Omotenashi : จิตวิญญาณการบริการแบบญี่ปุ่น

Omotenashi
Omotenashi 【おもてなし】 เป็นคำที่นิยามออกมาเป็นคำพูดสั้นๆ ได้ค่อนข้างยาก เพราะมีความเป็นนามธรรมสูง แต่โดยทั่วไป เราทำความเข้าใจ Omotenashi ได้ว่าเป็นจิตวิญญาณการให้บริการของคนญี่ปุ่น

Omotenashi คืออะไร? 

Omotenashi 【おもてなし】 เป็นคำที่นิยามออกมาเป็นคำพูดสั้นๆ ได้ค่อนข้างยาก เพราะมีความเป็นนามธรรมสูง แต่โดยทั่วไป เราทำความเข้าใจโอโมเตะนาชิได้ว่าเป็นจิตวิญญาณการให้บริการของคนญี่ปุ่น (Japanese Hospitality) เป็นการ “บริการด้วยใจ” ซึ่งมีจริตการบริการระดับที่ “ให้…โดยไม่หวังผลตอบแทน” 

  • ผมบริการคุณดี ไม่ใช่เพราะ…คุณจะได้ “ซื้อ” สินค้าผม
  • ผมบริการคุณดี ไม่ใช่เพราะ…ผมหวัง “ทิป” จากคุณ
  • แต่ผมบริการคุณดี เพราะมันออกมาจากใจ…และคุณในฐานะลูกค้าสมควรได้รับการบริการที่ดี

งานบริการหลายอย่างในญี่ปุ่นมี Omotenashi เป็นหัวใจหลัก และ “โอโมเตะนาชิ” คำนี้ยังถูกใช้เป็นคำโปรโมทหลักตอนญี่ปุ่นแข่งขันชิงการเป็น “เจ้าภาพโอลิมปิกปี 2020” จนชนะในที่สุด!! โอโมเตะนาชิอยู่เบื้องหลังหลายกิจกรรมการบริการที่ไม่มุ่งหวังมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Economic Value) และอาจไม่ได้เพิ่มผลผลิต (Productivity) แต่อย่างใดเลย เช่น การจ้างเจ้าหน้าที่มายืนอยู่หน้าไซต์งานซ่อมแซมทางเท้า เพื่อแจ้งคนเดินเท้าให้ระวัง ทั้งๆ ที่มีกรวยและอุปกรณ์เตือนผู้สัญจรไปมาอยู่แล้ว การมีตัวตนอยู่ของเจ้าหน้าที่คนนั้นก็เพื่อมอบความรู้สึกปลอดภัยและอำนวยความสะดวกเพิ่มเติม (เป็นสิ่งที่ Extra เพิ่มเข้ามา)

อีกตัวอย่างง่ายๆ เช่น เจ้าของร้านค้าเดินพาคุณส่งถึงจุดหมาย (ห่างออกไป 5 นาที) เมื่อถูกนักท่องเที่ยวอย่างคุณสอบถามเส้นทาง

ตัวอย่างในชีวิตจริง 

งานบริการที่ญี่ปุ่นจะไม่รับ “ทิป” ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่เลื่องชื่อรู้กันในหมู่นักท่องเที่ยวขาประจำ การปฏิบัติไม่รับทิปสะท้อน Omotenashi ได้ชัดเจน สื่อว่าพนักงานบริการเราเต็มที่ด้วยใจโดยไม่หวังทิป…ในเมื่อเราบริการดีที่สุดด้วยใจจริงแล้ว ทิปก็อาจไม่ใช่เรื่องจำเป็น The New York Times เผยผลสำรวจในปี 2011 ว่า ประเทศอันดับ 1 ที่ได้รับคะแนนสูงสุดในด้านการให้บริการคือญี่ปุ่น แถมมีอัตราการทิปเฉลี่ยเท่ากับ 0% ของยอดจ่าย (อเมริกาอันดับ 7 และมีอัตราการทิปเฉลี่ย 18%)

สนามบินในญี่ปุ่น จะมี “พนักงานจัดเรียงกระเป๋า” ทำหน้าที่คอยหันหูหิ้วกระเป๋าสัมภาระให้อยู่ในทิศทางที่ผู้โดยสารหยิบออกง่ายที่สุด เวลาผู้โดยสารรอกระเป๋าตรงสายพาน…ภาพที่ออกมาจึงเห็นสัมภาระต่างๆ ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย แถมตัวเองก็ออกแรงหยิบยกลงมาได้ง่าย

บริการแบบนี้ ไม่ได้มีในสนามบินทั่วไป แม้จะเป็นสนามบินระดับโลกอย่าง JFK Airport หรือ Heathrow Airport ก็ตาม ห้างสรรพสินค้าในญี่ปุ่น เวลาเปิดทำการพนักงานจะมายืนเรียงแถวบริเวณหน้าทางเข้าและทำการ “โค้ง” ต้อนรับแก่ลูกค้า (2-3 นาทีแรกหลังเปิดห้าง)

Image Cr. bit.ly/3tI6KEK

อย่างไรก็ตามโอโมเตะนาชิไม่ได้จำกัดแค่ภาคธุรกิจบริการ แต่ภาคผลิตสินค้าใช้สอยต่างๆ ก็ทำได้เช่นกัน โยเกิร์ตหลายแบรนด์ในญี่ปุ่น (เช่น Meiji) ได้ใช้วัสดุพิเศษกับตัวฝา ทำให้เปิดมาแล้ว “โยเกิร์ตไม่ติดฝา” ขจัด Pain Point ความรู้สึกเสียดายเนื้อโยเกิร์ตที่ติดฝา(จนเราต้องเอาลิ้นเลียแผล่บๆ) หรือ “ซอสคู่ 2 In 1” บีบแล้วซอสออกมาพร้อมกัน 2 ซอสในคราวเดียว ออกแบบตั้งเป้าให้ใช้ “มือเดียว” ก็เปิดได้

แพกเกจจิ้งแบบนี้มักมาเป็นซอสที่กินคู่กัน เช่น ซอสมะเขือเทศ-มัสตาร์ด / เนย-แยม พบเจอได้ทั่วไป เช่น เวลาซื้อของกินตามร้านฟาสต์ฟู้ด เช่น KFC ก็พบเจอได้ แม้แต่แพกเกจจิ้ง “กล่องนม” ที่ออกแบบเป็นมิตรแก่ผู้พิการทางสายตา โดยมุมฝั่งตรงข้ามกับที่เปิดขวด จะมีการตัดกล่องให้แหว่ง “เว้า” ลงไปเล็กน้อย เพื่อระบุนี่คือ “นมบริสุทธิ์” (ผลิตภัณฑ์นมในญี่ปุ่นมีหลายประเภท) 

ประยุกต์ใช้อย่างไร ? 

สำคัญที่สุดคงต้องออกมาจาก Mindset ที่ “ใจ” ของผู้ให้บริการเสียก่อน ถ้าผู้ให้บริการยังจำกัดคิดแค่ Cost-Benefit ไปเสียหมด Omotenashi จะไม่มีทางเกิดขึ้น…ลองเอาใจเขามาใส่ใจเรา สังเกตได้ว่า Omotenashi จะมีการ “คิดเผื่อล่วงหน้า” ถึงปัญหาหรือความต้องการของลูกค้า และทำการออกแบบบริการเพื่อตอบโจทย์โดยลูกค้าไม่ต้องออกแรงถาม พนักงานจัดสัมภาระ ณ สายพานที่สนามบิน คืออีกตัวอย่างที่ชัดเจน

เราอาจมองได้ว่าโอโมเตะนาชิคือการใส่ใจรายละเอียดลูกค้านอกเหนือไปจาก ”Job Description” เบื้องต้นของผู้ให้บริการ เป็นอะไรที่อยู่ก้าวข้าม “Common Sense” ไปอีกขั้นหนึ่ง  เช่น “ฝาท่อระบายน้ำ” ในย่านท่องเที่ยวของญี่ปุ่นจะมีการตกแต่งเป็นพิเศษ ฝาท่อแถวปราสาทโอซาก้าซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเมือง ก็ตกแต่งเป็นรูปวิวปราสาทพร้อมดอกซากุระสวยๆ ทั่วทั้งย่าน! ลองมองอีกมุม มันอาจมีต้นทุนเพิ่มขึ้น ใช้แรงกาย-มันสมองในการคิดค้นเพิ่มขึ้น แต่นั่นก็คือ “คุณภาพชีวิต” ของลูกค้าที่ดีขึ้น ผ่านประสบการณ์การใช้สินค้าบริการขององค์กรคุณนั่นเอง 

และนี่คือโอโมเตะนาชิจิตวิญญาณการบริการแบบญี่ปุ่นที่มอบบทเรียนและความประทับใจให้เราได้ไม่น้อยเลย

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ และมีความสุขกับการทำงานในทุกๆ วัน…คุณอาจเหมาะกับองค์กรที่มีจิตวิญญาณบริการแบบญี่ปุ่นก็ได้นะ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 76