Job Demotion – กลยุทธ์ที่หัวหน้ามองข้าม แต่อาจทำให้คนทำงานแฮปปี้ขึ้น

ปกติเวลาเราพูดว่า ต้องการทำให้องค์กร productive / creative / scalable ขึ้น กลยุทธ์มักโฟกัสไปที่การ “เพิ่ม” เข้าไปให้มากขึ้น ใหญ่ขึ้น ถี่ขึ้น เข้มข้นขึ้น โดยลืมไปว่า บางเรื่องอาจจะ Less is more ทำน้อยแต่ได้มาก…น้อยๆ แต่เน้นๆ อาจจะดีกว่า

Job Demotion หรือการ “ปรับลดตำแหน่งพนักงาน” เป็นกลยุทธ์ที่เข้าข่ายเรื่องนี้…ถูกลดเกรด แต่สุดท้ายกลับได้คุณภาพพรีเมียมขึ้น

 

สมัยก่อน คำนี้มักมีภาพลักษณ์ที่น่ากลัวเวลาได้ยินครั้งแรก และคนมัก assume ไปว่าพนักงานคนนั้นต้องไร้ศักยภาพ หรือองค์กรอยู่ในช่วงขาลงเลยต้องทำอะไรแบบนี้แน่เลย

 

แต่ถ้าเรามาดูรายละเอียดดีๆ บางทีอาจไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด กลับกัน เป็นประโยชน์ win-win กับทุกฝ่ายมากขึ้นด้วยซ้ำ! โดยเฉพาะในยุคสมัยนี้ Job demotion หลายเคสมาจากความต้องการของตัวพนักงานเอง! เพราะต้องการ work-life balance ที่ดีขึ้น หรือตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ไม่คุ้มเสียกับสิ่งที่ต้องเสียต้องเสียแลกไป

 

คือ Talent คนนั้นอ่านเกมออก มองตัวเองขาด เพราะค้นพบว่าได้กำหนดลิมิตเพดานไว้เท่านี้ซึ่งเป็นจุดลงตัวที่สุดแล้ว (Equilibrium) ทั้งความรับผิดชอบ ความกดดัน สถานะ จนไปถึงรายได้ กล่าวคือ เจ้าตัวไม่อยากโตไปมากกว่านี้แล้วเพราะรู้ว่า “ยิ่งสูง-ยิ่งหนาว” ตำแหน่งยิ่งใหญ่โต ความรับผิดชอบยิ่งมากตาม ความเครียดทวีคูณ เวลาว่างกับครอบครัวน้อยลง ชีวิตมีแต่งาน งาน งาน แม้ผลตอบแทนจะสูงขึ้น…แต่ก็มองว่าไม่คุ้มค่าที่จะแลก

 

ในมุมหนึ่ง Job demotion ไม่ใช่การลงโทษ แต่เป็นเหมือนการถอยกลับมาหนึ่งก้าว…เพื่อก้าวกระโดดต่อไปในอนาคต เป็นการเปลี่ยน Talents คนใหม่มาแทนที่ที่มีความเหมาะสมกว่า Put the right man on to the right job 

 

และถือเป็นการปกป้องบริษัทไปในตัว เพราะเหตุผลยืนหนึ่งของ Job demotion ค่อนข้างตรงไปตรงมา นั่นคือ Talents ในทีมคนนั้น perform ได้ไม่ดีเท่าที่คาดหวัง เช่น ทำยอดขายไม่เข้าเป้า ปิดดีลลูกค้าไม่ได้ หรือมีข้อผิดพลาดใหญ่เกิดขึ้นในโปรเจคท์ที่สร้างผลกระทบตามมา

 

  • เช่น พนักงานด้าน Creative เน้นหัวครีเอทีฟและการไม่อยู่ในกรอบ ที่กระโดดข้ามสายเติบโตไปเป็น Strategist เน้นวางแผนคิดวิเคราะห์ คำนวณตัวเลขอย่างรอบคอบ…อาจพบว่าตัวเองทำได้ไม่ดี ไม่ใช่สายที่ถนัด ถ้ามองในระยะยาว การถูก Job demotion กลับไปเป็น Creative และพัฒนาสกิลจนสุดทางนี้เพื่อไปเป็น Art director อาจจะเหมาะสมกว่าด้วยซ้ำ

 

และเพื่อป้องกันความบาดหมางกัน หัวหน้าต้องแจกแจงดีเทลอย่างเป็นรูปธรรมให้ได้ว่า Job demotion ที่เกิดขึ้น จะมีประโยชน์ส่งผลดียังไงต่อคนที่ถูกลดตำแหน่ง

 

  • เช่น มีเวลากลับมา review ทบทวนตัวเองจริงๆ จังๆ ว่านี่คือเส้นทางอาชีพที่ชอบและถนัดหรือไม่
  • เมื่อความรับผิดชอบน้อยลง จึงมีเวลาว่างมากขึ้น ก็สามารถนำไป upskill-reskill ในส่วนที่ขาด จนไปถึงค้นหา passion ใหม่ๆ นอกงานประจำก็ยังได้ด้วยซ้ำ

 

ไม่ว่ายังไงก็ตาม ในขั้นตอนการทำ Job demotion หัวหน้าต้องทำแบบประณีต ละเอียดอ่อน สุภาพ ถ่อมตน มืออาชีพ มี empathy ใจเขาใจเรา ให้คิดเสมอว่าถ้าเป็นตัวเราบ้างล่ะที่โดน…จะอยากถูกปฏิบัติอย่างไร?

 

หัวหน้าอย่างเราเองก็มีสิทธิ์โดนเช่นกันจากคนที่มีตำแหน่งสูงกว่าขึ้นไปอีกที โดยในช่วงปีโควิด มีผลวิจัยในองค์กรกว่า 1,000 แห่งพบว่า Job demotion เกิดขึ้นกับพนักงานกว่า 18% และเป็นระดับบริหารไม่น้อยเลย โดยแบ่งเป็น

  • 38% Senior Management
  • 20% Middle Management
  • 28% Executive

 

จะเห็นว่าจากเดิมที่ Job demotion มีแต่เรื่องลบๆ ถ้าเราทำอย่างประณีตคิดรอบคอบ ก็มีด้านบวกที่ดีกับทุกฝ่ายเช่นกัน

 

อ้างอิง



Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง