ความสำเร็จของการใช้ HR Technology นั้น วัดได้อย่างไรบ้าง ?

HR Technology
HR Tech ที่ดีสามารถใช้การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ (Predictive Analytics) เพื่อติดตามแนวโน้มการลาออกได้ จากข้อมูลอย่างเช่น ความพึงพอใจในงาน ปริมาณงาน และความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน เมื่อเห็นแนวโน้มปัญหา HR จึงสามารถสร้างกลยุทธ์เพื่อช่วยให้พนักงานพึงพอใจมากขึ้น

การวัดความสำเร็จของการใช้ HR Technology เพื่อเสริมประสิทธิภาพองค์กร

ทุกองค์กรที่เริ่มใช้ HR Technology เพื่อการบริหารคนให้มีประสิทธิภาพ ควรตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายการใช้ให้ชัดเจนเพื่อประเมินผลลัพธ์ได้อย่างแม่นยำ มาดูกันว่าองค์ประกอบใดบ้างที่ทำให้การใช้ HR Tech ประสบความสำเร็จ

คุณสมบัติของ HR Technology ที่ดี

  1. ช่วยงาน HR จริง ไม่ใช่เพิ่มภาระ – ระบบควรทำให้กระบวนการ HR ง่ายขึ้น เช่น ลดขั้นตอนการจัดการเอกสาร ทำให้ทีม HR เข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว และทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ
  2. เชื่อมโยงข้อมูลในที่เดียว – จัดเรียงและเก็บข้อมูลในระบบเดียวช่วยลดข้อผิดพลาดในข้อมูล อีกทั้งยังทำให้การติดตามข้อมูลย้อนหลังมีประสิทธิภาพขึ้น
  3. การรวบรวมและแสดงผลฟีดแบคแบบเรียลไทม์ – ระบบที่รวบรวมข้อคิดเห็นจากพนักงานและแสดงเป็น dashboard ทำให้ทีม HR เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้ทันที
  4. ให้แนวทางพัฒนาองค์กรเชิงกลยุทธ์ – ระบบควรแสดงข้อมูลเปรียบเทียบองค์กรที่มี performance สูง พร้อมแนะแนวทางในการพัฒนาองค์กร
  5. การพยากรณ์เชิงคาดการณ์ – คาดการณ์ทรัพยากรหรือกระบวนการที่จำเป็นล่วงหน้า ทำให้องค์กรวางแผนได้อย่างแม่นยำ

3 ระดับการใช้งาน HR Technology ในองค์กร

การนำ HR Tech มาใช้งานในองค์กรสามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้น:

  • ขั้นที่ 1: การรายงานผลครอบคลุมทั้ง ecosystem ช่วยให้เข้าใจข้อมูลในอดีตที่เกิดขึ้น
  • ขั้นที่ 2: การประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน (Business Intelligence) เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์และการทำงานที่เกิดขึ้น
  • ขั้นที่ 3: การพยากรณ์อนาคต (Predictive Analytics) ให้ผู้บริหารเห็นภาพแนวโน้มอนาคตของการทำงาน

แนวทางวัดความสำเร็จในการใช้ HR Tech

  1. Digital Adoption Rate อัตราการใช้ระบบ ดาวน์โหลดติดตั้ง หรือ สมัครสมาชิก คงไม่มีองค์กรใดอยากซื้อระบบมาเพื่อให้ HR ใช้เพียงหน่วยงานเดียว ซื้อมาแต่ไม่มีคนเข้าใช้งาน หรือไม่มีใครรับรู้ถึงความสามารถอันสุดยอดของมัน ดังนั้นเทคโนโลยีที่ดี ควรเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะในบทบาทของผูัให้ข้อมูล (Data Provider) ผู้ใช้งาน (User) หรือผู้อนุมัติ (Approver) และนี่คือส่วนที่สำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) ที่จะสร้างผลลัพธ์ที่กว้างขึ้น
  2. Ease of Use ความง่ายในการใช้งาน ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดตัวชี้วัดในข้อแรก ความง่ายในที่นี้รวมถึงประสบการณ์โดยรวมที่ผู้ใช้งานได้รับ การลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน หรือความรวดเร็วของระบบ ความผิดพลาดของเทคโนโลยีในองค์กรส่วนใหญ่มักเกิดจากความต้องการใช้ระบบแบบครอบจักรวาลตั้งแต่วันแรก ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ มันใช้ยากมาก ตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งที่อยากให้ลองนึกถึง คือ Line, Facebook, Instragram ในวันแรกที่โลกเริ่มรู้จักเทคโนโลยีพวกนี้ มันมีเพียงไม่กี่ฟังก์ชันเท่านั้น ไม่ได้มีปุ่มกดมากมายเหมือนทุกวันนี้ แต่ขอให้คนได้ลองใช้งานง่าย ๆ ก่อน จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มฟีเจอร์เข้าไปให้ตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย
  3. Rate of Use ความถี่ในการใช้งาน รวมถึงระยะเวลาที่ใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ ในแต่ละครั้ง ซึ่งอาจตีความได้ทั้งเชิงบวกและลบ ดังนั้นการเจาะลึกข้อมูลไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพของระบบ การกรอกข้อมูลจนครบถ้วนสมบูรณ์ หรือแม้กระทั่งคำร้องขอความช่วยเหลือไปยัง technical support team ก็เป็นเรื่องสำคัญ

การวัดผลทั้ง 3 อย่างที่กล่าวไปด้านบน อ่านผ่าน ๆ ก็อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาพื้นฐาน แต่ถ้าสังเกตให้ดี องค์กรส่วนใหญ่ที่ล้มเหลวในการนำเครื่องมือ HR Tech หรือแม้กระทั่ง Technology ด้านอื่น ๆ มาใช้ ก็มักจะตกม้าตายใน 3 เรื่องนี้ ทำให้ไปไม่ถึงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่แท้จริงที่ตั้งใจจะส่งมอบผลลัพธ์ให้กับองค์กร ดังนั้นต้องอย่าลืมทำแผนสำหรับการบริหารการเปลี่ยนแปลงไปพร้อม ๆ กับการซื้อหรือพัฒนาเทคโนโลยีในองค์กร

สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่แพ้การเลือก HR Tech ที่เหมาะสมกับองค์กร ก็คือ การสื่อสารและส่งต่อข้อมูลที่ได้จากระบบไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องในเวลาที่เหมาะสมหรือแบบเรียลไทม์ เพื่อนำไปวิเคราะห์และเป็นแนวทางในการทำงาน โดยอาศัยข้อมูลเชิงลึกที่แม่นยำและทันสถานการณ์ในการปรับกลยุทธ์ สร้าง Best Practices และส่งมอบ Insights ที่สำคัญให้กับผู้ที่ต้องตัดสินใจในงานชิ้นสำคัญขององค์กร เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับองค์กร

ความสำคัญของการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)

องค์กรที่ลงทุนใน HR Tech ต้องวางแผนการบริหารการเปลี่ยนแปลงควบคู่กับการซื้อระบบ HR Tech เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเวลาที่เหมาะสม เช่น การปรับกลยุทธ์หรือการสื่อสารข้อมูลเชิงลึกให้ทีมบริหาร สิ่งนี้จะช่วยให้ HR Tech กลายเป็นเครื่องมือที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรได้อย่างแท้จริง

ขอบคุณข้อมูลจาก : Khon At Work

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

CEO of the year
อยากสำเร็จ อย่ารอคำว่าพร้อม ถอดบทเรียนจาก Lisa Su ถึงคนทำงาน เจ้าของรางวัล CEO of the year 2024 จากนิตยสาร Times
Lisa Su หรือเจ้าแม่แห่ง AMD ได้มีโอกาสให้สัมภาษณ์ ในรายการ View From The Top with Lisa Su: Chair and CEO of AMD โดย Stanford Graduate School of Business...
The One-Page Financial Plan
วิธีสรุปการเงินของคุณ ไว้ในแผ่นเดียว แค่ทำตามขั้นตอนนี้ จากหนังสือ The One-Page Financial Plan
สำหรับใครที่อยากจัดการ การเงินของตัวเองให้เป็นระเบียบกว่าเดิม วันนี้ CareerVisa อยากมาแนะนำการทำสรุปการเงินไว้ให้ครบ จบในแผ่นเดียว จากหนังสือ The One-Page...
สวัสดิการสำคัญ
เช็กลิสต์ 10 สวัสดิการสำคัญ ถามไว้ก่อนไปสมัครงาน
“สวัสดิการสำคัญ” ไม่แพ้เงินเดือน! หลายคนอาจโฟกัสที่ตัวเลขเงินเดือนเป็นหลัก แต่แท้จริงแล้ว สวัสดิการที่ดีสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้อย่างมาก...