Less is More : ทำไมปริมาณทำน้อยลง แต่ คุณภาพกลับดีขึ้น

Less is More
Warren Buffett หมดเวลาแต่ละวันไปกับการนั่งเฉยๆ และขบคิด หรือ Twitter จำกัดตัวอักษรเพียงน้อยนิดในแต่ละโพส นี่คือตัวอย่างของ “Less Is More” ทำในปริมาณที่น้อยลง แต่ กลับได้คุณภาพมากขึ้น ข่าวดีคือหลายองค์กรทั่วโลกเริ่มนำแนวคิดนี้มาใช้แล้ว

เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?

จะเข้าใจคอนเซ็ปต์ “Less is More” ในปัจจุบันได้ เราต้องย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ภาพใหญ่กันก่อน

เป็นเวลากว่า 500 ปีแล้วที่โลกเราใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) ซึ่งตั้งอยู่บนรากฐานของการเติบโต (Growth) อย่างไม่สิ้นสุด

แก่นของการเติบโตนี้ แทบไม่สนใจเลยว่าคุณทำได้ ‘มาก’ เท่าไร แต่สำคัญที่ว่าคุณทำได้ “มากกว่าเดิม” เท่าไร (โตขึ้นจากปีที่แล้วเท่าไร)

ในศตวรรษที่ 19 GDP ของทั้งโลก ยังมีมูลค่าน้อยกว่า $1 trillion

  • ปี 1985 GDP ของทั้งโลกอยู่ที่ $12 trillion
  • ปี 2015 GDP ของทั้งโลกอยู่ที่ $75 trillion
  • ปี 2025 GDP ของทั้งโลกคาดว่าจะอยู่ที่ $116 trillion

ระบบทุนนิยมนำพาอารยธรรมมนุษย์ก้าวไกลมาถึงจุดนี้ เราเพียบพร้อมไปด้วยเทคโนโลยี แค่ชนชั้นกลางปัจจุบันก็มีชีวิตความเป็นอยู่บางอย่างที่สะดวกสบายกว่าพระราชาในยุคสมัยก่อนแบบเทียบไม่ติด

เบื้องหลังการเติบโต มาพร้อมการขยันทำงานหนักของมนุษย์แบบพวกเรา คิดไอเดียใหม่ๆ หาตลาดใหม่ๆ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง…แนวคิด “More Is More” จึงอยู่ในกระแสหลักมาเนิ่นนาน

ทุกคนคิดว่า “ยิ่งมากยิ่งดี”…สินค้ายิ่งมากยิ่งดี บริการยิ่งเยอะยิ่งดี พนักงานทำงานหนักเข้าไว้ยิ่งดี เอาให้ถึงลิมิต แต่นั่นมาพร้อมความเครียดที่มากเกินไป ความกดดัน…ความทุกข์ในการทำงานแบบไม่มีที่สิ้นสุดเช่นกัน นำไปสู่ปัญหาคลาสสิกที่คนทำงานประสบพบเจอทั่วทุกมุมโลกนั่นคือ “Burnout & Brownout” หมดใจและหมดแรงในการทำงาน

และเพราะชีวิตคนเรามีหลายด้าน “More” ในที่นี้จึงส่งผลกระทบถึงมิติอื่นของชีวิตที่ต้องเสียไป ทั้งความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง / สุขภาพ / ครอบครัว / จิตวิญญาณ / อุทิศตนเพื่อสังคม 

และไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ ความเจริญทางวัตถุมี “ราคา” ที่ต้องจ่าย และสิ่งนั้นคือสิ่งแวดล้อม-ระบบนิเวศน์ของโลกที่เสื่อมโทรม ถึงขนาดที่ทาง UN ออกมาประกาศว่า ถ้าเรายังเติบโตแบบเดิมๆ หลายพื้นที่ของโลกจะไม่สามารถอยู่อาศัยได้อีกต่อไปเมื่อจบศตวรรษที่ 21 นี้

หลายภาคส่วนจึงเริ่มตระหนักแล้วว่า มันอาจไม่ใช่ More Is More อย่างที่คิด แต่เริ่มกลายเป็น More Is Less ต่างหาก

แนวคิดที่กลับขั้วกันอย่าง “Less Is More” จึงเริ่มถือกำเนิดขึ้น

เทรนด์ของโลกที่โอบกอด Less is More

Stakeholder Capitalismคือคำที่ถูกพูดถึงอย่างเข้มข้นในรอบ 10 ปีมานี้ ที่ทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะต้องแคร์ People & Planet (ไม่ใช่แค่ shareholder ผู้ถือหุ้นอีกต่อไป) 

บริษัทของเราทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่ / รีไซเคิลเพิ่มขึ้นได้อย่างไร / โรงงานปล่อยมลพิษมากเกินไปสู่ชุมชนหรือไม่ / ปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมรึเปล่า

.

.

Makoto Marketing การตลาดที่มาจากใจของหลาย SMEs ทั่วญี่ปุ่น ซึ่งมีพื้นฐานการทำธุรกิจที่แข็งแกร่งและยั่งยืนมาเป็นเวลาหลาย 100 ปีแล้ว (ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีบริษัทเก่าแก่จำนวนมากที่สุดในโลก) 

ยอดขายและการขยายสาขาอาจไม่หวือหวา ฐานลูกค้าอาจไม่ใหญ่แต่ดูแลได้อย่างทั่วถึง สินค้าอาจไม่เยอะแต่การันตีคุณภาพ

.

.

Less Is More อยู่รอบตัวเรากว่าที่คิด และบางบริษัทก็ประสบความสำเร็จจากเรื่องนี้โดยตรง เช่น Twitter ที่แรกเริ่มจำกัดตัวอักษรแค่ 140 ตัว ช่วงแรกมันฟังดูไม่น่าเวิร์คเลยและไม่น่ามีคนสนใจ 

แต่ปรากฎว่าผู้บริโภคกลับไม่คิดเช่นนั้น เพราะยิ่งจำกัดมากเท่าไร ยิ่งเป็นการกลั่นกรองความคิดให้เฉียบคมมากเท่านั้น ปัจจุบัน Twitter จึงกลายเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดที่หลักแหลมและทันต่อทุกกระแสสังคม

.

.

Warren Buffett กูรูด้านการลงทุนของโลกเคยกล่าวว่า 

“หลายคนที่ไม่รู้จักผม มักคิดว่าวันๆ ผมคงอยู่แต่หน้ากระดานหุ้น ประชุมเช้ายันค่ำ หรือวุ่นกับการเดินสายเจรจากับนักธุรกิจใหญ่ แต่ความจริงแล้วเปล่าเลย…ผมใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันไปกับการ…นั่งเงียบๆ และขบคิด

เขาเสริมต่อว่า ไม่ใช่แค่สิ่งที่ได้ทำ…สิ่งที่คุณ “ไม่ได้ทำ” ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน การทำอะไรเยอะๆ วุ่นๆ อยู่ตลอด ใช่ว่าจะดีเสมอไป

เริ่มต้น Less Is More ได้อย่างไร?

ก่อนอื่นได้เข้าใจว่าแนวคิด “ทำน้อยได้มาก” ไม่ใช่ความขี้เกียจ ไม่ใช่การอยากนอนตื่นสาย ไม่ใช่การไร้ซึ่งความฝัน และไม่ได้ปฏิเสธความทะเยอทะยานแต่อย่างใด

แต่เป็นการกลับสู่ “สมดุล” โดยมีมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเป็นหัวใจหลัก

โดยขั้นตอนแรกคือการ “Focus” โฟกัสแค่เรื่องสำคัญ (จะดีมากถ้าเหลือแค่ ‘เรื่องเดียว’) 

เมื่อเราโฟกัส ก็เป็นการตัดเรื่องอื่นทิ้งไปโดยปริยาย

จากนั้น หยิบมันออกมา break down ว่ามีขั้นตอน “ยิบย่อย” อะไรบ้างในการไปถึงเป้าหมาย ก่อนลงมือทำทีละเล็กทีละน้อย วิธีนี้นอกจากเราจะเข้าใจรายละเอียดแล้ว ยังรู้สึกถึง “ความสำเร็จเล็กๆ” ระหว่างทาง

การโฟกัสยังสอดคล้องกับสมองมนุษย์ที่จดจ่อได้ไม่เกิน 2-3 เรื่อง (ดีที่สุดคือแค่ 1 เรื่อง) ถ้าเกินกว่านี้ ประสิทธิภาพจะแย่ลงทันที

กรณีถ้าคุณเป็นบริษัทเกิดใหม่ การโฟกัสไม่ใช่แค่เรื่องประสิทธิภาพ แต่อาจเป็น “วิธีเดียว” ที่คุณทำได้ด้วยซ้ำในช่วงตั้งไข่

  • Facebook เริ่มจากการโฟกัสเชื่อมโยงนักศึกษามหาวิทยาลัยเท่านั้น
  • Amazon เริ่มจากการโฟกัสขายหนังสือออนไลน์เท่านั้น

จากนั้น เทคนิคที่ยอมรับกันในสากลคือ K.I.S.S. หรือ Keep It Short and Simple ซึ่งประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่อง ยิ่งสั้นเท่าไร-ยิ่งเข้าใจง่ายเท่าไร-ยิ่งใช้งานง่ายเท่าไร…ยิ่งดี

ความเรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพนี้ยังเป็นตัวขับเคลื่อนความสุขของพนักงานด้วย เมื่อพนักงานทำงานบริษัทนี้แล้วมีความสุข ก็อยากทำไปนานๆ และยิ่งอยากสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ

เดี๋ยวนี้บริษัทยุคใหม่ ยกให้ “ความสุขของพนักงาน” เป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก เพื่อใช้เป็นแรงจูงใจในการเพิ่ม productivity / การมีส่วนร่วม / และความจงรักภักดี ในเวลาต่อมา 

เช่น Ben & Jerry’s ยอมกำไรน้อยลง เพราะไปเพิ่มในส่วนสวัสดิการ โดยให้
ไอศครีม 3 Pints ฟรีแก่พนักงานเอากลับบ้านได้ทุกวัน 

เรื่องนี้ใช้ได้ดีในทางจิตวิทยา เมื่อพนักงานทุ่มเทให้บริษัททำงานมาเหนื่อยๆ ทั้งวัน เมื่อจบวันก็ปิดท้ายด้วยไอศครีม Ben & Jerry’s อร่อยๆ สดชื่นผ่อนคลาย ให้ความรู้สึกเหมือนบริษัทได้ “ตอบแทนกลับคืน” (และขอบคุณ) พวกเค้าในทุกวัน

.

.

Siegel+Gale บริษัทที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการสร้างแบรนด์ ได้จัดทำ World’s Simplest Brands Index โดยมีนัยสำคัญพบว่า ตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา บริษัทไหนที่ยิ่งมีความน้อยและเรียบง่ายในทุกอณู ตั้งแต่บรรยากาศออฟฟิศ / ขั้นตอนการทำงาน / การใช้งานผลิตภัณฑ์…จะมี Performance ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 679%

หรือ Google มีการตกแต่งออฟฟิศแบบเป็นกันเอง / พนักงานมีสิทธิ์เลือกได้ว่าจะมาทำงานวันไหน หรือทำที่ไหนก็ได้ / องค์กรเป็นแบบราบ ไม่มีอนุมัติซับซ้อนแต่อย่างใด

.

.

เราจะเห็นว่าแนวคิด “ทำน้อยได้มาก” เริ่มแพร่หลายทดลองใช้กันในหลายธุรกิจ ซึ่งน่าจะทำให้ภาพรวม คนทำงานมีความสุขขึ้นและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น…ต่อไปก็ถึงตาคุณแล้ว “ทำน้อย แต่ ได้มาก”

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...
การประเมินผลการทำงาน
เตรียมตัวให้พร้อม : เคล็ดลับรับมือการประเมินผลการทำงานช่วงสิ้นปีอย่างมืออาชีพ
การประเมินผลการทำงาน คืออะไร?การประเมินผลการทำงาน คือกระบวนการประเมินผลงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเกณฑ์ตรงกลางที่บริษัทตั้งไว้ และพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้างานหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในการทำงาน...