Mindful Eating ฝึกสมาธิผ่านการกิน อยากนั่งสมาธิแต่ไม่มีเวลา? ขอแนะนำวิธีใหม่ของการฝึกสมาธิด้วย Mindful Eating

ใครๆ ก็บอกว่าการฝึกสมาธิจดจ่อกับตัวเองจะช่วยให้เราทำงานได้ดีขึ้น เรื่องแบบนี้ใครๆ ก็รู้ แต่จะมีสักกี่คนที่หาเวลามาฝึกสมาธิได้ทุกวันจริงๆ ส่วนใหญ่น่าจะจบที่การโหลดแอปฯ นั่งสมาธิมาไว้ในโทรศัพท์แล้วก็ปล่อยมันไว้อย่างนั้น

ทีนี้เราก็ไปเจอบทความนึงชื่อว่า “Slow down—and try mindful eating จาก Harvard Health Publishing เกี่ยวกับการกินอาหารสมาธิ ว่ามีวิธีการฝึกสมาธิอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า “Mindful Eating” หรือ “การฝึกสมาธิผ่านการกิน” นั่นเอง

การกินสมาธิ ที่ว่ามาคือการกินแบบรู้ตัวว่ากินอะไรอยู่ เช่น ให้เราตั้งใจสัมผัสรสชาติของอาหารตลอดว่ารสชาติตอนนี้เป็นยังไง คอยพิจารณาอาหารที่เรากำลังเคี้ยว และไม่ให้มีสิ่งรบกวนระหว่างทานอาหารเลย ซึ่งใช้เวลาประมาณ 20 นาทีในการกินหนึ่งมื้อ

โดยมีการทำวิจัยกับผู้เข้าร่วม 10 คน ให้มาลองฝึกกินสมาธิดูเป็นระยะเวลา 3 เดือน ผลปรากฎว่า นอกจากอาสาสมัครจะมีน้ำหนักเฉลี่ยลดลง 9 ปอนด์แล้ว ยังมีผลว่าแต่ละคน เครียดน้อยลง หิวน้อยลง และซึมเศร้าน้อยลงด้วย!

ทางผู้วิจัยเค้าบอกว่าช่วงเวลาของการกินนั้นเป็นเวลาที่ทุกคนมีเหมือนกันทุกวัน แต่หลายๆ คนก็มองข้ามไป อาจเพราะว่างานยุ่งอยู่แต่หน้าจอตลอด การฝึกแบบนี้ทำให้เราไม่ต้องหาเวลาว่างขึ้นมาใหม่ แต่ใช้เวลาเดิมให้มีสติมากขึ้น

โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ใครที่อยากจะฝึกการกินอย่างมีสติ มีคำแนะนำดังนี้

  1. หาพื้นที่ ที่สงบก่อนเริ่มกินอาหาร
  2. จับเวลา 20 นาที เริ่มกิน ห้ามลุกไปไหนหรือทำอย่างอื่นจนกว่าจะหมดเวลา
  3. ปิดสิ่งรบกวนพวก Notification ต่างๆ ให้หมด อยู่ให้ห่างจากโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์เข้าไว้
  4. ระหว่างกิน ให้โฟกัสกับอาหารที่อยู่ในปากคำต่อคำที่กำลังเคี้ยวอยู่
  5. วางช้อน-ส้อมทุกครั้งเมื่อกินเสร็จ 1 คำ ก่อนเริ่มคำถัดไป
  6. เคี้ยวแต่ละคำประมาณ 30 ครั้ง
  7. เมื่อต้องการเติมข้าวเพิ่ม หรือ ของหวาน ให้ถามตัวเองทุกครั้งว่า เราอิ่มแล้วหรือยัง

อ่านแล้วก็รู้สึกสนุกดี เหมือนเป็นการฝึกพิธีกรรมอะไรบางอย่าง แต่ก็เหมาะจริงๆ กับคนที่ไม่มีเวลาอย่างเราๆ ถ้าลองแล้วเป็นยังไง มาเล่าให้ฟังได้นะ

อ้างอิง : https://www.health.harvard.edu/…/slow-downand-try…

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง