หน้าที่ของ HR จึงต้องไม่ใช่แค่เฟ้นหาคนเก่งหรือดูแลการจ่ายเงินเท่านั้น แต่ต้องทำหน้าที่เป็น Mentor พี่เลี้ยงเด็กให้องค์กร เพื่อดูแล “ความเป็นอยู่” (Well-being) ของพนักงานทุกคนในบริษัทด้วย!
นี่คือ Mindset ที่สำคัญของ HR ในฐานะคนที่เห็นความเป็นไปทั้งหมดของบริษัท เป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ยให้กับทุกคนในทีม
Designing Policy
ผลสำรวจทั่วโลกจาก Gallup เผยตัวเลขน่าตกใจว่า มีพนักงานเพียง 15% เท่านั้นที่รู้สึกถึงการมีส่วนร่วม (Employee Engagement) นั่นหมายถึงอีก 85% ไม่มี! ตัวเลขนี้น้อยลงเรื่อยๆ หลังยุคโควิดที่บริษัทเห็นว่าการทำงานทางไกล (Remote Work) เกิดขึ้นได้จริง
การไม่มีส่วนร่วมจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน โอกาสเกิดความผิดพลาดด้านการสื่อสาร การรู้สึกตัดขาดจากสังคม (Social Isolation) หรือความจงรักภักดีต่อองค์กรในที่สุด
Gallup ให้คำแนะนำว่า วิธีหนึ่งที่ใช้เพิ่ม Employee Engagement & Well-being ได้คือผ่านการ Mentoring ด้วยนโยบายต่างๆ เช่น
- จัดทำ Monthly Reflection มานั่งพูดคุยกับ HR ตัวต่อตัวถึงชีวิตการทำงานว่ามีปัญหาตรงไหน ไม่สบายใจเรื่องอะไรบ้าง
- จัดสรรงบประมาณบางส่วนให้ Mentor ใช้ดูแล Mentee (เช่น พาไปเข้าคอร์สอบรมร่วมกัน) Mentee ไม่ต้องออกเองทั้งหมดไม่รู้สึกเป็นภาระ
- ออกแบบรางวัลให้ “พี่เลี้ยง” เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำนอกเหนือจากงานหลัก
- กำหนดโควต้าให้พนักงานมาปรึกษาพี่เลี้ยงในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับงาน เพราะสำหรับบางคน เป็นเรื่องยากมากที่จะแยกระหว่างงาน x ชีวิตส่วนตัว
HR ยังสามารถออกแบบ “มาตรการ” เล็กๆน้อยๆ ที่ช่วยเสริมตรงนี้ได้ เช่น
- ตั้งมารยาทการประชุมทางไกลผ่าน ZOOM หรือ Google Meet ที่ทุกคนจะต้อง “เปิดกล้อง” คุยกันเสมอ (แค่เห็นหน้า เราจะรู้สึกถึงการมีตัวตนและผูกพันมากขึ้น)
- นัด “แฮงเอ้าท์” ประจำออฟฟิศเดือนละครั้ง ให้ทุกคนได้มาเจอกันและเรียนรู้ทัศนคติความคิดด้านอื่นๆ
- กำหนดให้แต่ละทีมทำ “Weekly Review” กันเองทุกสัปดาห์ หัวหน้ารีวิวลูกน้อง ลูกน้องก็รีวิวหัวหน้า ส่งเสริม Team Spirit ไปในตัว
- ให้ทุกคนเสนอไอเดียเจ๋งๆ (Hackathon) ณ สิ้นเดือนที่จะมายกระดับการทำงานให้ดีขึ้น โดยมีรางวัลมอบให้
Workforce Diversity
นี่คือยุคแรกในประวัติศาสตร์การทำงานสมัยใหม่ที่มี “คนทุกเจเนอเรชั่น” มารวมอยู่ในที่ทำงานตั้งแต่ Baby Boomers / Gen X / Gen Y / และ Gen Z
การทำ Mentoring จึงเป็นโอกาสดีในการ “ส่งต่อองค์ความรู้” (Knowledge Transfer) ระหว่างเจเนอเรชั่นโดยตรง…Mentor ผู้ใหญ่ถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานอันสุกงอม ส่วน Mentee เด็กใหม่สอนการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ จนอาจเกิดสิ่งที่เรียกว่า “Reverse Mentoring” (กลายเป็นเด็ก “พี่เลี้ยง” ผู้ใหญ่แทนในบางเรื่อง)
บริษัทรุ่นใหม่ที่มี CEO หัวก้าวหน้าถึงกับแต่งตั้ง Young Talent ที่เป็นคน Gen Z (อายุไม่เกิน 25) ให้เป็นมือขวาในด้านการตลาดออนไลน์และโซเชียลมีเดีย เพราะอยากเข้าใจเรื่องนี้จากเด็กที่โตมากับมันโดยตรง
Retention
ผลวิจัยจาก Gallup เผยว่า การหาพนักงานใหม่ต้องใช้ต้นทุนโดยรวมสูงถึง 1/3 ของเงินเดือนทั้งปีของพนักงานระดับ entry-level เลยทีเดียว…ดีที่สุดคือพยายามรักษาพนักงานเก่าไว้!
ผลวิจัยหนึ่งที่ทำให้หมู่พนักงานกว่า 1,000 คน เผยว่าการทำ Peer Mentoring แบบตัวต่อตัว ส่งผลให้พนักงานอยู่กับองค์กรนานขึ้น โดยสามารถอัตราการรักษาพนักงานที่ทำหน้าที่เป็น Mentor ได้อยู่ที่ 69% ขณะที่ Mentee สูงถึง 72% (อย่างไรก็ตามพนักงานที่ไม่ได้เข้าร่วม Mentoring Program กลับอยู่เพียง 49%)
Recruitment
และจะว่าไป ระบบพี่เลี้ยงที่มีประสิทธิภาพยังเป็นปัจจัยให้คนอยากมาสมัครงานกับบริษัทเรา Candidate คงรู้สึกตื่นเต้นไม่น้อย เมื่อรู้ว่าถ้าเค้าเข้ามาแล้วจะได้รับการสอนงานทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบ มีคนคอยเทคแคร์ทุกอย่างจนเดินได้เอง
การ “พี่เลี้ยง” ที่ดียังเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่นำพาองค์กรไปสู่การได้รับรางวัลนายจ้างดีเด่น (Best Employer Award)
Case Study
บริษัทญี่ปุ่นจะมีการ Mentor ที่ไม่ได้มาจากฝั่ง HR เท่านั้นแต่ลงลึกถึงระดับ “วัฒนธรรมองค์กร”
แทบทุกบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นจะมีระบบ “รุ่นพี่-รุ่นน้อง” (เซ็มไป-โคไฮ) โดยธรรมชาติที่เข้มงวดเป็นพิเศษ รุ่นน้องที่มีประสบการณ์น้อยกว่าต้องให้ความเคารพนอบน้อมรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์มากกว่า รุ่นพี่จะบอกขั้นตอนการทำงานทุกอย่างเสร็จสรรพ เข้าใจเรื่องที่พูดเป็นอย่างดี แชร์ประสบการณ์ว่าที่ผ่านมามีอะไรที่เวิร์ค-ไม่เวิร์คบ้าง
รุ่นน้องจะคอยสังเกตเรียนรู้การทำงานจากรุ่นพี่ เป็นคนคอยรับคำสั่งและทำตาม รุ่นพี่ก็ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่รุ่นน้อง(เหมือนมีคน ‘ตรวจสอบ’ คอยจับตาดูเราอยู่ตลอด) ขณะเดียวกัน ก็ต้องสวมบทบาท “พี่เลี้ยง”ไปในตัว ให้คำแนะนำเพิ่มเติมด้านการงาน หรือถ้าสนิทขึ้นก็ให้คำปรึกษาเรื่องส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับงาน
จนไปถึงการปฏิสัมพันธ์กึ่ง ”พันธะผูกพัน” (Obligation) เช่น รุ่นพี่ชวนไปดื่มหลังเลิกงาน(เพื่อให้ฟีดแบคงานไปในตัว) รุ่นน้องอาจต้องปรับตารางวันนั้นใหม่เพื่อให้ไปได้ รุ่นพี่ชวนไปออกรอบตีกอล์ฟเช้าวันอาทิตย์ รุ่นน้องก็ควรบริหารเวลาไปให้ได้
ข้ามไปฝั่งตะวันตก บริษัทอเมริกันบางแห่งตอนนี้ถึงขั้นจ้าง “จิตแพทย์” ประจำบริษัทแล้ว ( “พี่เลี้ยง” เอาไม่อยู่) โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงล็อคดาวน์โควิด-19 เมื่อปี 2020 เพราะพนักงานหลายคน suffer กับวิกฤติโรคระบาด ภาวะทางจิต ความเหงาที่ถูกตัดขาดจากสังคม ลามมาถึงปัญหาเศรษฐกิจที่ตัวเองถูกลดเงินเดือน
ตอนนี้บริษัทหลายแห่งทั่วโลกเริ่มปรับเป็น Virtual Mentoring ผ่านผู้ให้บริการต่างๆ (เช่น MentorcliQ) ซึ่งสามารถ “พี่เลี้ยง” ได้ที่ไหนก็ได้ทั่วโลกทุกที่ทุกเวลาในหลากหลายเรื่อง ใช้งานง่าย มีระบบเก็บข้อมูล Data สามารถติดตามผล แปลงออกมาเป็นรายงานหรือ Insights ต่างๆ ได้
ดูเหมือนว่าต่อไปทักษะของ HR เก่งๆ จะต้องเข้าใจ Well-being ของพนักงาน มองพวกเขาเหมือนเป็นลูกคนหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัย Empathy / Active Listening Skill / หรือ Consulting
คนเราใช้เวลากว่า 1/3 ของทั้งชีวิตไปกับการทำงาน คงจะดีไม่น้อยถ้าเราสามารถมี “ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี” ในที่ทำงานได้
.
.
เจียดเวลาเพียง 30 นาที มาทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ สายงานที่อยากทำ และใช้เวลา 1/3 จากนี้ของชีวิต…อย่างมีความสุขกันเถอะ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/
อ้างอิง
- https://www.hrexchangenetwork.com/employee-engagement/articles
- https://www.shrm.org/hr-today/news/hr-magazine/0518
- https://www.digitalhrtech.com/peer-mentoring/
- https://www.hrmorning.com/articles/post
- https://www.talentguard.com/blog/driving