บริษัท La Marzocco น่าทำงานด้วยขนาดไหน

ถ้าทุกวันนี้คุณเข้าร้านกาแฟหรือคาเฟ่เกรดพรีเมียม เมื่อเดินตรงไปหน้าเค้าเตอร์เครื่องชงกาแฟและสังเกตซักนิด คุณจะพบว่าแทบทุกร้านมักใช้เครื่องชงกาแฟยี่ห้อ La Marzocco

นอกจากจะเป็นแบรนด์ที่ประจำการอยู่แทบทุกร้านกาแฟ & คาเฟ่หรู แล้ว La Marzocco ยังเป็นแบรนด์ที่เป็นกรณีศึกษาน่าสนใจต่อการบิ้วด์ทีมพนักงาน มีเก๋เท่ มีเอกลักษณ์ไม่ต่างจากเครื่องชง

 

องค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น

 

La Marzocco ก่อตั้งเมื่อปี 1927 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เริ่มมาจากโรงงานขนาดเล็ก ผลิตเครื่องชงเอสเพรสโซ่แบบ customize ให้ลูกค้าจนมีชื่อเสียง ก่อนประสบความสำเร็จไปทั่วโลก 

 

โดยการขยายกิจการแต่ละครั้งไม่ว่าจะไปสู่ประเทศใดก็ตาม La Marzocco จะต้องจัดอบรมพิเศษเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานทุกคนมีความเข้าใจในวัฒนธรรมของเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลีที่เป็นจุดเริ่มต้นขององค์กร เพราะผู้บริหารเชื่อว่ารายละเอียดเหล่านี้คือ มรดก (Heritage) ที่คนรุ่นก่อนมอบไว้ให้อย่างสมบูรณ์

 

ความน่าสนใจคือ เมื่อโกอินเตอร์ไปตั้งสาขาใหม่ตามที่ต่างๆ แบรนด์ให้ความสำคัญมากในการจัด Training พนักงานอย่างเป็นระบบ เพราะมีทัศนคติว่าองค์ความรู้เหล่านี้คือ มรดกตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น อิตาลีมีแบรนด์เก่าแก่อายุหลายร้อยปี เพราะมีการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นนั่นเอง

 

หมายความว่า พนักงานของ La Marzocco ไม่ได้แค่ทำหน้าที่ในตำแหน่งตัวเองเท่านั้น แต่มีภารกิจซ่อนเร้นคือการสืบทอดองค์ความรู้ด้านเครื่องชงกาแฟเหล่านี้ต่อไปผ่านการเรียนรู้เข้าหัวตัวเอง สอนงานคนอื่น จนไปถึงนำเสนอแก่ลูกค้าทุกคน

 

พนักงานจะไม่ได้ทำความรู้จักเครื่องชงกาแฟ La Marzocco แค่ด้านฟังก์ชั่นการใช้งานหรือเทคโนโลยี แต่ต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ของแบรนด์ วัฒนธรรมองค์กร สไตล์กาแฟแบบอิตาลี วิวัฒนาการของเครื่องชงกาแฟในยุคต่างๆ รวมถึงงานดีไซน์ของตัวเครื่องที่มีความเป็นศิลปะในตัวมันเอง

 

ขั้นกว่าของ Inclusion & Diversity

 

ไม่ต่างจากกาแฟที่คนทั่วโลกทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติดื่มเอนจอยกัน…La Marzocco ก็คิดว่าการทำงานที่นี่จึงต้องเป็นสถานที่เปิดรับทุกคนด้วยเช่นกัน

 

ข้อเท็จจริงคือ La Marzocco เป็นแบรนด์ระดับโลกที่มีพนักงานกว่า 25 สัญชาติ ให้บริการใน 120 ประเทศทั่วโลก ความหลากหลายของพนักงานจึงเป็นของคู่กันกับแบรนด์

 

มีการออกแบบกลไกช่วยเหลือทีมที่มีความหลากหลาย เช่น เวิร์คชอปด้านการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (Intercultural communication workshops) ทำให้พนักงานที่มาจากคนละวัฒนธรรมเข้าใจความแตกต่างและเคารพกันมากขึ้น เช่น

 

  • คนจีนอาจไม่ค่อยชอบโค้งหัวขอบคุณ เพราะรู้สึกเหมือนตัวเองกำลังสยบยอมอีกฝ่าย
  • หรือในการทำงานกับชาวอิตาลี พวกเค้ามักสื่อสารกันด้วย Body language มีการชี้ไม้ชี้มือเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา Expats ที่มาประจำการก็ต้องปรับตัวตาม

 

มีการจัดตั้งหน่วยตรวจสอบวัฒนธรรมภายในองค์กร (Internal cultural audit) เพื่อค้นหาข้อบกพร่องของวัฒนธรรมองค์กร หรือจุดที่พัฒนาต่อยอดได้อีก หน่วยนี้จะไปสัมภาษณ์เชิงลึกพนักงานโดยไม่เปิดเผยตัวตนในแต่ละแผนก เพื่อดูว่าพวกเค้าคิดเห็นยังไงกับองค์กร ทั้งด้านสภาพแวดล้อมออฟฟิศดีพอไหม? สวัสดิการแฟร์ไหม? การทำงานจุดไหนบ้างที่รู้สึกยังไม่ยืดหยุ่นพอ?

 

แบรนด์ยังจัดคลาสอบรมเพื่อป้องกันการเกิดอคติโดยไม่รู้ตัว (Unconscious bias) เช่น เมื่อมีการเฟ้นหาพนักงานขึ้นสู่ระดับหัวหน้า หัวหน้าบางคนอาจโฟกัสไปที่ผู้ชายเป็นหลัก ทั้งที่แคนดิเดตผู้หญิงคนอื่นอาจมีความคุณสมบัติไม่แพ้กัน

 

จ้างงานแบบมนุษยธรรม

 

แบรนด์ยังเปิดกว้างกับการจ้างพนักงานที่มีภูมิหลังเป็น ผู้ลี้ภัยทางการเมือง (Political asylum) แบรนด์รู้ว่าคนเหล่านี้มักเป็นคนที่มีความคิดหัวก้าวหน้า แต่กลับเป็นฝ่ายถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรม พวกเค้าลี้ภัยมายังดินแดนที่ยุติธรรมกว่าเดิม…จึงควรให้โอกาส

 

ประเด็นนี้เรียกเสียงชื่นชมจากสังคมไม่น้อย และแบรนด์สามารถใช้เป็น asset ในการโปรโมตทำ Employer branding ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

นี่เป็นกรณีศึกษาที่ดูเรียบง่ายแต่ใส่ใจกับผลลัพธ์ ในท้ายที่สุด แบรนด์ได้รับรางวัล “Great Place to Work” ตั้งแต่ปี 2020 และได้รับติดต่อกันมาถึงปัจจุบัน ก็น่าจะเป็นเครื่องการันตีได้ว่า La Marzocco เป็นองค์กรที่ใส่ใจคุณภาพชีวิตพนักงานอย่างถึงที่สุด



อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Laura Vanderkam
ไม่มีคำว่า “ไม่มีเวลา” อีกต่อไปถ้าคุณมี Mindset แบบนี้ โดย Laura Vanderkam นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา
สรุปวิธีคิดที่จะทำให้คุณ “มีเวลา” สำหรับสิ่งสำคัญในชีวิต โดยลอรา แวนเดอร์แคม (Laura Vanderkam) นักเขียนชื่อดังด้านการจัดการเวลา ผู้บรรยาย TED Talk ที่มียอดวิวหลายล้าน...
Vacation Blues
10 เคล็ดลับ "Bounce Back" สลัดอาการ "Vacation Blues" ให้หายเป็นปลิดทิ้ง!
อาการ “Vacation Blues” หรือความเศร้าหลังไปเที่ยวหยุดยาว เป็นอาการปกติที่เล่นงานคนทำงานอย่างหนักอึ้ง ซึ่งเกิดขึ้นกับคนทำงานหลายคนโดยเฉพาะช่วงหยุดยาว อย่างไรก็ตามการจมกับความเศร้าหลังเที่ยวไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก...
Harvard Business Review
ผลสำรวจพบเทรนด์ใหม่คนทำงาน เลือกใช้ AI ดูแลจิตใจแซงการทำงาน โดย Harvard Business Review
งานวิจัยจาก Harvard Business Review เพิ่งออกมา มีผลสำรวจพบว่าคนทำงานเปลี่ยนการใช้ AI จากเครื่องมือทำงาน มาเป็น “เพื่อนคู่ใจ” แทน สิ่งที่เปลี่ยนไปในปี...