Law of Jante : เคล็ดลับการทำงาน & ใช้ชีวิต ของชาวสแกนดิเนเวียน

law of jante
ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ล้วนเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งสิ้นมี GDP/หัว สูงที่สุดอันดับต้นๆ ของโลกติด Top5 ประเทศที่ผู้คนมีความสุขที่สุดในโลก

ทั้งด้านความสุข ความเจริญของประเทศ หรืออุปนิสัยการทำงาน ทุกอย่างล้วนอยู่ภายใต้ปรัชญาที่ชาวสแกนดิเนเวียนแชร์ร่วมกันหมดนั่นคือ “Law of Jante” 

(ปล. ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย หลักๆ มีอยู่ 3 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ สวีเดน / นอร์เวย์ / เดนมาร์ก )

Law of Jante คืออะไร? 

“กฎของยานเต้” เป็น Mindset ปรัชญาการดำเนินชีวิต & การทำงานที่ชาวสแกนดิเนเวียนยึดถือปฏิบัติมาช้านานแล้ว

มีใจความสรุปได้ว่า…”คุณอาจไม่ได้ดี-เก่ง-เหนือไปกว่าผู้อื่น”

ซึ่งเป็นรากฐานความคิดที่ส่งเสริมความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ การเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน ความซื่อสัตย์สุจริต และถ่อมตนอย่างพินอบพิเทา…ซึ่งจะว่าไป ก็เป็นคาแรคเตอร์ของชาวสแกนดิเนเวียนเลยทีเดียว

โดยถ้าว่าตามหลักการแล้ว กฎของยานเต้มีอยู่ 10 ข้อด้วยกัน

  1. อย่าคิดว่าตัวเอง…พิเศษเลิศเลอ
  2. อย่าคิดว่าตัวเอง…เป็นคนดีศรีประเสริฐ
  3. อย่าคิดว่าตัวเอง…ฉลาดกว่าผู้อื่น
  4. อย่าคิดว่าตัวเอง…เหนือกว่าผู้อื่น
  5. อย่าคิดว่าตัวเอง…มีมากกว่าผู้อื่น
  6. อย่าคิดว่าตัวเอง…สลักสำคัญกว่าผู้อื่น
  7. อย่าคิดว่าตัวเอง…เก่งไปซะทุกเรื่อง
  8. อย่าคิดว่าตัวเอง…จะได้รับความสนใจจากผู้อื่น
  9. อย่าคิดว่าตัวเอง…จะเที่ยวไปสั่งสอนผู้อื่นได้
  10. อย่าหัวเราะเยาะผู้อื่น (ความคิด, รูปลักษณ์, การกระทำ)

เราจะจับใจความได้ว่า ทุกข้อล้วนต้องการสื่อว่าเราอาจไม่ได้ดี-เก่ง-เหนือไปกว่าคนอื่น จึงควรปฏิบัติต่อกันอย่างให้เกียรติในฐานะเพื่อนมนุษย์ 

อย่าเข้าใจผิดกฎของยานเต้ไม่ได้ทำให้คุณ “ด้อยค่า” ตัวเอง หากแต่เป็นการ “มองเห็นคุณค่า” ในตัวผู้อื่นต่างหาก นำไปสู่ Team Spirit สปิริตการให้ความร่วมมือทำงานกันเป็นทีมนั่นเอง

(กฎของยานเต้จึงเป็นแนวคิดที่แทบจะอยู่ขั้วตรงข้ามกับแนวคิดแบบปัจเจกชน Individualism หรือแนวคิดการแบ่งชนชั้น เช่น “ตั้งใจเรียนสูงๆ โตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน”)

Law of Jante ในชีวิต & การทำงาน

ในแง่ของความสุข การที่เรามี Law of Jante อาจทำให้เรามี “เป้าหมาย” ขนาดกลางๆ ไม่ยิ่งใหญ่เว่อร์วัง ข่าวดีคือ มีโอกาสที่จะทำสำเร็จได้มากกว่า และกรณีถ้ามันให้ผลลัพธ์ที่สูงเกินความคาดหมายไปมาก ก็มีแนวโน้มทำให้มีความสุขเพิ่มมากขึ้นตาม

Image Cr. bit.ly/3u9IDz2

เรื่องนี้สอดคล้องกับผลวิจัยจาก University College of London (UCL) ว่า การมีความคาดหวังที่ต่ำ (Low expectation) สามารถช่วยกระตุ้นความสุขมากขึ้นได้

Image Cr. bit.ly/3u9IDz2

การมีเป้าหมายไม่ใหญ่โตโอ่อ่า ยังสอดคล้องกับคำพูดของ Alexander Loyd ผู้เขียนหนังสือขายดีอย่าง Beyond Willpower ที่กล่าวว่า 

“Don’t set yourself for failure.” ในช่วงเริ่มต้น อย่าทำอะไรที่ใหญ่เกินตัว (ประเมินตัวเองสูงไป) เพราะมักนำไปสู่ความท้อแท้และล้มเหลว เช่น

  • การทำงาน: เริ่มงานวันแรกอย่าหักโหมวันละ 12 ชั่วโมง
  • การออกกำลังกาย: อย่าเริ่มต้นด้วยการวิ่งวันละ 10 กิโลเมตร

สำหรับในแง่การทำงาน บริษัทอาจตั้งข้อสงสัยกับพนักงานคนนี้ที่มี กฎของยานเต้ (เช่น ไม่ได้ฝันใหญ่) ว่าจะบั่นทอนความคิดสร้างสรรค์หรือไม่?

แต่ไม่ต้องห่วงว่า Law of Jante จะทำให้พนักงานไม่ Productive หรือขี้เกียจ ในทางตรงข้าม กลับกลายเป็นว่ามันเป็นเครื่องเตือนสติในการ “คิดวิเคราะห์” อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ไม่ได้มองอะไรแบบผิวเผิน และมี Empathy เอาใจเค้ามาใส่ใจเรา เช่น

  • สอบถามความคิดเห็นเพื่อนร่วมงานเพื่อให้มีมุมมองหลากหลายด้าน (เพราะคิดว่าเราไม่ได้ฉลาดกว่าคนอื่น…ละทิ้งอีโก้)
  • หาวิธีใหม่ๆ ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้ดูแตกต่าง (เพราะคิดว่าถ้าทำอะไรเดิมๆ แล้วใครจะมาสนใจเรา…ไม่ได้เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล)

และด้วยแนวคิดที่ย้ำเตือนเสมอว่าคุณอาจไม่ได้ดี-เก่ง-เหนือไปกว่าผู้อื่น ก็ทำให้คุณอยากที่จะพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ (Continuous improvement) ซึ่งคือหัวใจในการทำงานของยุคนี้เลยที่อะไรเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก

นอกจากนี้วัฒนธรรมการทำงานของชาวสแกนดิเนเวียน หัวหน้าจะเป็นฝ่าย “มอบ” ความไว้วางใจให้ลูกน้องก่อนเลย (Give trust first) ที่เหลือ…เป็นหน้าที่ลูกน้องที่จะต้องพิสูจน์ตัวเองแล้วว่าทำได้หรือไม่ นี่อาจเป็นวิธีเข้าสู่ “Flow State” ได้อย่างราบรื่น เพราะเมื่อเราปราศจากความ “กังวล” ก็สามารถโฟกัสงานตรงหน้าได้เต็มที่ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ 

และต้องไม่ลืมว่า พนักงานที่ยึดมั่นใน กฎของยานเต้ ยังช่วยลดปัญหา “การเมืองในที่ทำงาน” ลงได้ เพราะทุกคนเคารพซึ่งกันและกัน อยู่ภายใต้กฎทั้ง 10 ข้อ

ประเด็นเรื่องความเท่าเทียมและคอร์รัปชั่นก็น้อยลงตามถ้าทุกคนยึดมั่นกฎของยานเต้ซึ่งประเทศแถบสแกนดิเนเวียมีสถิติอันน่าประทับใจมาโดยตลอด

  • สวีเดน อยู่อันดับ 2 ของโลก ประเทศที่เหมาะแก่การทำธุรกิจ
  • นอร์เวย์ อยู่อันดับ 2 ของโลก ในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ
  • เดนมาร์ก อยู่อันดับ 1 ของโลก เรื่องการคอร์รัปชั่นที่ต่ำมาก

Law of Jante ไม่ได้จำกัดศักยภาพของคน มันแค่คอยเตือนสติเราไม่ให้ประมาทเลินเล่อ ในภาพใหญ่ เราสามารถดูได้จากตัวอย่างแบรนด์สัญชาติสแกนดิเนเวียนที่โด่งดังไปทั่วโลก เช่น

AstraZeneca / IKEA / Skype / H&M / Volvo / Spotify / Nokia / Lego / Carlsberg / Saab / Ericsson / Bang & Olufsen ฯลฯ

ปัจเจกชนชาวสแกนดิเนเวียนยังขึ้นว่ามีการศึกษาสูง เป็นแรงงานมีฝีมือ ซึ่งก็สะท้อนมาสู่รายได้เฉลี่ยที่สูงตาม 

  • GDP/หัว ชาวสวีเดน 138,000 บาท/เดือน
  • GDP/หัว ชาวเดนมาร์ก 160,000 บาท/เดือน
  • GDP/หัว ชาวนอร์เวย์ 208,000 บาท/เดือน

เราจะเห็นชัดเจนเลยว่า Law of Jante ไม่ได้ฉุดรั้งความสามารถของมนุษย์ หากแต่มันตอกย้ำถึง “คุณค่า” ที่เราควรปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่าง ความเท่าเทียม / การเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน / ความซื่อสัตย์สุจริต / หรือความอ่อนน้อมถ่อมตน

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...
การประเมินผลการทำงาน
เตรียมตัวให้พร้อม : เคล็ดลับรับมือการประเมินผลการทำงานช่วงสิ้นปีอย่างมืออาชีพ
การประเมินผลการทำงาน คืออะไร?การประเมินผลการทำงาน คือกระบวนการประเมินผลงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเกณฑ์ตรงกลางที่บริษัทตั้งไว้ และพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้างานหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในการทำงาน...