If You Should Fail : ทำไมเราควรล้มเหลวในชีวิตบ้าง ?

If You Should Fail
ในวงการธุรกิจ คนมักพูดถึงแต่ความสำเร็จ การเติบโต ความมั่งคั่งร่ำรวย…แล้ว “ความล้มเหลว” ซึ่งเปรียบเสมือนเหรียญอีกด้านล่ะ? 

ความล้มเหลวถูกผลักเป็นพลเมืองชั้นสองในโลกธุรกิจ น้อยคนที่อยากพูดถึงและน้อยยิ่งกว่าที่อยากสัมผัสความล้มเหลวโดยตรง

แต่ความล้มเหลวกลับให้มุมมองมิติอื่นแก่เราทั้งด้านธุรกิจและชีวิตในแบบที่คาดไม่ถึง

น่าสนใจไม่น้อยว่า…ทำไมคนเราถึงควรล้มเหลวบ้างซักครั้ง?

If You Should Fail : ล้มไปข้างหน้า

บางครั้งมันอาจไม่ใช่ความล้มเหลวในแบบที่เราคิด แต่เป็นการทดลองที่ไม่ได้ผล-ที่ยัง “ไม่ใช่” ต่างหาก?

  • คุณรู้แล้วว่าวิธีนี้ไม่เวิร์ค…ก็ปัดทิ้ง
  • คุณรู้แล้วว่าตลาดนี้ไม่ตอบรับ…ก็มองหาตลาดใหม่
  • คุณรู้แล้วว่าสินค้านี้แก้ปัญหาผู้คนไม่ได้…ก็ออกแบบสินค้าใหม่

ก่อนที่ Thomas Edison จะประดิษฐ์หลอดไฟที่ใช้ได้ในเชิงพาณิชย์แพร่หลายไปทั่วโลก เขาลองผิด-ลองถูกมากกว่า 1,000 ครั้ง ที่เขาอดทนเดินหน้าต่อไปได้มากขนาดนี้เพราะมีทัศนคติว่า “การทดลองแต่ละครั้งไม่ใช่ความล้มเหลว…มันแค่เป็นอีกวิธีที่ไม่ได้ผล”

If You Should Fail : ล้มเพื่อถามตัวเอง

การล้มเหลวเป็นโอกาสดีในการย้อนกลับมา “สำรวจใจตัวเอง” นี่คือช่วงเวลาวัดใจว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่ คือสิ่งที่คุณหลงใหลมี Passion กับมันจริงๆ หรือไม่?

เพราะสิ่งที่คนสำเร็จทุกคนมีเหมือนกันหมดคือ Passion ในสิ่งที่ทำ

  • Cristiano Ronaldo มี Passion ในการเล่นฟุตบอล
  • Elon Musk มี Passion ในการพามนุษย์ออกสำรวจอวกาศ
  • Mark Zuckerberg มี Passion ในการเชื่อมผู้คนเข้าหากัน 
  • Bernard Arnault มี Passion ในการออกแบบแฟชั่นชั้นสูง
  • Salt Bae มี Passion ในการสร้างสรรค์ศิลปะอาหาร

ถ้าคุณล้มและรู้สึกท้อแท้จริงๆ ชนิดที่ไม่อยากกลับไปทำอีกแล้ว เป็นไปได้ว่าไม่ใช่เพราะคุณหมดไฟ แต่สิ่งที่คุณทำอยู่ไม่ใช่สิ่งที่ใจเรียกร้องต่างหาก?

Walt Disney เคยล้มเหลวจากวงการสื่อสำนักพิมพ์ ก่อนหันสู่วงการบันเทิงและสร้างโลกนิยาย Disneyland ในเวลาต่อมา เรียกได้ว่า ”จากล้มเหลว…สู่ความสำเร็จที่เกินจินตนาการ” ในที่สุด

ล้มเพื่อลุกขึ้นบิน

คุณท็อป จิรายุส คนหนุ่มผู้ก่อตั้ง Bitkub สตาร์ทอัพไทยที่โต 1,000% และถูกคาดหวังให้เป็น “Unicorn แรกของเมืองไทย” บอกว่า 

ถ้าคุณล้มเหลว คุณมาถูกทางแล้ว เพราะคุณกำลังจะสำเร็จ

ไม่มีคนสำเร็จในโลก ที่ไม่เคยล้มเหลวมาก่อน

ไม่มีใครขี่จักรยานเป็น โดยไม่เคยล้มหัวเข่าแตกมาก่อน

ท้อเป็นเรื่องปกติ เครียดเป็นเรื่องปกติ ล้มเหลวเป็นเรื่องปกติ

มันคือความเจ็บปวดที่ยอมรับได้และต้องผ่านไปให้ได้

  • เวลาเราจะกระโดด…ต้องย่อเข่าให้ต่ำก่อน
  • เวลาตลาดหุ้นจะไปต่อ…มักต้องปรับฐานลงมาก่อน

ดูเหมือนว่าความสำเร็จเองก็เช่นกัน ระหว่างทางต้องพบเจอกับความล้มเหลวน้อย-ใหญ่ แต่เมื่อผ่านมันไปได้และมองย้อนกลับมา อาจพบว่าเรามาไกลกว่าที่คิด

ล้มเหลวเพื่อเข้าใจชีวิต

เราอยู่ในโลกทุนนิยมที่ขับเคลื่อนด้วยการแข่งขัน

บางทีความล้มเหลวของคุณเกิดจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ หรือเจ้าใหญ่ที่ครอบงำตลาดไว้หมดแล้วจนยากที่คนตัวเล็กๆ อย่างคุณจะแจ้งเกิด

คนเราเกิดมาไม่ได้มีต้นทุนชีวิตเท่ากัน คนที่มีต้นทุนชีวิตด้อยกว่ามักพ่ายแพ้ให้กับคนที่มีต้นทุนชีวิตดีกว่า หรือคุณอาจคิดว่าตัวเองเก่งพอแล้ว แต่โลกยังมีคนเก่งกว่าคุณอีกเยอะ

บางครั้งแล้วต่อให้เราพยายามมากแค่ไหน ก็ไม่ได้การันตีความสำเร็จอันดับ 1 ที่ปลายทาง

  • มีนักบาสอีกหลายคนที่ฝึกซ้อมแทบตาย ก็สู้ Michael Jordan ไม่ได้
  • มีนักเขียนอีกหลายคนที่แต่งเรื่องแทบตาย ก็สู้ J.K. Rowling ไม่ได้
  • มีสตาร์ทอัพอีกหลายเจ้าที่พัฒนาแอพแทบตาย ก็สู้ Facebook ไม่ได้
  • มีแฟชั่นดีไซเนอร์อีกมากที่ออกแบบเสื้อผ้าแทบตาย ก็สู้ Hermès ไม่ได้
  • มีคอกาแฟอีกมากที่ปั้นร้านกาแฟแทบตาย ก็สู้ Starbucks ไม่ได้

ไม่ว่าอุตสาหกรรมไหนๆ คนสำเร็จมีเพียงหยิบมือเดียวดั่งยอดภูเขาน้ำแข็ง ขณะที่ใต้มหาสมุทรเต็มไปด้วยผู้พ่ายแพ้นับไม่ถ้วน ความพ่ายแพ้จึงเป็นส่วนหนึ่งของ “รสชาติชีวิต” ที่เราลิ้มรสรับประทานกับใครอีกหลายคน…ใต้มหาสมุทร

บทเรียนของ Failure

มนุษย์มีความแปลกอย่างหนึ่ง เรามักจดจำเรื่องร้ายๆ ได้ดีกว่าเรื่องดี

เรื่องที่เจ็บที่ไม่ชอบ จะวนเวียนในใจเรานานกว่าเรื่องที่ชอบ

การยอมรับความล้มเหลวเปรียบเสมือนเป็น Terms & Conditions ของการมีชีวิตอยู่ ถ้ายอมรับไม่ได้เราก็อาจไร้ซึ่งชีวิต?

มีปรัชญาญี่ปุ่นหนึ่งเรียกว่า “วาบิ-ซาบิ” 【侘寂】 ไม่มีอะไรไร้ที่ติสมบูรณ์แบบหรือคงอยู่ชั่วนิจนิรันดร์ 

ริ้วรอยบนใบหน้าตามวัย / รอยแตกร้าวของถ้วยชาม / คราบสกปรกผ่านกาลเวลา / และความผิดพลาดล้มเหลวในธุรกิจ…ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของความงดงามในชีวิตที่ควรโอบกอดทั้งสิ้น

ความล้มเหลวบอกเราว่า “นี่แหละมนุษย์” เราไม่ใช่หุ่นยนต์แสนเพอร์เฟกต์ ไม่ใช่ระบบอัลกอริทึมที่คำนวณทุกอย่างตรงเป๊ะจนไม่มีความผิดพลาด เราอาจเลือกที่จะเป็นมนุษย์ที่ล้มเหลวเป็น มากกว่าหุ่นยนต์ที่ล้มเหลวไม่เป็นแต่ไร้ซึ่งจิตวิญญาณ

สุดท้ายเราให้บทเรียนความล้มเหลวเป็นเหมือนการเล่นกล้ามได้ การจะสร้างกล้ามเนื้อให้ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับนึง เราจำเป็นต้องเล่นให้หนักจนรู้สึก “เจ็บปวดเมื่อยล้า” ก่อนจะกลับไปนอนพัก กินอาหารเติมพลัง เพื่อที่จะกลับมาเจ็บใหม่ในวันต่อไป

อะไรที่ไม่ทำให้เราถึงตาย…มีแต่ทำให้เราแข็งแกร่งขึ้นในที่สุด

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…คุณพร้อมมีความสุขกับการทำงานในทุกๆ วันแล้วหรือยัง? >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 80