HR ต้องทำตัวเป็น Mentor พี่เลี้ยงเด็กให้องค์กร!

Mentor
นักกีฬาเก่งๆ ระดับโลกยังต้องมีโค้ชคอยดูแลฉันใดคนทำงานเก่งๆ ในองค์กรย่อมต้องการ “พี่เลี้ยง” (Mentor) คอยดูแลฉันนั้นเพราะการ Mentor ที่ดีเป็นวิธีการพัฒนาพนักงานที่รวดเร็วและเปลี่ยนทัศนคติการทำงานระยะยาวได้

หน้าที่ของ HR จึงต้องไม่ใช่แค่เฟ้นหาคนเก่งหรือดูแลการจ่ายเงินเท่านั้น แต่ต้องทำหน้าที่เป็น Mentor พี่เลี้ยงเด็กให้องค์กร เพื่อดูแล “ความเป็นอยู่” (Well-being) ของพนักงานทุกคนในบริษัทด้วย!

นี่คือ Mindset ที่สำคัญของ HR ในฐานะคนที่เห็นความเป็นไปทั้งหมดของบริษัท เป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ยให้กับทุกคนในทีม

Designing Policy

ผลสำรวจทั่วโลกจาก Gallup เผยตัวเลขน่าตกใจว่า มีพนักงานเพียง 15% เท่านั้นที่รู้สึกถึงการมีส่วนร่วม (Employee Engagement) นั่นหมายถึงอีก 85% ไม่มี! ตัวเลขนี้น้อยลงเรื่อยๆ หลังยุคโควิดที่บริษัทเห็นว่าการทำงานทางไกล (Remote Work) เกิดขึ้นได้จริง 

การไม่มีส่วนร่วมจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน โอกาสเกิดความผิดพลาดด้านการสื่อสาร การรู้สึกตัดขาดจากสังคม (Social Isolation) หรือความจงรักภักดีต่อองค์กรในที่สุด

Gallup ให้คำแนะนำว่า วิธีหนึ่งที่ใช้เพิ่ม Employee Engagement & Well-being ได้คือผ่านการ Mentoring ด้วยนโยบายต่างๆ เช่น

  • จัดทำ Monthly Reflection มานั่งพูดคุยกับ HR ตัวต่อตัวถึงชีวิตการทำงานว่ามีปัญหาตรงไหน ไม่สบายใจเรื่องอะไรบ้าง
  • จัดสรรงบประมาณบางส่วนให้ Mentor ใช้ดูแล Mentee (เช่น พาไปเข้าคอร์สอบรมร่วมกัน) Mentee ไม่ต้องออกเองทั้งหมดไม่รู้สึกเป็นภาระ
  • ออกแบบรางวัลให้  “พี่เลี้ยง” เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำนอกเหนือจากงานหลัก
  • กำหนดโควต้าให้พนักงานมาปรึกษาพี่เลี้ยงในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับงาน เพราะสำหรับบางคน เป็นเรื่องยากมากที่จะแยกระหว่างงาน x ชีวิตส่วนตัว
Mentor

HR ยังสามารถออกแบบ “มาตรการ” เล็กๆน้อยๆ ที่ช่วยเสริมตรงนี้ได้ เช่น

  • ตั้งมารยาทการประชุมทางไกลผ่าน ZOOM หรือ Google Meet ที่ทุกคนจะต้อง “เปิดกล้อง” คุยกันเสมอ (แค่เห็นหน้า เราจะรู้สึกถึงการมีตัวตนและผูกพันมากขึ้น)
  • นัด “แฮงเอ้าท์” ประจำออฟฟิศเดือนละครั้ง ให้ทุกคนได้มาเจอกันและเรียนรู้ทัศนคติความคิดด้านอื่นๆ
  • กำหนดให้แต่ละทีมทำ “Weekly Review” กันเองทุกสัปดาห์ หัวหน้ารีวิวลูกน้อง ลูกน้องก็รีวิวหัวหน้า ส่งเสริม Team Spirit ไปในตัว
  • ให้ทุกคนเสนอไอเดียเจ๋งๆ (Hackathon) ณ สิ้นเดือนที่จะมายกระดับการทำงานให้ดีขึ้น โดยมีรางวัลมอบให้ 

Workforce Diversity

นี่คือยุคแรกในประวัติศาสตร์การทำงานสมัยใหม่ที่มี “คนทุกเจเนอเรชั่น” มารวมอยู่ในที่ทำงานตั้งแต่ Baby Boomers / Gen X / Gen Y / และ Gen Z 

การทำ Mentoring จึงเป็นโอกาสดีในการ “ส่งต่อองค์ความรู้” (Knowledge Transfer) ระหว่างเจเนอเรชั่นโดยตรง…Mentor ผู้ใหญ่ถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานอันสุกงอม ส่วน Mentee เด็กใหม่สอนการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ จนอาจเกิดสิ่งที่เรียกว่า “Reverse Mentoring” (กลายเป็นเด็ก  “พี่เลี้ยง” ผู้ใหญ่แทนในบางเรื่อง)

บริษัทรุ่นใหม่ที่มี CEO หัวก้าวหน้าถึงกับแต่งตั้ง Young Talent ที่เป็นคน Gen Z (อายุไม่เกิน 25) ให้เป็นมือขวาในด้านการตลาดออนไลน์และโซเชียลมีเดีย เพราะอยากเข้าใจเรื่องนี้จากเด็กที่โตมากับมันโดยตรง

Retention

ผลวิจัยจาก Gallup เผยว่า การหาพนักงานใหม่ต้องใช้ต้นทุนโดยรวมสูงถึง 1/3 ของเงินเดือนทั้งปีของพนักงานระดับ entry-level เลยทีเดียว…ดีที่สุดคือพยายามรักษาพนักงานเก่าไว้!

ผลวิจัยหนึ่งที่ทำให้หมู่พนักงานกว่า 1,000 คน เผยว่าการทำ Peer Mentoring แบบตัวต่อตัว ส่งผลให้พนักงานอยู่กับองค์กรนานขึ้น โดยสามารถอัตราการรักษาพนักงานที่ทำหน้าที่เป็น Mentor ได้อยู่ที่ 69% ขณะที่ Mentee สูงถึง 72% (อย่างไรก็ตามพนักงานที่ไม่ได้เข้าร่วม Mentoring Program กลับอยู่เพียง 49%)

Mentor

Recruitment

และจะว่าไป ระบบพี่เลี้ยงที่มีประสิทธิภาพยังเป็นปัจจัยให้คนอยากมาสมัครงานกับบริษัทเรา Candidate คงรู้สึกตื่นเต้นไม่น้อย เมื่อรู้ว่าถ้าเค้าเข้ามาแล้วจะได้รับการสอนงานทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบ มีคนคอยเทคแคร์ทุกอย่างจนเดินได้เอง

การ “พี่เลี้ยง” ที่ดียังเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่นำพาองค์กรไปสู่การได้รับรางวัลนายจ้างดีเด่น (Best Employer Award)

Case Study

บริษัทญี่ปุ่นจะมีการ Mentor ที่ไม่ได้มาจากฝั่ง HR เท่านั้นแต่ลงลึกถึงระดับ “วัฒนธรรมองค์กร” 

แทบทุกบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นจะมีระบบ “รุ่นพี่-รุ่นน้อง” (เซ็มไป-โคไฮ) โดยธรรมชาติที่เข้มงวดเป็นพิเศษ รุ่นน้องที่มีประสบการณ์น้อยกว่าต้องให้ความเคารพนอบน้อมรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์มากกว่า รุ่นพี่จะบอกขั้นตอนการทำงานทุกอย่างเสร็จสรรพ เข้าใจเรื่องที่พูดเป็นอย่างดี แชร์ประสบการณ์ว่าที่ผ่านมามีอะไรที่เวิร์ค-ไม่เวิร์คบ้าง

รุ่นน้องจะคอยสังเกตเรียนรู้การทำงานจากรุ่นพี่ เป็นคนคอยรับคำสั่งและทำตาม รุ่นพี่ก็ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่รุ่นน้อง(เหมือนมีคน ‘ตรวจสอบ’ คอยจับตาดูเราอยู่ตลอด) ขณะเดียวกัน ก็ต้องสวมบทบาท “พี่เลี้ยง”ไปในตัว ให้คำแนะนำเพิ่มเติมด้านการงาน หรือถ้าสนิทขึ้นก็ให้คำปรึกษาเรื่องส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับงาน

จนไปถึงการปฏิสัมพันธ์กึ่ง ”พันธะผูกพัน” (Obligation) เช่น รุ่นพี่ชวนไปดื่มหลังเลิกงาน(เพื่อให้ฟีดแบคงานไปในตัว) รุ่นน้องอาจต้องปรับตารางวันนั้นใหม่เพื่อให้ไปได้ รุ่นพี่ชวนไปออกรอบตีกอล์ฟเช้าวันอาทิตย์ รุ่นน้องก็ควรบริหารเวลาไปให้ได้

ข้ามไปฝั่งตะวันตก บริษัทอเมริกันบางแห่งตอนนี้ถึงขั้นจ้าง “จิตแพทย์” ประจำบริษัทแล้ว ( “พี่เลี้ยง” เอาไม่อยู่) โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงล็อคดาวน์โควิด-19 เมื่อปี 2020 เพราะพนักงานหลายคน suffer กับวิกฤติโรคระบาด ภาวะทางจิต ความเหงาที่ถูกตัดขาดจากสังคม ลามมาถึงปัญหาเศรษฐกิจที่ตัวเองถูกลดเงินเดือน

ตอนนี้บริษัทหลายแห่งทั่วโลกเริ่มปรับเป็น Virtual Mentoring ผ่านผู้ให้บริการต่างๆ (เช่น MentorcliQ) ซึ่งสามารถ  “พี่เลี้ยง” ได้ที่ไหนก็ได้ทั่วโลกทุกที่ทุกเวลาในหลากหลายเรื่อง ใช้งานง่าย มีระบบเก็บข้อมูล Data สามารถติดตามผล แปลงออกมาเป็นรายงานหรือ Insights ต่างๆ ได้

Mentor

ดูเหมือนว่าต่อไปทักษะของ HR เก่งๆ จะต้องเข้าใจ Well-being ของพนักงาน มองพวกเขาเหมือนเป็นลูกคนหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัย Empathy / Active Listening Skill / หรือ Consulting

คนเราใช้เวลากว่า 1/3 ของทั้งชีวิตไปกับการทำงาน คงจะดีไม่น้อยถ้าเราสามารถมี “ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี” ในที่ทำงานได้

.

.

เจียดเวลาเพียง 30 นาที มาทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ สายงานที่อยากทำ และใช้เวลา 1/3 จากนี้ของชีวิต…อย่างมีความสุขกันเถอะ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

การตั้งชื่อ
Assigning Name : คำใหม่ กรอบใหม่ ชีวิตใหม่
Economy , Business Class , First Class ///4P: Product – Price – Place – Promotion ///London bus VS. The Routemaster ///new Coke VS. Coca-Cola classic นี่คือตัวอย่างของพลังการ...
Burnout
สัญญาณ Burnout : ทำไมการ ‘พร้อมเพื่อทุกคน’ อาจทำร้ายคุณ?
ในยุคที่ทุกอย่างเป็น “Always on” หรือพร้อมทำงานตลอดเวลา อาการ Burnout กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในกลุ่มคนทำงานโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะสำหรับคนที่มักจะ...
Perfectionist
ความเป็น Perfectionist อาจทำลายชีวิตของคุณ พร้อมวิธีแก้ไขและรับมือ
คุณเคยรู้สึกไหมว่ารู้ว่าควรทำอะไร แต่ก็ไม่ลงมือทำสักที ผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ ยิ่งเวลาผ่านไปก็ยิ่งรู้สึกแย่? พฤติกรรมนี้อาจเป็นผลมาจากความเป็น Perfectionist...