ผัดวันประกันพรุ่ง ทีละนิดทีละหน่อย ชีวิตก็พร้อมลงเหว

ผัดวันประกันพรุ่ง
ทำรายงานให้เสร็จ?... ไว้ก่อนดีกว่า เหนื่อย // ออกกำลังกาย?... ไว้วันหลังละกัน ขี้เกียจ // ล้างจาน?... ไว้หลังออกกำลังกายเสร็จล่ะกัน

นี่คือตัวอย่างคลาสสิกของ “Procrastination” การ ผัดวันประกันพรุ่ง” ทีละนิดทีละหน่อย ซึ่งถ้าถี่เกินไป…ก็อาจนำพาความล่มจมมาสู่ชีวิตคุณได้!!

จิตวิทยาของ”ผัดวันประกันพรุ่ง” 

แก่นของการผัดวันประกันพรุ่ง คือ การ “ดีเลย์” ทำเรื่องที่ “สำคัญแต่ไม่ชอบใจ” ออกไป ซึ่งถือว่าเป็นความไม่มีเหตุผล (Irrational) อย่างหนึ่งของมนุษย์ เพราะไม่มีเรื่องไหนที่จะเสร็จสมบูรณ์ในตัวมันเองถ้าไม่มีใครลงมือทำให้เสร็จ

“Slowly but sure.” ช้าๆ แต่พังแน่นอน

ผลวิจัยมากมายระบุว่าหนึ่งในสาเหตุที่คนเราผัดวันประกันพรุ่งคือลึกๆ แล้วเรา “กลัวความล้มเหลว” (Fear of Failure) เพราะงานนั้นที่ต้องทำให้เสร็จ มักมีความยากระดับหนึ่ง อาจต้องพบเจออุปสรรค 

ซึ่งพอเราคิดคาดการณ์ (เกิดขึ้นภายในเสี้ยววินาทีได้) สมองจะเกิดการปฏิเสธการกระทำนั้น และเปลี่ยนให้ไปทำเรื่องอื่น

ผัดวันประกันพรุ่ง นำไปสู่ความล้มเหลว 

การผัดวันประกันพรุ่งนำมาซึ่ง “ค่าเสียโอกาส” ในการไม่ทำสิ่งสำคัญตรงหน้า (ขณะที่คนอื่นอดทนทำ) ซึ่งอาจทำให้เรา “ตกรถเมล์” ในเส้นทางสายอาชีพ จนเพื่อนร่วมรุ่นเติบโตไปไหนถึงไหนแล้ว

รู้หรือไม่ว่าการเรียนรู้ “สิ่งใหม่” อาศัยวินัยในการทำอย่าง “ต่อเนื่อง” สูงมากโดยเฉพาะช่วงเริ่มต้น สิ่งที่ทำให้หลายคนไม่เก่งซักที มักไม่ใช่ความยากง่ายในการเรียน…แต่คือความต่อเนื่องในการฝึกฝน

เพราะมันไม่ได้เป็นอย่างที่หลายคนคิด ถ้าคุณทำเรื่องติดต่อกัน 1-2-3 แล้วดันหยุดเรื่องที่ 4 ไป (ผัดวันประกันพรุ่ง) คุณอาจไม่ได้อยู่ที่เดิม ซึ่งคือ 3 แต่อาจตกไปอยู่ 2 (หรือขั้นเลวร้ายกลับไปอยู่ที่ 1)

การผัดวันประกันพรุ่งจนเป็นนิสัย อาจทำให้คุณกลายเป็น “นักปิดเดตไลน์” (Deadliner) คือทำอะไรเสร็จกระชั้นทันจวนตัวไปหมด ซึ่งวิธีทำงานแบบนี้มักให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพด้อยกว่าการเสร็จแต่เนิ่นๆ แล้วใช้เวลาที่เหลือปรับปรุงแก้ไข

และส่งผลถึง “ภาพลักษณ์” ในตัวคุณ ถ้ามีคนไหว้วานให้คุณทำอะไร แล้วคุณเอาแต่บอก “เดี๋ยว” ซึ่งสะท้อนถึงความ “ไม่แน่นอน” (ว่าคุณจะทำเมื่อไร) ความน่าเชื่อถือในตัวคุณก็หดหาย

วิธีป้องกัน

วิธีที่เป็นวิทยาศาสตร์และยอมรับในทางสากล ซึ่งช่วยให้เราลงมือทำ ณ ตอนนั้นได้มากขึ้นคือ การเพิ่ม “น้ำตาลในเลือด” (Blood Sugar) ด้วยสิ่งที่เราทำได้ง่ายๆ อยู่แล้ว เช่น กินช็อกโกแลต / ดื่มน้ำอัดลม / ดื่มน้ำหวาน เพราะกระบวนการที่น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จะไปกระตุ้นให้ร่างกายเรารู้สึก Active กระปรี้กระเปร่าอยากทำอะไร (ไม่เชื่อลองไปทำดู!)

ลองมองมุมกลับว่าการทำ “ทีละนิด-ทีละหน่อย” ในแง่บวกมันเปลี่ยนชีวิตเราได้มากแค่ไหน ก่อนจะมองสะท้อนกลับมาที่การผัดวันประกันพรุ่งว่า ถ้าทำทีละนิด-ทีละหน่อย…แต่เป็นแง่ลบ ก็พังชีวิตเราได้เช่นกัน

เช่น การออมในหุ้นพื้นฐานที่ได้ดอกเบี้ยทบต้นทีละนิดทีละหน่อย แต่หลายปีเข้าก็ได้เงินมาก้อนโต (ถ้าไม่เริ่มออมตอนนี้ก็อดเงินก้อนโต) หรือ ถ้าเราฝึกทำอะไรใหม่ๆ ติดต่อกัน 21 วัน มันจะเริ่มกลายเป็นทักษะติดตัวเราไป (ถ้าไม่ฝึกก็อดทักษะนี้ไป)

ลองแตกเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ออกเป็น “เป้าหมายย่อย” (Mini Goal) ซึ่งช่วยลดแรงต้านในการเริ่มต้นทำได้ แถมเรายังรู้ด้วยว่า “ควรเริ่มที่ตรงไหน?”

ขจัด “สิ่งรบกวน” ให้เหลือน้อยที่สุด พอสมาธิเราหลุดเพื่อไปทำอย่างอื่น เมื่อกลับมา อาจต้องใช้พลังและเวลาซักพักกว่าจะกลับมาสู่จุดเดิม ซึ่งช่วงเวลานี้เองที่ใช้พลังเยอะเป็นพิเศษ ทำให้หลายคนล้มเลิกสิ่งนั้นกลางคัน จนนำไปสู่การผัดวันประกันพรุ่งในที่สุด

คุณ Dan Ariely นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกัน แนะนำให้กำหนด Deadline อย่างชัดเจน และจะดีมากถ้าเป็น Deadline ที่ “ถูกกำหนด” โดยคนอื่น เช่น หัวหน้าเป็นคนกำหนด เพราะมันสร้างแรงกดดันให้เราไปในตัว

การป่าวประกาศแก่สาธารณชนให้รับรู้ก็เป็นวิธีที่เวิร์ค เพราะพื้นฐานแล้ว คนเราแคร์สายตาคนอื่นที่มองมา ถ้าคุณป่าวประกาศอย่างเอกเกริกว่าจะปล่อยผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใน 6 เดือนจากนี้ คุณจะทำทุกวิถีทางที่ให้เป็นไปได้จริงในกรอบเวลานี้

ลองค้นหา Passion สิ่งที่อยากทำจริงๆ เพราะผัดวันประกันพรุ่งมักเกิดขึ้นกับงานที่ลึกๆ แล้วคุณไม่ได้ “หลงรัก” สุดหัวใจ สังเกตไหมว่า คนเราแทบไม่ต้องถูกบังคับจ้ำจี้จ้ำไชให้ทำในสิ่งที่ชอบที่รักเลย

.

.

เริ่มหา Passion นั้นได้ง่ายๆ โดยการทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…พร้อมมีความสุขกับการทำงานในทุกๆ วัน!! >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 76