ความจริงของคนตื่นเช้าที่อาจทำให้คุณต้องคิดใหม่ทำใหม่
รีบตื่นแต่เช้าตรู่ จะได้มีเวลาทำงานมากกว่าคนอื่น และรีบนั่งทำงานที่ใช้สมองหนักๆ ก่อนวางแผนการทำงานทั้งสัปดาห์ที่เหลือ นี่แทบจะเป็นสูตรสำเร็จของใครก็ตามที่อยาก Productive และเป็นแนวคิดที่อยู่ในสื่อกระแสหลัก แต่ความจริงแล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้นเสมอไป ยังมีทางเลือกอื่นที่เข้ากับไลฟ์สไตล์คนหลายกลุ่ม วันนี้ CareerVisa มีเทคนิคดีๆเกี่ยวกับกิจวัตรของคนที่ประสบความสำเร็จมาฝากกัน โดยเฉพาะกิจวัตรยามเช้า หรือ Morning Routine Hack ใหม่ๆ นอกกระแสหลักที่อาจเซอร์ไพรส์คุณอยู่!!
Morning Routine Hack หรือสิ่งที่ควรทำในเวลาเช้านั้น เกิดจากความเชื่อที่ว่า “เมื่อเริ่มต้นสิ่งดีๆตั้งแต่ตอนเช้า ทั้งวันก็จะดีตาม” การเริ่มต้นเช้าตรู่วันใหม่ในแต่ละวัน ก็ไม่ต่างจากความทรงจำดีๆที่เป็น First Impression ที่ดีของแต่ละวันไปเลย ดังนั้น การเริ่มต้นเช้าวันใหม่ส่งผลกับเราโดยตรงทั้งด้านร่างกาย การจัดระเบียบความคิด กระบวนการทำงาน และอารมณ์ความรู้สึก ที่จะแปรเปลี่ยนเป็นพลังบวกตลอดวันที่เหลือของเรา เรียกว่า สำคัญทั้งในแง่การพัฒนาความคิดและจิตใจเป็นอย่างมากเลยล่ะ
Early Bird vs Night Owl : อยากประสบความสำเร็จต้องตื่นเช้าเสมอไปหรือไม่?
Morning Routine Hack ข้อแรกที่ทำให้เราเซอร์ไพรซ์ คือ ความคิดที่ว่า “คนที่ประสบความสำเร็จคือคนที่ตื่นเช้า” อาจไม่จริงเสมอไป Dr. Matthew Walker นักวิทยาศาสตร์ด้านการนอน และผู้เขียนหนังสือขายดี Why We Sleep เผยว่า มนุษย์แต่ละคนมี นาฬิกาชีวภาพ (Biological clock) ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ธรรมชาติ บางคนตื่นสาย-บางคนตื่นเช้า และยากมากๆ ที่จะเปลี่ยนมันอย่างถาวรได้ เรามาดูกิจวัตรของคนที่ประสบความสำเร็จที่เรารู้จักกันดีกว่า
- Tim Cook ซีอีโอ Apple ตื่นตี 4
- Bob Iger อดีตซีอีโอ Disney ตื่นตี 4 ครึ่ง
- Jack Dorsey ซีอีโอ Twitter ตื่นตี 5
Mark Zuckerberg ตื่นนอน 8 โมง ซึ่งถือว่าไม่ใช่คนตื่นเช้าเลย เมื่อเทียบกับ CEO คนอื่นๆ แต่นั่นก็ไม่ใช่ความผิดปกติแต่อย่างใด เพราะเป็น Biological clock ของ Mark Zuckerberg เป็นเวลากลมกล่อมที่เขาสดชื่น แข็งแรง สมองแล่น เขาเคยกล่าวว่า “ผมเป็นคนที่ไม่เคยชอบช่วงเช้ามืดเลย”
ดังนั้น คุณไม่จำเป็นต้องหมกมุ่นกับการเป็นคนตื่นเช้าจนเกินไปก็ได้
Skipping Breakfast : เป็นคนไม่กินอาหารเช้าบ่อยๆจะเป็นอะไรมั้ย?
วัฒนธรรมการกินมื้อเช้าแบบจัดเต็มที่เราเป็นอยู่ทุกวันนี้ มาจากอิทธิพลของบริษัทอเมริกันยักษ์ใหญ่ด้านอาหาร (เช่น Kellogg’s) ที่สร้างวัฒนธรรมนี้ผ่านงบโฆษณานับหมื่นล้าน มาตั้งแต่ยุค 1960s แต่การไม่กินอาหารเช้านั้น ทางการแพทย์ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่า เพราะยังไม่มีผลลัพธ์งานวิจัยตัวไหนสนับสนุนอย่างชัดเจนข้อสรุป ณ ตอนนี้ เด็กวัยเจริญเติบโต มื้อเช้ายังสำคัญมาก แต่สำหรับวัยผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ใช้แรงงานหนัก การไม่กินมื้อเช้าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย จะ กินหรือไม่กินก็ได้ไม่ใช่ปัญหา
- ชาวอังกฤษ 1/3 ไม่กินมื้อเช้า
- ชาวอเมริกัน 1/4 ไม่กินมื้อเช้า
แต่ความจริงที่ไม่ค่อยมีใครรู้นักคือ CEO ระดับโลกหลายคนก็ไม่ได้รับประทานมื้อเช้า!
- Bill Gates ประกาศเองว่าเป็นคนไม่กินมื้อเช้ามาตั้งแต่หนุ่มแล้ว โดยเอาเวลานี้ไปทำอย่างอื่นแทนมื้อเช้า
- Elon Musk มีแค่ “ไข่เจียว + กาแฟ” ซึ่งเขากินเป็นบางวันต่อสัปดาห์เท่านั้น ที่เหลือก็ข้ามมื้อเช้าไปกินมื้อเที่ยงทีเดียว
- Jack Dorsey ก็ไม่กินมื้อเช้า โดยบ่อยครั้ง เขาทำการอดอาหาร (Fasting) กินแค่วันละ 1 มื้อตอนเย็นเท่านั้น มื้อเช้าปกติมักกินเวลา 30-45 นาที โดยทำอาหารเองทุกอย่าง ถ้าไม่กินมื้อเช้า ก็มีเวลา เพิ่มขึ้น 30-45 นาที ทันที ดูเหมือนไม่เยอะสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่สำหรับผู้บริหาร ทำอะไรได้เยอะมาก
กิจวัตรของคนที่ประสบความสำเร็จแบบนี้กลับไม่ได้ใส่ใจกับอาหารเช้ามากนัก แต่ว่าร่างกายแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันนะ ดังนั้น อย่าลืมเลือกกิจกรรมและช่วงเวลาที่เหมาะกับร่างกายตัวเองด้วยล่ะ อย่ามัวแต่ทำงานหนักเกินไปจนร่างกายทรุดโทรม
Rule of Awkward Silence : ใช้ช่วงเวลาเงียบๆ เช้าตรู่ตั้งคำถามกับตัวเอง
สำหรับคนตื่นเช้านั้น เวลาเงียบๆยามเช้าตรู่ เป็นโอกาสทองในการฝึก “Rule of Awkward Silence” คือการตั้งคำถามยากๆกับตัวเองเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึก หรือมุมมองสำหรับอนาคต คำถามลักษณะนี้มักไม่สามารถตอบได้ทันที ต้องคิดอย่างลึกซึ้ง อาจกินเวลาหลายนาที ซึ่งถือเป็นไฮไลท์กิจวัตรประจำวันของคนที่ประสบความสำเร็จเลยทีเดียว
- Elon Musk ทำ Rule of Awkward Silence เป็นประจำเมื่อมีใครก็ตามที่ตั้งคำถามยากๆ แทบจะเข้าสู่ภวังค์ อยู่กับความคิดตัวเองในหัว เขาจะเงียบไปพักใหญ่ บรรยากาศรอบตัวอึดอัด แต่สุดท้ายก็ให้คำตอบที่น่าพอใจแก่ทุกฝ่าย
- ปี 1997 Steve Jobs ถูกเยาะเย้ยกลางงานสัมมนาใหญ่จาก Developer คนหนึ่งว่า “คุณไม่รู้หรอกว่าคุณกำลังพูดถึงอะไร” Jobs ดื่มน้ำ 10 วินาที ก่อนพูดติดตลก 1 ประโยคสั้นๆ และนั่งคิดเงียบๆ ต่ออีกเกือบ 10 วินาที! ก่อนให้คำตอบอันน่าพอใจที่ผู้คนปรบมือกันทั่วห้อง!
- Sundar Pichai ซีอีโอใหญ่ Google ใช้ช่วงเช้าไปกับการนั่งเงียบๆ ที่บ้านและขบคิดเฉพาะ “ภาพใหญ่” ของบริษัท สังคม โลก เป็นการทบทวนไปในตัวว่า งานประจำแต่ละวันมุ่งหน้าไปในทิศทางภาพใหญ่ที่วางไว้หรือไม่
- Jack Dorsey ไม่ทานมื้อเช้า แต่เอาไป “นั่งสมาธิ” เงียบๆ 30 นาทีหลังตื่นนอน ฟื้นสติจากความงัวเงีย และวอร์มอัพสมองพร้อมรับวันใหม่
การอยู่กับความเงียบความเงียบเป็นสิ่งที่มีค่ามากท่ามกลางความวุ่นวายของโลก และช่วงเช้าถือเป็นช่วงที่เราสามารถกอบโกยความรู้สึกสงบสุขนี้ได้มากที่สุดของวัน
Morning Exercise : ตอนเช้าไม่ควรออกกำลังกาย(หนัก)
ร่างกายและระบบการย่อยอาหารทำให้ช่วงเช้าไม่ใช่ช่วงเวลาที่ควรฝึกซ้อมออกกำลังกายหนัก แต่ควรเป็นเวลาอื่นของวันมากกว่า (เช่น ตอนเที่ยง) เรารู้ว่าออกกำลังกายแต่เช้าเพื่อให้สมองปลอดโปร่ง อันที่จริงการออกกำลังกายเบาๆอย่างการวิ่งจ๊อกกิ้งก็ถือว่าเพียงพอแล้ว การออกหนักเกินไปกลับเป็นผลเสียให้ร่างกายเหนื่อยล้าไม่พร้อมสู้หน้านี่อีกเป็นเหตุผลว่าทำไม การแข่งขันกีฬาใหญ่ๆ แทบไม่มีกีฬาไหนเลยที่จัดแข่งตอนเช้าตรู่
Morning Appreciation : สร้างพลังบวกตั้งแต่เช้าด้วยการขอบคุณ
ความสำเร็จจะมีความหมายอะไรถ้าไม่รู้สึกซาบซึ้งมัน จุดประสงค์ของการซาบซึ้ง (Appreciation) สิ่งรอบตัวตอนเช้า คือการสร้างพลังบวกให้ประทับลงในใจตั้งแต่เริ่มต้น เป็น First Impression ของวัน เรารู้ดีว่า ถ้าวันไหนมีเรื่องร้ายๆ เกิดขึ้นตั้งแต่เช้าตรู่ วันนั้นเราอาจอารมณ์เสียไปทั้งวันได้เลยการซาบซึ้งยังเป็นการหวนระลึกถึงความสำเร็จที่ผ่านมา และเป็นการ review เรื่องต่างๆ ไปในตัวลองซาบซึ้งสิ่งรอบตัวที่คุณมี-เป็น-ทำสำเร็จ
- บ้านหลังใหญ่ 4 ห้องนอน พร้อมรถในฝัน
- ครอบครัวที่อบอุ่น มีเวลาให้แก่กัน
- ธุรกิจราบรื่น สร้างประโยชน์ให้สังคมตามที่หวังไว้
- ร่างกายยังแข็งแรง สมองยังคิดงานหนักๆ ไหวอยู่
- ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อนบ้านเป็นมิตร
มนุษย์แต่ละคนจะมีความซาบซึ้งที่แตกต่างกันแต่ไม่ว่าจะซาบซึ้งแบบไหนกับใครก็ย่อมสร้างพลังบวกและเป็นการเริ่มต้นวันใหม่ที่ดีได้ไม่ยาก