บริษัท Minor Group ดีไหม? ปั้นคนคนสไตล์พี่ใหญ่

Minor Group มีพนักงานในเครือกว่า 75,000 คนทั่วโลกที่ทำงานในองค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม นี่คือองค์กรขนาดยักษ์ที่ทำธุรกิจรอบด้านมากๆ ทั้งร้านอาหาร รีเทล โรงแรม สำนักงาน และอีกเพียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรจึงน่าจะต้องมีมาตรฐานสูงมากและมีความเป็นสากลสูง น่าสนใจไม่น้อยว่า Minor Group มีวิธีปั้นคนในองค์กรยังไงบ้าง?

พัฒนาคนแบบยั่งยืน

 

อันดับแรก Minor นำเรื่องการพัฒนาทรัพยากรบุคคลบรรจุอยู่ใน 5 ค่านิยมขององค์กร (5 Core Values) โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม

 

1.สมาชิกในชุมชนด้อยโอกาส

 

ไม่ใช่แค่บริจาคการกุศลหรือทำ CSR แต่มีการลงทุนในชุมชนทั้งด้านการศึกษาและสาธารณูปโภค การบริจาคการกุศลคิดเป็นเพียง 15% ส่วนที่เหลือ 84% คือการลงทุนกับชุมชน

 

และให้โอกาสเปิดรับการจ้างงาน เมื่อคนเรามีงานทำ ชีวิตมีเปิาหมาย ลดปัญหาอื่นๆ ได้ลงตามมา ไม่แปลกที่พนักงานหลายคนในเครือ Minor เองจะออกมาร่วมเป็นจิตอาสาทำงานโดยไม่มีค่าตอบแทนมากกว่า 10,300 คนเลยทีเดียว

 

2.พนักงาน

 

เปิดรับความหลากหลาย Diversity ทั้งทางเพศสภาพหรือเชื้อชาติ รู้หรือไม่ว่า พนักงานของ Minor เป็นผู้หญิงถึง 51% และมีกว่า 171 เชื้อชาติ 

 

มีการตั้งโปรเจคท์ “More You” ยกระดับคุณภาพชีวิตและศักยภาพของพนักงาน สร้างมาตรฐาน Safety standard ขั้นสูงในการทำงาน สุขอนามัยระดับสูง ไม่ใช่แค่ลูกค้า แต่ออกแบบสภาพแวดล้อมหลังบ้านให้เหมาะกับการทำงานอย่างแฮปปี้

 

บริษัทเติบโตขึ้นทุกปี จึงต้องมีพนักงานมาร่วมงานเสมอ องค์กรจุงได้จัดตั้ง Minor Corporate University (MCU) โครงการฝึกอบรมนักศึกษา 1-2 ปี และเปิดโอกาสให้เข้าสู่การเป็นพนักงาน Minor

 

3.ผู้บริหารระดับสูง

 

เปิดกว้างด้าน career path เพื่อพัฒนาและรักษา talents เก่งๆ โดยในปีที่ผ่านมา มีการโปรโมทปรับพนักงานขึ้นเป็นระดับบริหารถึง 51% เลยทีเดียว เมื่อคนเก่งเหล่านี้อยู่ในตำแหน่งที่สร้าง impact ได้ใหญ่ขึ้น องค์กร ลูกค้า สังคมก็ได้ประโยชน์ตามไป

 

ตำแหน่งนี้คือผู้กำหนดทิศทางใหญ่ขององค์กร จึงมีการบริหารทรัพยากรบุคคลกลุ่มนี้อย่างเป็นระบบ เช่น 

  • จัดตั้งโปรเจคท์ M-Lead แก่ผู้บริหารระดับสูงสุด 25 คนจากทุกกลุ่มธุรกิจทั่วโลก มาเทรนเข้มข้นติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน 
  • หรือ โปรเจคท์ NGT เทรนเข้มข้น 3 เดือน ที่ถูกออกแบบมาเพื่อปั้นผู้บริหารรุ่นใหม่ในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยี AI สู่การเป็นความหวังใหม่ขององค์กรในอนาคต

 

เฟรมเวิร์คมืออาชีพ

 

เรียกได้ว่าในทุกขั้นตอนปั้นคนในทีมของ Minor จะอยู่ภายใต้หลักการ “เฟรมเวิร์ค” ในแทบทุกเรื่อง เพราะนี่คือองค์กรใหญ่ระดับสากล ต้องมีแม่แบบตัวกลางที่นำไปทำซ้ำได้ สื่อสารได้ เป็นที่ยอมรับในสากล

 

ตัวอย่างเบื้องต้น เช่น แม้แต่ในขั้นตอนการทำงานของพนักงาน มีเฟรมเวิร์ค “4R” ได้แก่ 

  • Refine – ด้านการเงิน ทำตามกฎหมายของแต่ละประเทศ จ่ายค่าจ้างเป็นธรรม มีแผนส่งเสริมวินัยการเงินของพนักงาน 
  • Risk – สถานที่ทำงานต้องปลอดภัย ลดอุบัติเหตุ มีมาตรฐาน safety standard มีการนำศาสตร์ ergonomics มาใช้
  • Review – ครอบครัวและสังคม องค์กรซัพพอร์ตความเป็นอยู่ของครอบครัวพนักงาน
  • Respond – ร่างกายและจิตใจ เทคแคร์สุขภาพพนักงาน มีการจัดโปรแกรมด้านสุขภาพกายใจและโภชนาการ

 

วัดที่ผลงาน

 

ไม่ต้องเป็นระดับผู้บริหารขั้นสูง…ก็โตในไมเนอร์ได้ คนระดับหัวหน้างานที่นี่มีทัศนคติที่ encourage ให้พนักงานทุกคนฉายแสงในแบบตัวเองโดยไม่ต้องรอให้ใครมาสั่งถึงค่อยทำ ไม่ต้องรอโอกาสแต่สร้างโอกาสขึ้นมาเอง

 

เปรียบเสมือนเป็นการจ้าง 100 แต่เล่น 1,000,000 ทั้งนี้ทั้งนั้น องค์กรก็แฟร์มากพอ ไม่ได้เอาเปรียบ แต่ต้องคอยสังเกตมองเห็น ถ้าเจอคนที่ใช่ก็ต้องมอบ career opportunity ให้อย่างแฟร์ๆ เพราะถ้าไม่ทำ ในระยะยาว คนเก่งแบบนั้นก็คงย้ายไปทำที่อื่น สูญเสียทรัพยากรเก่งๆ ไปอย่างไม่ควรเกิดขึ้น

 

มีวัฒนธรรมที่กำลังเบ่งบานอย่าง Reverse mentoring คือให้ผู้บริหารรุ่นใหม่ x รุ่นใหญ่ มาแลกเปลี่ยนกัน รุ่นใหม่ได้มุมมองประสบการณ์สุดเก๋าจากรุ่นใหญ่ที่หาไม่ได้และตัวเองอาจไม่ต้องเดินตามรอยผิดพลาด ส่วนรุ่นใหญ่ได้ลิ้มรสมุมมองโลกใบใหม่ที่ไม่คุ้นเคย พฤติกรรมคนที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่ไม่ชำนาญ เป็นการแลกเปลี่ยนที่ win-win ทั้งคู่

 

วัฒนธรรมองค์กร

โดยเฉพาะคนระดับ “หัวหน้างาน” ที่จะได้การปลูกฝัง people mindset หัวหน้างานที่นี่อาจจะต้องเก่งงานมากกว่าเก่งคนด้วยซ้ำ อย่างเช่น

 

  • รู้วิธีสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกทีมที่ท้อแท้ ผ่านชุดคำถามที่ถูกออกแบบมาเพื่อ inspire และผ่านเทคนิคต่างๆ เช่น visualization 

 

  • เปิดเผยตรงไปตรงมา ถ้าลูกน้องเดินเข้ามาแล้วบอกว่า “อยากเป็นแบบหัวหน้า , อยากทำตำแหน่งหัวหน้า(มาแทนที่)” หัวหน้าต้องอธิบายเส้นทางการเติบโต 1-2-3-4 ได้ว่าเขาควรทำยังไง

 

  • ไม่ใช่แค่ soft skills แต่หัวหน้าต้องดู hard skills ของลูกน้องออก และค้นหาทางสร้าง competitiveness ที่เป็นจุดแข็งสุดๆ เพื่อใช้แข่งขันได้ในระยะยาว

 

  • ต้องใส่ใจรายละเอียด รู้วิธีในการ recognize ลูกน้องที่ทำผลงานได้ดี และมอบพื้นที่ให้เขาได้รับการชื่นชม

 

ในภาพรวม Minor Group มีแนวทางการสร้าง People Development อย่างเป็นระบบและเป็นสากล มีส่วนผสมของศาสตร์และศิลป์อย่างลงตัว เมื่อคนเก่ง องค์กรก็พร้อมโต นี่จึงเป็นกรณีศึกษาชั้นเยี่ยมที่พวกเราน่าจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ไม่มากก็น้อย

 

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...
การประเมินผลการทำงาน
เตรียมตัวให้พร้อม : เคล็ดลับรับมือการประเมินผลการทำงานช่วงสิ้นปีอย่างมืออาชีพ
การประเมินผลการทำงาน คืออะไร?การประเมินผลการทำงาน คือกระบวนการประเมินผลงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเกณฑ์ตรงกลางที่บริษัทตั้งไว้ และพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้างานหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในการทำงาน...