ข้อดีของการทำงานแบบ Freelance (อาชีพอิสระ)

“Freelance” ทางเลือกงานอิสระที่ใครหลายคนสนใจ เรียกได้ว่าในหลาย ๆ ประเทศมีพนักงานหลายคนที่เลือกที่จะทำงานอิสระมากกว่าการเป็นพนักงานประจำ ซึ่งยิ่งในยุคสมัยนี้บอกเลยว่างาน Freelance ก็เป็นที่นิยมมากขึ้นอย่างมากในกลุ่มพนักงานรุ่นใหม่ไฟแรง มาดูกันว่าทำงานแบบฟรีแลนซ์มีดีอย่างไรบ้าง

ถ้าตอนนี้คุณกำลังคิดอยู่ว่าอยากหางานแบบ Freelance คุณคิดถูกแล้ว เพราะว่าการทำงานในรูปแบบนี้มีข้อดีหลายอย่างที่คุณอาจจะนึกไม่ถึง หรือไป ๆ มา ๆ ก็อาจจะดีกว่าการเป็นพนักงานประจำอีกด้วย ยิ่งสำหรับคนที่รู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถในการทำงานหลายอย่าง และไม่ได้อยากปิดกั้นตัวเองแค่งานเดียว การทำงานในรูปแบบนี้ยิ่งสามารถส่งเสริมคุณได้มากเลยทีเดียว

 

อย่างไรก็ตามการทำงานแบบ Freelance เป็นทางเลือกหนึ่ง ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจทำงานในรูปแบบไหนก็ตาม การทำงานแต่ละรูปแบบก็มีข้อดีและข้อเสียที่ต่างกัน สำหรับหัวข้อในวันนี้ก็เหมือนเป็นการให้คุณได้เรียนรู้และเก็บการทำงานแบบ Freelance มากขึ้น และให้การทำงานในรูปแบบนี้ได้เข้าไปเป็นตัวเลือกในชีวิตการทำงานของคุณเพียงเท่านั้น

 

นอกเหนือจากความต้องการในการทำงานแบบ Freelance ที่เพิ่มมากขึ้น หลายบริษัทก็เปิดรับพนักงานในรูปแบบของ Freelance หรือพนักงานอิสระมากขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นถ้าหากสนใจทำงานรูปแบบนี้ในตอนนี้ บอกเลยว่าคุณมีตัวเลือกบริษัทและรูปแบบงานอยู่มากเลยทีเดียว

 

วันนี้ CareerVisa จะมาเปิดข้อดีของการทำงานในรูปแบบ Freelance ให้ทุกคนได้อ่านกัน ลองเก็บข้อดีเหล่านี้ไปเป็นเหตุผลในการตัดสินใจทำงานในรูปแบบนี้กันนะ

 

[7 ข้อดีของการทำงานในรูปแบบ Freelance]

1) มีอิสระในการทำสิ่งต่าง ๆ : หนึ่งข้อดีใหญ่ ๆ ของการทำงานรูปแบบ Freelance คือการที่เราสามารถทำอย่างอื่นร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการมีธุรกิจส่วนตัว หรือการเอาเวลาไปรับงานเสริมเพิ่มอีก เพื่อเพิ่มรายได้หลายช่องทางให้กับตัวเอง บอกเลยว่าค่อนข้างเป็นเหตุผลใหญ่หลัก ๆ ในการตัดสินใจทำงานรูปแบบนี้ของหลาย ๆ คน

2) เวลาทำงานที่ยืดหยุ่น : แตกต่างกับการทำงานเป็นพนักงานประจำในบริษัทที่ต้องเข้าทำงานตามเวลาที่กำหนด การทำงาน Freelance สามารถเลือกทำงานตามเวลาที่ตัวเองต้องการได้ เพียงแต่ว่าต้องส่งงานตามเวลาที่กำหนด หรือผลลัพธ์งานออกมาเป็นตามที่ต้องการของนายจ้างเป็นพอ

3) จัดการสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้ : เพราะการทำงานเป็นพนักงานประจำ เรามีหัวหน้าทีมเป็นคนคอยจัดการสิ่งต่าง ๆ หรือวางแผนเรื่องการแจกจ่ายงานให้ แต่หากเรารับงานในรูปแบบ Freelance เราสามารถเลือกเองได้ว่าจะรับทำงานไหนหรือไม่รับงานไหน ด้วยการจัดการการทำงานด้วยตัวเราเอง

4) ทำงานจากที่ไหนก็ได้ : แทบจะทุกบริษัทที่พนักงานประจำต้องเข้าไปทำงานในออฟฟิศตามเวลาที่กำหนด แต่การทำงานรูปแบบ Freelance อาจจะไม่จำเป็นต้องเข้าไปทำงานในออฟฟิศแต่สามารถเลือกที่จะทำงานจากที่ไหนก็ได้ เพียงแต่ต้องทำงานออกมาให้ได้ตามเป้าหมายก็พอแล้ว

5) ควบคุมรายได้ของตัวเองได้ : เราสามารถเพิ่มหรือลดรายได้ของตัวเองได้ ตามปริมาณงานที่เราอยากรับ เราสามารถเลือกรับงานที่ให้ค่าจ้างเราได้มากกว่าได้ ในกรณีที่มีหลากหลายงานเข้ามาในเวลาเดียวกัน เพราะว่างาน Freelance ไม่ได้มีรายได้ตายตัว และเราสามารถจัดแจงได้ด้วยตัวเอง รวมถึงยังตั้งอัตราการจ้างด้วยตัวเองได้อีกด้วยในหลาย ๆ ที่

6) พัฒนาทักษะการทำงานได้ดี : ส่วนใหญ่แล้วงาน Freelance จะต้องการว่าจ้างคนที่มีทักษะในการทำงานค่อนข้างสูง หรือเป็น Specialist ในสายงานนั้น ๆ เช่น Content writer, Graphic designer และ Marketing planner เป็นต้น ซึ่งถ้าหากเรารับงาน Freelance ที่หลากหลาย ได้เจอกับลูกค้าหรือตัวงานหลายรูปแบบ ก็เป็นข้อดีในการพัฒนาทักษะเฉพาะทางของตัวเองไปในตัว และสามารถนำไปต่อยอดกับงานอื่น ๆ หรือเส้นทางสายอาชีพของตัวเองได้อย่างมากเลยทีเดียว

7) นำประสบการณ์มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างธุรกิจของตัวเอง : เพราะเราได้ทำงานกับคนหลายรูปแบบ หรือธุรกิจหลายรูปแบบ ทำให้เราได้ลองตลาด หรือว่าศึกษาไปในตัวเอง ยิ่งทำงานตรงส่วนนี้เยอะเท่าไร ก็จะทำให้เรามองเห็นภาพกว้างขึ้นว่าเราเหมาะกับธุรกิจประเภทไหน หรือสินค้าประเภทไหน ซึ่งถ้าหากเรามีแผนที่จะมีธุรกิจส่วนตัวในอนาคต การได้เป็น Freelancer เข้าไปทำงานกับธุรกิจหลาย ๆ รูปแบบ ก็ทำให้ได้ความรู้หรือข้อมูลเชิงลึกมาต่อยอดไม่น้อยเลยทีเดียว

 

แต่ละคนมีสไตล์การทำงานที่แตกต่างกัน รวมถึงความต้องการก็แตกต่างกัน ลองถามตัวเองดี ๆ ว่าเราเหมาะกับการทำงานรูปแบบไหน ไม่มีรูปแบบไหนที่ดีไปกว่ากัน เพียงแต่ว่าการทำงานแต่ละรูปแบบมีข้อดีและข้อเสียของมัน ลองดูว่าเราเหมาะสมกับอะไรมากที่สุด และเลือกรูปแบบการทำางานที่ตัวเองอยากทำกันนะ

 

 

อ้างอิง : https://www.upwork.com/resources/advantages-of-being-a-freelancer

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง