ถึงจะสนิทกันมากแค่ไหน ก็ไม่ควรคุยเรื่องเหล่านี้กับเพื่อนร่วมงาน

เป็นเรื่องที่ดีที่เราจะสนิทกับเพื่อนร่วมงานเอาไว้ เพราะว่าการสนิทกัน นำพามาสู่ความเข้าใจกันในการทำงานมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังทำให้สังคมในที่ทำงานน่าอยู่มากยิ่งขึ้นอีกด้วย เพียงแต่ว่ามันจะมีบางเรื่องที่ถึงจะสนิทอย่างไร ก็ไม่ควรคุยกับเพื่อนร่วมงานอยู่ดี

หลายคนอาจจะคิดว่าเมื่อเราสนิทกับเพื่อนร่วมงานเรามาก ๆ เราก็คงสามารถคุยกับเพื่อนร่วมงานได้ทุกเรื่อง แต่ให้จำไว้เสมอว่า “เพื่อนร่วมงาน” ไม่ได้เหมือนกันเพื่อนสนิททั่วไปที่ไม่ได้มานั่งทำงานกับเราในออฟฟิศ มีหลายหัวข้อที่ถ้าหากเราคุยกับเพื่อนร่วมงานอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้แบบที่เราคาดไม่ถึง

 

เพราะในสังคมการทำงาน มีหลายอย่างที่ต้องระวัง ไม่ว่าจะเป็นการวางตัวในที่ทำงาน การพูดคุยกับหัวหน้า พฤติกรรมในการทำงานของเรา การทำงานเป็นทีม ไปจนถึงการวางตัวหรือการสนิทกับเพื่อนที่ทำงาน เพราะข้อมูลบางอย่างเราก็ไม่สามารถเปิดเผยได้ ไม่ควรเอามาคุยกัน เราจึงต้องรู้ไว้ว่าสิ่งใดบ้างที่เราควรพูดหรือไม่ควรพูด

 

วันนี้ CareerVisa จะมานำเสนอ 14 เรื่อง ที่ไม่ว่าจะสนิทกับเพื่อนร่วมงานแค่ไหน ก็ไม่ควรนำมาคุยกันอยู่ดี มาดูกันว่ามีเรื่องอะไรบ้าง

.

[14 เรื่อง ที่ไม่ควรคุยกับเพื่อนร่วมงาน]

  1. ข้อมูลเงินเดือน : เป็นที่รู้กันว่าการต่อรองเงินเดือน คือเรื่องส่วนบุคคล เพราะฉะนั้นทุกคนจึงอาจจะไม่ได้เงินเดือนเท่ากัน ซึ่งถ้าหากเพื่อนร่วมงานรู้ว่าเราได้เงินเดือนเท่าไร ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหา หรือความไม่เข้าใจกันได้

 

  1. ประวัติการเจ็บป่วย : ไม่ได้มีใครอยากรู้เรื่องราวว่าเราเป็นโรคอะไร หรือเจ็บป่วยอย่างไร สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ก็อย่าพูดเลยจะดีกว่า

 

  1. นินทาว่าร้ายคนอื่น : อย่าเป็นคนที่เป็นตัวต้นเรื่องในการนินทาคนอื่นให้เพื่อนร่วมงานฟัง เพราะมันจะทำให้คุณดูไม่ดีในสายตาเพื่อนร่วมงานได้

 

  1. ตำหนิงาน/ที่ทำงาน : การตำหนิงาน หรือบ่นที่ทำงานให้เพื่อนร่วมงานฟัง อาจจะทำให้เกิดปัญหาได้ หากเพื่อนร่วมงานนำไปบอกคนอื่นหรือไปเล่าให้หัวหน้าฟังว่าเราคิดอย่างไร

 

  1. การใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน : ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องส่วนตัว บางอย่างก็ไม่ควรบอก อย่างเช่น ค่าโทรศัพท์ บัตรเครดิต เป็นต้น

 

  1. ความเห็นด้านการเมืองและศาสนา : ความเห็นต่าง ๆ เหล่านี้ ถือเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล หากเราพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานแล้วมีความคิดเห็นต่าง ก็อาจจะทำให้มีปัญหาในการทำงานในอนาคตได้ เป้นไปได้ อย่าพูดคุยกันเรื่องนี้จะดีกว่า

 

  1. การเปลี่ยนแปลงในชีวิต : เรื่องราวการเปลี่ยนแปลงในชีวิต อย่างเช่น การหย่าร้าง การเลิกรากับแฟน การแยกย้ายกันอยู่กับครอบครัว สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องส่วนตัวอย่างมากที่ไม่ควรนำมาพูดให้เกิดการนินทาต่อ

 

  1. รายละเอียดชีวิตส่วนตัว : อย่าเปิดเผยเรื่องส่วนตัวมากจนเกินไป อย่างเช่น เรื่องราวของคนรู้จัก เพื่อนสนิท หรือว่าคนรัก เพราะข้อมูลเหล่านี้เพื่อนร่วมงานสามารถนำไปพูดต่อได้เสมอ

 

  1. โปรไฟล์ในโซเชียล : เป็นไปได้ก็อย่าเปิดเผย Social Media ที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง อย่างเช่น ช่องทางแอคหลุมใน Instagram เป็นต้น

 

  1. ความคิดแง่ลมต่อเพื่อนร่วมงาน : คล้าย ๆ กับการนินทา แต่การเปิดเผยความคิดเห็นต่อเพื่อนร่วมงานคนอื่นในแง่ลบ ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหา หรือทำให้เพื่อนร่วมงานที่รับฟังเรามองว่าเราเป็นคนคิดลบก็เป็นได้

 

  1. ชีวิตปาร์ตี้ช่วงวันหยุด : พยายามอย่าเปิดเผยว่าเราไปปาร์ตี้ ไปเที่ยวเล่นอะไรมาช่วงวันหยุด หรือการที่เราไปใช้ชีวิตส่วนตัวแบบสุด ๆ จนเมา ก็ไม่ควรเล่าด้วยเช่นกัน

 

  1. ปัญหาส่วนตัว : ตัวอย่างที่ชัดเจนที่ไม่ควรพูด คือปัญหาด้านความสัมพันธ์ ใครมีปัญหากับเพื่อนข้างนอกที่ทำงาน กับแฟน กับครอบครัว เป็นไปได้ก็ไม่ควรเล่าให้เพื่อนที่ทำงานฟังอย่างยิ่ง

 

  1. ความคิดเห็นหรือการเหยียดเชื้อชาติ : บางทีแล้วคำพูดเหล่านี้เมื่อคุยกับเพื่อนร่วมงานอาจจะมีบางคนที่สนุกไปกับมัน แต่จริง ๆ แล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดีอย่างยิ่ง และแสดงความคิดด้านลบของคุณเป็นอย่างมาก

 

  1. ความคิดเห็นแง่ลบเกี่ยวกับความรู้สึกของเพื่อนร่วมงานคนอื่น : หากเรารับรู้ความรู้สึกของใครมา สิ่งที่ดีที่สุดคือการอย่าออกความคิดเห็น ให้รับฟังมัน และเก็บไว้กับตัวเองเฉย ๆ เพราะจริง ๆ แล้วการเป็นกลางกับทุกเรื่องในที่ทำงาน ก็ช่วยให้อยู่รอดได้ดี

 

มีหลายอย่างที่เราสามารถคุยกับเพื่อนร่วมงานได้ เช่น งานอดิเรกที่ชอบทำ เนื้อหาของงาน ความรู้ที่นำมาแลกเปลี่ยนกัน เพราะฉะนั้นหัวข้อในการพูดคุยไม่ได้มีแค่เรื่องอ่อนไหว หรือเรื่องส่วนตัว หากเราหยิบจับเรื่องราวมาคุยกับเพื่อนร่วมงานได้ดี ก็สามารถทำให้สนิทกันได้มากขึ้น และอยู่ร่วมกันได้แบบไม่มีปัญหาอีกด้วย

 

อ้างอิง : https://www.whatishumanresource.com/14-things-to-never-share-or-discuss-with-your-co-workers

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...
การประเมินผลการทำงาน
เตรียมตัวให้พร้อม : เคล็ดลับรับมือการประเมินผลการทำงานช่วงสิ้นปีอย่างมืออาชีพ
การประเมินผลการทำงาน คืออะไร?การประเมินผลการทำงาน คือกระบวนการประเมินผลงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเกณฑ์ตรงกลางที่บริษัทตั้งไว้ และพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้างานหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในการทำงาน...