Paradox of Choices : ลูกค้าไม่ซื้อเพราะตัวเลือกมากเกิน

Paradox of Choices
ขอนำเสนอเยอะๆ ไว้ก่อน ลูกค้าจะได้มีตัวเลือก…หากคุณกำลังคิดแบบนี้ ระวังให้ดี มันอาจนำไปสู่ “Paradox of Choice”

Paradox of Choices คืออะไร ? 

Paradox of Choices เกิดขึ้นเมื่อ “ตัวเลือก” เยอะเกินจุดหนึ่ง มันจะย้อนกลับมาทำร้ายธุรกิจเรา ทำให้ลูกค้าเลือกไม่ถูก สับสน จนสุดท้ายไม่ซื้ออะไรเลยซักอย่าง

ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ?

Barry Schwartz นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ทำการทดลองในซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่ง โดยการเปิดบูธให้ทดลองชิมเยลลี่ฟรี 

  • บูธวันแรกมีให้เลือกถึง 24 รส ลูกค้าสามารถลองชิมกี่ครั้งก็ได้ แถมได้ซื้อในราคาลดพิเศษ ปรากฎว่าคนเข้ามาดูบูธถึง 60% แต่ซื้อจริงแค่ 3%
  • บูธวันที่สองมีให้เลือกเพียง 6 รส คนมาดูบูธลดเหลือ 40% แต่ปรากฎว่า กลับขายเยลลี่ได้มากกว่าวันแรกถึง 10 เท่า! (ซื้อจริง 30%)

ที่เป็นเช่นนี้เพราะ บูธวันแรกมีตัวเลือกเยอะเกินไปจนลูกค้า “ไม่รู้จะเลือกซื้ออะไรดี” ก็เลยไม่ซื้อมันซะเลย หรือไม่ก็เดี๋ยวค่อยกลับมาซื้อวันหลัง

ทีแรกคุณ Barry Schwartz ไม่เชื่อ เขาจึงทดลองใหม่โดย ‘เปลี่ยนสินค้า’ พลัดเวียนไปมากหน้าหลายตา โดยยังคงคอนเซ็ปท์เดิมอยู่คือ การทดลองแรกมีตัวเลือกเยอะ การทดลองที่สองตัวเลือกน้อย ปรากฎว่า…ผลลัพธ์ก็ยังเหมือนเดิม!

เขาให้เหตุผลว่า เพราะผู้บริโภคมีเวลาจำกัดในการเลือกซื้อ ถ้าตัวเลือกตรงหน้าเยอะเกินไปล้านแปด จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า “Analysis Paralysis” ความสามารถในการคิดวิเคราะห์จะกลายเป็นอัมพาตทันที จากนั้น สัญชาตญาณมนุษย์จะทำงานโดยการ “หนี” เอาตัวรอด ซึ่งหมายถึงการเดินจากไปของลูกค้าโดยไม่ได้ซื้ออะไรเลย

เรื่องนี้มีคำอธิบายทางชีววิทยา เดิมทีมนุษย์วิวัฒนาการมาในทุ่งหญ้าสะวันนา โลกสมัยก่อน 

  • เราไม่ได้มีตัวเลือกเยอะแยะมากมาย(ที่ผลิตมาจากโรงงาน)
  • ทั้งชีวิตของมนุษย์ป่าจะอยู่แค่อาณาบริเวณหมู่บ้านเล็กๆ 
  • ทั้งชีวิตพบเจอเพื่อนมนุษย์แค่หลักสิบคน(ก็คนในหมู่บ้านเอง) 
  • อาหารก็กินวนเวียนซ้ำซากอยู่ไม่กี่อย่างเท่าที่หาได้ (ไม่มีซูเปอร์มาร์เก็ต)

สมองมนุษย์เราวิวัฒนาการมาในสภาพแวดล้อมที่มี “ตัวเลือกจำกัด” ไม่แปลกเมื่อมาเจอกับโลกปัจจุบันที่ถูกถาโถมด้วยตัวเลือกล้านแปด เราจะเกิดอาหารทำอะไรไม่ถูก

นอกจากนี้ยังเกิดสิ่งที่เรียกว่า Buyer’s Remorse ตัวเลือกที่มากเกินไป อาจนำไปสู่ความสุขที่น้อยลง เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าสิ่งที่เราเลือกคือสิ่งที่ดีที่สุด ในเมื่อยังมีตัวเลือกข้างนอกอื่นอีกเป็นร้อยเป็นพัน? สุดท้ายเราอาจเสียใจกับการตัดสินใจของตัวเองเองที่ไม่ดีพอ

แบรนด์ที่รู้ทัน Paradox of Choice 

WhirlPool แบรนด์เครื่องใช้ภายในบ้าน ทดลองส่งอีเมล 2 ชนิดหาลูกค้าเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ แบบแรกมี 3-4 Call-to-Action (CTA) แบบที่สอง เหลือแค่ 1 CTA (1 สินค้าแนะนำ โดยไม่มีสินค้าอื่นให้เลือก) ปรากฎว่าแบบหลังยอดคลิกเข้าชม (Click-Through-Rate) สูงกว่าแบบแรกถึง 42%

RAPL แบรนด์ญี่ปุ่นที่เชี่ยวชาญพายแอปเปิ้ลครีมคัสตาร์ดถึงขนาด “มีแค่ตัวเลือกเดียว” ให้ลูกค้าเลือก สาขาแรกๆ ที่ญี่ปุ่นก็เป็นร้านเล็กๆ มีสินค้าชนิดเดียว แต่ประสบความสำเร็จล้นหลาม จนบินมาเปิดถึงห้างชั้นนำในเมืองไทย

Unbounce บริษัทซอฟต์แวร์ที่เชี่ยวชาญด้านการทำเว็ปไซด์ ได้แนะนำให้ลูกค้าหลายเจ้าออกแบบหน้าเพจแบบ “One Page One Purpose” หน้าเดียวตอบโจทย์วัตถุประสงค์เดียว พบว่าอัตราการใช้งานในเว็ปและยอดสั่งซื้อสูงขึ้นมาก

บุคคลสำเร็จระดับโลกต้องตัดสินใจเยอะแยะมากมายในแต่ละวัน บางคนกำจัด Paradox of Choice บาง ‘ประเภท’ ออกไปสิ้นเชิงด้วยการแต่งกายเหมือนเดิมทุกวัน เช่น Mark Zuckerberg ใส่แต่กางเกงยีนส์และเสื้อยืดแขนสั้นทุกวัน 

ปรับใช้กับธุรกิจเรายังไงได้บ้าง? 

แทนที่จะทำสินค้าออกมาให้เยอะๆ (ซึ่งอาจไม่แตกต่างกันมาก) ให้ลดตัวเลือกน้อยลงมา โดยการ “จับรวมกลุ่ม” ตัวที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน วิธีนี้จะช่วยลด Paradox of Choice ได้ถึงแก่นที่สุด

ไม่ว่าคุณทำธุรกิจอะไร ควรเลือก “Default Choice” ตัวเลือกพื้นฐานที่ลงตัวในหลายแง่มุมให้ลูกค้าไว้ก่อน อย่างน้อย ป้องกันไม่ให้ลูกค้าเมินหน้าหนีคุณไปทันที

ในการนำเสนอแพกเกจราคา ไม่ควรนำเสนอเกิน “3 ตัวเลือก” เพราะเป็นที่จำนวนที่กำลังตัวดี ลูกค้าพอคำนวณได้ และสอดคล้องกับสมองมนุษย์ที่ประมวลผลได้ดีไม่เกิน 3 ตัว (ตามกฎ The Rule of Three)

แบบเดียวกับการทดลองเยลลี่ นักการตลาดอาจต้องใช้เวลาทดลองปล่อยสินค้าให้ลูกค้าเลือก เพื่อหาจำนวนตัวเลือกที่ลงตัวที่สุด (Optimal Choice) บางทีสิ่งที่ลูกค้าต้องการอาจมีแค่ไม่กี่ชนิด 

ในกรณีที่เป็นการยากถ้าจะตัดตัวเลือกทิ้ง เช่น ร้านขายไวน์ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าเกิด Paradox of Choice ร้านต้อง “แยกประเภท” ให้ชัดเจน: ประเทศ / ไวน์แดง-ขาว-โรเซ่ / ประเภทองุ่น / ราคาสูงลิบ-กลาง-ย่อมเยา / ตัวไหนมีโปรโมชั่นติดป้ายใหญ่ๆ สีแดง ฯลฯ 

ข้อคิดกับชีวิตส่วนตัว

ก่อนจะเลือก ถามตัวเองให้แน่ชัดก่อนว่า “ต้องการอะไร” ถ้าจะให้ดี “เขียน” มันออกมาเป็นหลักฐาน แถมยังได้ใช้เป็นเครื่องเตือนใจ

และ “ปล่อยวาง” บ้างก็ได้ เพราะสิ่งที่เราเลือก อาจไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดเสมอไป ขอแค่มันทำให้คุณมีความสุขก็พอแล้ว จะว่าไปยุคนี้ “The Best Thing” อาจไม่มีอยู่จริง หรือถ้ามี…วงจรชีวิตคงสั้นมาก เพราะทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเร็วตลอด ของใหม่กว่า-ดีกว่า ออกมาอยู่ด้วยความถี่ที่ซื้อแทบไม่ทัน

หัดอยู่กับ “ปัจจุบัน” สิ่งที่เราตัดสินใจเลือก เราเลือกไปแล้ว เป็นอดีตผ่านไปแล้ว กลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้ ยอมรับตัวเองและอยู่กับปัจจุบัน น่าจะทำให้เรามีความสุขขึ้นไม่มากก็น้อย..

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ เมื่อรู้ว่าต้องการอะไร…ก็บอกลา Paradox of Choice ได้เลย >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

CEO of the year
อยากสำเร็จ อย่ารอคำว่าพร้อม ถอดบทเรียนจาก Lisa Su ถึงคนทำงาน เจ้าของรางวัล CEO of the year 2024 จากนิตยสาร Times
Lisa Su หรือเจ้าแม่แห่ง AMD ได้มีโอกาสให้สัมภาษณ์ ในรายการ View From The Top with Lisa Su: Chair and CEO of AMD โดย Stanford Graduate School of Business...
The One-Page Financial Plan
วิธีสรุปการเงินของคุณ ไว้ในแผ่นเดียว แค่ทำตามขั้นตอนนี้ จากหนังสือ The One-Page Financial Plan
สำหรับใครที่อยากจัดการ การเงินของตัวเองให้เป็นระเบียบกว่าเดิม วันนี้ CareerVisa อยากมาแนะนำการทำสรุปการเงินไว้ให้ครบ จบในแผ่นเดียว จากหนังสือ The One-Page...
สวัสดิการสำคัญ
เช็กลิสต์ 10 สวัสดิการสำคัญ ถามไว้ก่อนไปสมัครงาน
“สวัสดิการสำคัญ” ไม่แพ้เงินเดือน! หลายคนอาจโฟกัสที่ตัวเลขเงินเดือนเป็นหลัก แต่แท้จริงแล้ว สวัสดิการที่ดีสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้อย่างมาก...