จะรับมืออย่างไร เมื่อสภาพจิตใจพังเพราะทำงานหนัก

การทำงานให้อะไรเราหลายอย่าง ทั้งความรู้ด้านการทำงาน เพื่อนร่วมงานที่ดี แต่นอกจากแง่บวกแล้วอย่างหนึ่งที่การทำงานให้เราได้เหมือนกันก็คือ “ความเหนื่อยล้า” บางคนรู้สึกเหนื่อยกับงาน กับสังคมที่ทำงานจนเข้าสู่โหมดใจพัง หรือ “Emotional Breakdown” มาดูกันว่าเราจะรับมือกับอาการนี้ได้อย่างไรบ้าง

“Emotional Breakdown” หรืออาการที่คน ๆ หนึ่ง เหนื่อยกับอะไรบางอย่างจนไม่อยากที่จะทำสิ่งนั้น หรือรู้สึกว่าอารมณ์ของเราในตอนนี้ ไม่พร้อมรับกับอะไรรอบตัวทั้งสิ้น เพราะเราได้รับแรงกดดันมามากพอแล้ว ตอนนี้ขอแค่ได้พักเยอะ ๆ ก็คงจะดี

หลายคนอาจจะมองข้ามเรื่องของสุขภาพจิตของตัวเอง ไม่ได้คิดว่าเราจะไปถึงจุดที่อารมณ์หรือความแข็งแกร่งทุกอย่างพังทลายลง แต่บอกเลยว่าอารมณ์และความรู้สึกของเรานี่แหละคือสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะการมีสุขภาพจิตที่ดี คือสิ่งที่ทำให้เราสามารถทำกิจกรรมหรือทำงานรอบตัวได้อย่างเต็มที่ และทำผลงานออกมาได้ดี 

หากสุขภาพจิตพังหรือใจพัง บอกเลยว่างานที่ต้องทำหรือกิจกรรมรอบตัว ต้องออกมาอย่างไม่เต็มที่ การใช้ชีวิตเราก็จะดำเนินไปแบบไม่มีความสุขด้วยเช่นกัน

วันนี้ CareerVisa จึงอยากจะมายกวิธีแก้ปัญหา หากเรากำลังเผชิญหน้ากับสภาพจิตใจพังจากการทำงาน มาดูกันว่าเราจะทำอย่างไรได้บ้างให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

วิธีรับมือกับ Emotional Breakdown

 

ลองพักอยู่กับตัวเองสักแปป

หลายคนทำแต่งาน ไม่เคยมีเวลาพักให้ตัวเองหรือให้เวลาตัวเองได้ผ่อนคลาย เพราะฉะนั้นลองพักสักแปป ได้ทำอะไรอย่างอื่นนอกเหนือจากงานบ้าง อาจจะทำให้รู้สึกดีขึ้น

 

ทำ To-do list ให้สั้นลง

ส่วนใหญ่แล้วคนที่บ้างานหรือทำงานหนัก จะมี To-do list เยอะแยะไปหมด และไม่ได้ยืดหยุ่นให้ตัวเองได้พักขนาดนั้น เพราะฉะนั้นลองตัดทอนสิ่งที่ตัวเองต้องทำต่อวันหลัง เพื่อบาลานซ์เวลางานกับเวลาส่วนตัวให้เหมาะสม

 

ระบุปัจจัยความเครียดของตัวเอง

รู้ตัวเองว่าอะไรที่เป็นสิ่งที่ทำให้เราเครียดหรือจิตตก แล้วหลีกเลี่ยงหรือหาวิธีรับมือกับมัน หากเราสามารถระบุปัญหาได้ การที่จะหาวิธีแก้ไข ก็จะง่ายขึ้นเช่นกัน

 

อยู่กับปัจจุบัน

หลายครั้งที่ความรู้สึกจิตตก หรือใจพัง มักจะมาจากการที่เรายึดติดกับอดีตหรือสิ่งที่เคยทำผิดพลาด จนลืมมองว่าปัจจุบันคือเวลาที่เราสามารถแก้ไขหรือพัฒนาตัวเองได้ดีที่สุด เพราะฉะนั้นหากเราเคยมีสิ่งที่ผิดพลาด ให้นำมาเป็นจุดปรับปรุง และอยู่กับปัจจุบันให้มากขึ้นก็จะทำให้สมองเราหนักน้อยลง

 

ค่อย ๆ จัดการไปทีละเรื่อง

อย่าเอาปัญหาทุกอย่างมาคิดพร้อม ๆ กันในเวลาเดียวกัน บอกเลยว่าต้องปวดหัวมากแน่ ๆ ให้ค่อย ๆ คิดและแก้ไขปัญหาไปทีละอย่าง เพื่อที่เราจะได้จัดการตัวเองและความคิดของตัวเองได้อย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ไม่เครียดจนเกินไป

 

ขอความช่วยเหลือจากคนอื่น

อย่าคิดว่าเราอยู่คนเดียว มันจะต้องมีบางคนที่สามารถให้ความช่วยเหลือเราได้ เพราะฉะนั้นถ้าหากไม่สามารถรับมือได้ ให้ลองคิดที่จะขอคำปรึกษาหรือความช่วยเหลือจากคนรอบข้างและคนที่ไว้ใจได้ ก็จะทำให้เราไม่เครียดมากจนเกินไป อีกทั้งยังมีที่ระบายอารมณ์อีกด้วย

 

 

สุขภาพจิตและอารมณ์ของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ อย่ามองข้ามไม่ว่าจะกับเรื่องของการทำงานหรือชีวิตส่วนตัว หมั่นทำให้สุขภาพจิตของตัวเองมั่นคงอยู่เสมอ ทุกปัญหาในชีวิตก็จะผ่านไปได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน

 

อ้างอิง : https://blog.manahwellness.com/dealing-with-an-emotional-breakdown-at-work/

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง