นในหนังสือ นอกจากนี้เขาจะ “คิดตาม” เนื้อหาที่อ่าน บางทีเห็นด้วย-บางทีก็ไม่เห็นด้วย และจะแบ่ง “ธีม” การอ่าน เช่นสัปดาห์นี้เรื่องธุรกิจ สัปดาห์หน้าประวัติศาสตร์ สิ้นเดือนดาราศาสตร์

Elon Musk อ่านหนังสือวันละ 10 ชั่วโมง…ตั้งแต่เด็ก! จนเขามีความรอบรู้ในหลายเรื่องมากๆ เคล็ดลับของเขาคือ “ต้นไม้แห่งสติปัญญา” เริ่มอ่านจากสิ่งที่เป็น “รากฐาน” สำคัญ ก่อนแผ่กิ่งก้านออกไปกว้างขวาง และจะอ่านเพื่อเติมความรู้ที่ขาดหายไป อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้โฟกัสจำนวนที่อ่านนักเพราะเน้น “คุณภาพมากกว่าปริมาณ”

Warren Buffet ใช้กฎเลข “5” อันได้แก่ อ่านหนังสือวันละ 5 ชั่วโมง / อ่านรายงานบริษัท 500 หน้า / อ่านหนังสือพิมพ์ชั้นนำวันละ 5 ฉบับ

Barack Obama เน้นอ่านหนังสือเพื่อเข้าใจ “ตัวตน” ของเขาซึ่งมาจากภูมิหลังที่ซับซ้อน โดยเน้นไปที่เชิงวรรณคดี ครอบครัว ชีวิตของเหล่าผู้อพยพ…ดังวลีที่ว่า “รู้อะไรไม่เท่ารู้จักตัวเอง” รวมถึงหนังสือที่สะท้อนแนวคิดด้านสังคมโดยขณะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ หนังสือที่เขาซื้อมักเกี่ยวกับอัตลักษณ์ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ และความหมายของการเป็นอเมริกันชน

Mark Zuckerberg ให้เวลา “ดื่มด่ำ” เต็มที่กับหนังสือแต่ละเล่มที่อ่าน โดยใช้เวลาอ่านเล่มละ 2 สัปดาห์เต็ม แม้เขาจะเป็นเจ้าพ่อด้านสื่อ แต่ก็ยอมรับว่าไม่มีอะไรเทียบชั้นหนังสือได้ในแง่ของความลึกและการได้สำรวจตัวเองขณะอ่าน

Oprah Winfrey ตั้ง “เวลา” อ่านเป็นช่วงก่อนนอนซึ่งเป็นกิจวัตรที่เธอบอกว่าประนีประนอมไม่ได้ ต้องทำทุกคืน นอกจากนี้ เธอมัก “อ่านหนังสือกับเพื่อนๆ” โดยเริ่มในเวลาไล่เลี่ยกัน-เล่มเดียวกัน ก่อนจะกลับมาพูดคุยซึ่งได้มุมมองใหม่ๆ จากการแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนฝูง

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…คุณพร้อมมีความสุขกับการทำงานในทุกๆ วันแล้วหรือยัง? >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> https://www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...
การประเมินผลการทำงาน
เตรียมตัวให้พร้อม : เคล็ดลับรับมือการประเมินผลการทำงานช่วงสิ้นปีอย่างมืออาชีพ
การประเมินผลการทำงาน คืออะไร?การประเมินผลการทำงาน คือกระบวนการประเมินผลงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเกณฑ์ตรงกลางที่บริษัทตั้งไว้ และพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้างานหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในการทำงาน...