อยากงานเสร็จไว ต้อง “ทำทีละงาน” Single-Tasking vs Multi-tasking

Multi-tasking
เมื่อมีงานหลายอย่างกองอยู่ตรงหน้า หลายคนเลือกทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันเพื่อ “ประหยัดเวลา” ซึ่งเวลาเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด

แต่การที่เราทำ Multi-tasking ได้ ไม่ได้หมายความว่าเราจะทำได้ดี…หรือสมองถูกออกแบบมาให้ทำอย่างนั้น

ผลวิจัยจาก The American Psychological Association เผยว่า Multi-tasking ทำให้เกิด Productivity Loss ถึง 40%

Multi-tasking ที่หนักเกินไป นำไปสู่โรคซึมเศร้าซึ่งสร้างความเสียหายแก่นายจ้างสูงถึง 700,000 ล้านบาทเฉพาะในสหรัฐอเมริกา และทำให้พนักงานขาดงานเพราะรู้สึกไม่ดีเฉลี่ย 8.7 วัน/ปี

การวิจัยด้วยเครื่องสแกน MRI จาก Univerity of London เผยว่า คนที่ทำ Multi-task บ่อยๆ ส่งผลถึงระดับ IQ และ EQ ที่ต่ำลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

Dr. Guy Winch นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเผยความจริงว่า Multi-tasking ไม่ใช่การทำหลายอย่างในเวลาเดียวกันแบบที่เราคิด แต่เป็นการทำทีละอย่าง “สลับไปมา” ในเวลาอันรวดเร็วต่างหาก…งานนี้นั่งคิดยังตกผลึกไม่ทันเสร็จก็สลับไปคิดงานอื่นแล้ว ในภาพรวมวิธีนี้ทำให้ Productivity ลดลงถึง 20%

เรื่องนี้จริงทั้งงานและเรื่องอื่นในชีวิต 

ชีวิตก็เหมือนอาหารบุฟเฟ่ต์ เราหยิบกินเท่าไรก็ได้(มีอะไรให้ทำมากมาย)…แต่กินได้แค่ทีละคำ 

ผลวิจัยจาก University of Utah เผยว่า การขับรถไปคุยโทรศัพท์ไป…แม้จะเสียบหูฟัง เปิดลำโพง หรือใช้อุปกรณ์ใดๆ ก็ตาม ประสิทธิภาพการตอบสนองของคนขับจะต่ำลงไม่ต่างจากคนดื่มแอลกอฮอล์!

แต่งานจุก มีอะไรให้สะสางเพียบ…เราพอจะทำอะไรได้บ้าง?

Tina Seelig ศาสตราจารย์ด้านนวัตกรรมที่ Standford University (ผู้เขียนหนังสือชื่อดัง What I Wish I Knew When I Was 20) เผยเคล็ดลับว่า ให้ทำการ “Cluster” จับกลุ่มกิจกรรมเป็นก้อนๆ ที่มีจุดเชื่อมโยงกัน 

เช่น คุณต้องการ 1. พบปะพูดคุยกับแก๊งค์เพื่อนฝูง 2. ออกกำลังกายกับเพื่อนฝูง แต่ในเมื่อมีเวลาจำกัด ให้ลองออกแบบไลฟ์สไตล์ที่ทำทั้งคู่ได้ในเวลาเดียวกัน

สุดท้ายคุณอาจชวนกันไป “ตีกอล์ฟ” ซึ่งเป็นพื้นที่สานสัมพันธ์ชั้นดีและได้ออกกำลังกายไปในตัว เมื่อรวม 2 กิจกรรมให้เป็น 1 โดยใช้เวลาเท่าเดิม เราก็เหลือเวลาไปทำงานหลักได้มากขึ้นนั่นเอง

นอกจากนี้ ให้จัดลำดับความสำคัญ (Priority) ไม่เกิน 3 เรื่องตามกฎ “Rule of Three” เพราะสมองโฟกัสได้เต็มที่แค่ 3 เรื่อง ถ้ามีเรื่องที่ 4-5-6 เข้ามา ประสิทธิภาพจะลดฮวบทันที

ใช้เทคนิค “Time Blocking” ซอยเวลาเป็นบล็อคย่อยๆ แต่ละบล็อคอาจกินเวลาแค่ไม่กี่นาทีก็ได้แต่ต้องทำแค่เรื่องเดียว ระหว่างที่ทำบล็อคนึงก็ห้ามทำอย่างอื่น ห้ามใครมารบกวน ห้ามเล่น Facebook

อย่มองข้ามเรื่องเบสิคอย่างการ “จัดโต๊ะทำงาน” ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่จำเป็นต้องสวย ขอแค่สะอาดตาโล่งๆ ซึ่งช่วยเพิ่มการโฟกัสให้สมองได้

ฝึกจิตให้เลิกตอบสนองทันที เช่นทำงานอยู่ เพื่อนไลน์มาเม้าส์ ก็กดเข้าไปคุยยาว การลบแอปที่ไม่ได้ใช้บ่อยๆ ก็เป็นทางเลือกที่ดีในยุคที่เวลาเราถูกแย่งไปเหลือเกิน การฝึกจิตให้โฟกัสเรื่องเดียวในยุคนี้…เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง

วิธีนี้ยังลดความเครียดได้ด้วย เช่น กำหนดเวลาเช็คอีเมล เมื่อเช็คเสร็จ ก็ลุยงานอื่นยาวๆ ให้เสร็จโดยไม่ต้องเข้าไปเช็คเมลเรื่อยๆ อีกแล้ว (ยกเว้นอีเมลด่วนสำคัญจริงๆ)

คนสำเร็จ “ทำทีละงาน” มากกว่าที่เราคิด

Tim Cook เป็นคนที่ตื่นเช้ามาก (ไม่เกินตี 4 ทุกวัน) กิจวัตรที่เขาจะทำคือ เช็คและตอบอีเมลหลายร้อยฉบับให้เสร็จ ระหว่างนั้นจะไม่ทำอย่างอื่นเลย

Jack Dorsey ผู้ก่อตั้ง Twitter มีวิธีเป็นเอกลักษณ์โดยการแบ่ง “ธีมประเภทงาน” ไปตามแต่ละวัน เช่น วันจันทร์-ด้านบริหารจัดการ / วันอังคาร-ด้านผลิตภัณฑ์ ช่วยให้เค้าโฟกัสไปที่เรื่องเดียวตลอดวัน รู้ว่าวันนี้ต้องทำแค่อะไร

Elon Musk บริหารเวลาด้วย Time Blocking แบ่งเวลาเป็นบล็อคสั้นๆ เขาจะทำให้เสร็จทีละบล็อคก่อนทำอย่างอื่น เช่น ตอบอีเมล 5 นาที / อาบน้ำ 6 นาที / กินข้าว 7 นาที

Steve Jobs เริ่มด้วยการตัดเรื่องไม่สำคัญทิ้งให้หมด และโฟกัสเรื่องสำคัญที่สุดก่อน โดยจะใส่ Deadline ในทุกๆ เรื่อง กระตุ้นให้ทำได้มากขึ้น

คุณรวิศ เจ้าพ่อ Podcast แห่งเมืองไทยเคยบอกว่า สมัยพึ่งเริ่มทำใหม่ๆ เคยลองอัด Podcast บนรถเบาะหลังขณะกลับบ้าน แต่ก็ทำได้ไม่นาน เพราะไม่มีสมาธิส่งผลให้คุณภาพไม่ดี ตอนหลังจึงอัดเฉพาะในห้องที่มีอุปกรณ์พร้อมเท่านั้น

ทำทีละงานยังใช้ได้กับทั้งองค์กรอย่าง Buffer ผู้ให้บริการด้านซอฟต์แวร์ มีวัฒนธรรมองค์กรแบบ Single-Tasking ที่แข็งแกร่ง ลุยงานเดียวให้จบ พนักงานมีสิทธิ์ปฏิเสธเพื่อลุยงานตัวเองให้เสร็จสรรพก่อน

.

.

ทำทีละงาน ยังใช้ได้กับการทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa ที่ใช้เวลาไม่นาน แต่ได้เจออาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ! >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> MyRightCareer.net

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

เก่งขึ้น
Compound Skill : เก่งขึ้น 100 เท่า ด้วยการเก่งขึ้นวันละ 0.1%
ภายใต้ระบบทุนนิยม GDP ของโลกต้องเพิ่มขึ้นปีละอย่างน้อย 2-3% ต่อปี ธุรกิจขนาดใหญ่จึงจะสามารถทำกำไรโดยรวมเพิ่มขึ้นได้“3% ต่อปี” เป็นตัวเลขที่ฟังดูไม่เยอะ...
Disney
Disney ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่โลกจินตนาการที่มีอยู่จริง
Walt Disney มีมูลค่าบริษัทสูงถึง 9.6 ล้านล้านบาทปี 2019 เคาะรายได้รวม 2.1 ล้านล้านบาทมอบความบันเทิงและโลกจินตนาการแก่ผู้คนทั่วโลกทุกวันนี้เวลาเรานึกถึงดิสนีย์เรามักนึกถึง...
การตั้งชื่อ
Assigning Name : คำใหม่ กรอบใหม่ ชีวิตใหม่
Economy , Business Class , First Class ///4P: Product – Price – Place – Promotion ///London bus VS. The Routemaster ///new Coke VS. Coca-Cola classic นี่คือตัวอย่างของพลังการ...