Mental Rehearsal : ความสำเร็จแรกเกิดขึ้นภายในใจ

Mental Rehearsal
ตื่นเต้นร้อนรนจนใจเต้นไม่หยุด เพราะอาทิตย์หน้านี้มีพรีเซนต์บนเวทีสัมมนาใหญ่ที่มีผู้นำภาคธุรกิจกว่า 100 คนมารวมกัน…จึงหลับตาลง ทำจิตใจให้สงบ แล้วเริ่ม “จินตนาการ” ว่าตัวเองกำลังยืนพูดอยู่บนเวทีนั้น…

นี่คือเทคนิค “Mental Rehearsal” ที่ผู้นำในหลายวงการใช้กัน เทคนิคที่ไม่มีค่าใช้จ่ายนี้จะกลายมาเป็นเคล็ดลับความสำเร็จที่ผู้คนจากหลากหลายอาชีพทั้งนักธุรกิจชั้นนำระดับโลก / นักกีฬา / นักบินอวกาศ / แพทย์ / ศิลปิน ฯลฯ…สามารถเริ่มต้นทำได้!!

Mental Rehearsal เคล็ดลับของเหล่าคนสำเร็จ

Mental Rehearsal คือการ “ซักซ้อมในจิตใจ” (ซ้อมในหัว) เป็นการสร้างประสบการณ์ทางด้านจิตใจ “ฉายภาพ” เหตุการณ์เรื่องราวนั้นๆ ให้เกิดขึ้นในหัว มองเห็นได้ชัดเจนราวกับผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 (เช่น ได้กลิ่น / ได้ยินเสียง / ได้จับมือสัมผัสผู้คน)

นักวิจัยด้านประสาทวิทยาจาก Stanford University เผยว่า Mental Rehearsal จะเข้าไปรื้อระบบสมองตอบโต้อัตโนมัติที่บันทึกอยู่ภายในสมองชั้นใน (Reptilian brain) เพื่อเขียนระบบชุดใหม่ขึ้นมาตามที่เราต้องการอยากให้เป็น ซึ่งจะส่งผลต่อการไหลลื่นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในโลกความจริง

ในทางปฏิบัติเราจะรู้สึกมี “แรงต้าน” ที่น้อยลง เช่น ทำการซักซ้อมในใจเพื่อสร้างวินัยใหม่อย่างการออกกำลังกายแต่เช้าตรู่

เมื่อเราตื่นเช้าไปวิ่งออกกำลังกาย ก็สามารถลุกจากเตียง เปลี่ยนชุด ใส่รองเท้า แล้วไปวิ่งได้เลยโดยไม่มีขี้เกียจหรือผัดวันประกันพรุ่ง

Mental Rehearsal ดีอย่างไร?

Michael Phelps ให้ความสำคัญที่กระบวนการ…ไม่ใช่ผลลัพธ์ (หรือให้ความสำคัญที่ระหว่างทาง…ไม่ใช่ปลายทาง)

เทคนิคนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการฝึกซ้อมของเขาเลยทีเดียว โดยเขาทำ Mental Rehearsal ถึง 2 ชั่วโมง/วัน จินตนาการถึงสัมผัสของน้ำที่แหวกว่าย / กลิ่นอากาศรอบตัว / เสียงเชียร์ทั่วสนาม / การว่ายที่ทิ้งห่างคู่แข่งไปเรื่อยๆ / การแตะเส้นชัยเป็นคนแรก / จนไปถึงขึ้นจากสระมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงชัยชนะสดๆ ร้อนๆ

สิ่งสำคัญที่สุดเลยคือ การจินตนาการในหัวต้องยิ่ง “ละเอียด” ชัดเจน ยิ่งมีชีวิตชีวาสมจริงมากแค่ไหน ยิ่งช่วยให้การกระทำที่เกิดขึ้นจริงดีขึ้นมากเท่านั้น

ที่เป็นเช่นนี้เพราะ สมองของเราไม่สามารถ “แยกแยะ” จินตนาการที่ชัดเจนมากๆ (vividly imagined) กับ โลกความเป็นจริงได้ ถ้าเราสร้างจินตนาการในหัวที่ทรงพลังสุดๆ ได้ สมอง(และความมุ่งมั่นตั้งใจ) ของเราจะหาทางทำให้มันเกิดขึ้นจนได้

  1. มันทำให้เรารู้สึกได้ ”เตรียมตัว” มาก่อนแล้ว ควบคุมความวิตกกังวล ไม่ตื่นตระหนก ไม่ตื่นเวที (เพราะเหมือนเคยขึ้นมาแล้วในจินตนาการ!) จนไปถึงควบคุมความโกรธหรือความเจ็บปวดได้เลยทีเดียว
  2. มันสร้าง ”กิจวัตร” ประจำใหม่ขึ้นมา (Routine) เวลาปฏิบัติจริง คุณจึงเหมือนเคยผ่านมาแล้ว สมองจึงใช้พลังงานน้อยลงและมีศักยภาพเหลือพอไปคิดเรื่องอื่นแทน
  3. ในด้านทักษะ มีสิ่งที่เรียกว่า “ไม่รู้ตัวว่า ไม่รู้” (Unconsciously unskilled) แต่ Mental Rehearsal จะพัฒนาเราไปสู่ “รู้ตัวว่า รู้” (Consciously skilled) เพราะเราต้องได้ทั้งฝึกภายในจิตและฝึกในโลกจริง

ประยุกต์ใช้ธุรกิจได้หลายเรื่องมากๆ

ลองนึกภาพตัวอย่างต้องขึ้นพูดพรีเซนต์กลางเวทีใหญ่ (เช่น TedTalk)

จินตนาการว่า วันนั้นคุณแต่งตัวแบบไหน / สภาพบนเวทีเป็นอย่างไร / มุมมองวิวจากบนเวทีที่มองไปยังผู้ชม / แท่นพูดหน้าตาเป็นอย่างไร ไมค์อยู่สูงแค่ไหน มีขวดน้ำให้ไหม น้ำยี่ห้ออะไร 

คุณเริ่มต้นกล่าวทักทายผู้ชมอย่างไร / ใช้เทคนิคไหน มุขตลกหรือเริ่มด้วยปัญหา / ปฏิกิริยาสีหน้าที่คาดหวังจากผู้ชมเป็นอย่างไร / ระดับการหายใจตอนนี้ของคุณเป็นอย่างไร / ข้อสงสัยที่ผู้ชมอาจจะยกมือถาม / เสียงปรบมือกึกก้องหลังจบการพรีเซนต์ / ความรู้สึกหลังเดินลงเวทีเป็นอย่างไร

ก่อนถึง “วันเจรจาดีลธุรกิจ” กับลูกค้ารายใหญ่ ลองซ้อมในใจนึกภาพเส้นชัยที่ลูกค้าตอบ “ตกลง” / บรรยากาศในห้องประชุม ใครเข้าร่วมบ้าง แต่ละคนแต่งตัวอย่างไร / วาทศิลป์การโน้มน้าวและข้อมูลเชิงลึกที่คุณจะนำเสนอ / 

Mental Rehearsal ยังใช้ได้ดีในตลาดหุ้น สมมติคุณเป็นนักลงทุนมืออาชีพผู้คว่ำหวอดในวงการ และรู้มาว่ามี “หุ้นพื้นฐานดี” ตัวหนึ่งที่มีศักยภาพโตได้อีกหลายเท่า  

คุณอาจทำ Mental Rehearsal นึกภาพปลายทางวันที่คุณขายทำกำไรมหาศาลจากหุ้นตัวนี้ ผ่านวิกฤติเศรษฐกิจร้อนหนาวต่างๆ 

แม้ในชีวิตจริง ตลาดจะเจอกับความผันผวน ราคาหุ้นจะแกว่งขึ้นลงไปมา แต่คุณจะยังคงมีสติและถือหุ้นตัวนั้นอยู่จนไปถึงช้อนซื้อมาเก็บเพิ่ม จนถึงวันที่ปล่อยขายทำกำไรได้สำเร็จ

ก่อนถึง “วันลาหยุดยาว” พักร้อน ลองฝึกซ้อมในใจว่าอยากให้เป็นวันที่แสนพิเศษอย่างไร / นั่งริมชายหาดกับคนรัก มองทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาล คลื่นลมอ่อนๆ พลางจิบแชมเปญ / สถานที่พักโรงแรมอันหรูหรา บริการอันเป็นเลิศ / การปราศจากความเครียดจากการทำงาน

การคิดถึงความสุข ณ อนาคตแบบนี้ยังช่วยให้เรามี “ไฟ” ในการทำงานปัจจุบันตรงหน้า(ความสุขรออยู่)

หรือแม้แต่ในวงการกีฬา Muhammad Ali ทำการซักซ้อมในใจทุกครั้งเพื่อเตรียมตัวก่อนขึ้นชก สัมผัสเสียงเชียร์กึกก้องทั่วสังเวียน พร้อมที่จะรับหมัดรับความเจ็บปวด และพร้อมที่จะปล่อยหมัดน็อคอีกฝ่าย 

วิธีนี้ของเค้ายังเป็นต้นแบบให้แก่นักกีฬาโอลิมปิกรุ่นหลังที่ล่วงรู้เทคนิคนี้อีกด้วย

.

.

เราจะเห็นว่าการซักซ้อมในจิตใจสามารถถูกนำไปประยุกต์ใช้ได้แทบจะ “ทุกเรื่อง” เลยก็ว่าได้ ไม่มีขีดจำกัดแต่อย่างใด

ทุกการกระทำต่อจากนี้ อย่าลืมซ้อมในใจเพราะความสำเร็จแรก…เกิดขึ้นภายในจิตใจ

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 76