“การให้ฟีดแบค” ในที่ทำงาน เรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้!

การให้ฟีดแบค

“การให้ฟีดแบค” คืออะไร?

การให้ฟีดแบค เป็นเครื่องมือสำคัญของผู้นำที่จำเป็นต่อการเติบโตและพัฒนาภายในทีม การทำความเข้าใจประเภทต่างๆ ของฟีดแบค รวมถึงวิธีการและช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใช้งาน เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในฐานะผู้จัดการหรือหัวหน้าทีม 

และไม่ใช่เพียงแค่สำคัญต่อหัวหน้าทีมเท่านั้น แต่ไม่ว่าพนักงานคนไหนก็ตามก็ควรเรียนรู้ที่จะฟีดแบคคนอื่นและยอมรับฟังฟีดแบคที่คนอื่นมีต่อเราให้เป็นเพื่อนำมาพัฒนาตัวเองให้ได้เช่นกัน

“การให้ฟีดแบค” สำคัญอย่างไร?

1. ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน: ฟีดแบคช่วยให้พนักงานแต่ละคนรับรู้ว่าตัวเองทำงานเป็นอย่างไรบ้าง และต้องพัฒนาตัวเองด้านไหนบ้างให้กลายเป็นคนที่ทำงานและวางตัวในที่ทำงานได้ดีขึ้น

2. ทำให้พนักงานเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างตรงจุด: ฟีดแบคเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ทั้งในด้านทักษะ ความรู้ และพฤติกรรม เมื่อได้รับฟีดแบค พนักงานจะได้รับรู้มุมมองจากผู้อื่น ซึ่งอาจแตกต่างจากมุมมองของตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาในมุมมองใหม่ๆ

3. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นในทีม: การฟีดแบคอย่างเปิดเผยและสร้างสรรค์ ช่วยสร้างความไว้วางใจและความเข้าใจซึ่งกันและกันในทีม ทำให้สมาชิกในทีมกล้าที่จะสื่อสารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีและการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ 

4. เพิ่มกำลังใจในการทำงาน: ฟีดแบคในเชิงบวกจะช่วยให้พนักงานที่ได้รับฟังมีกำลังใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น

5. แก้ปัญหาและป้องกันข้อผิดพลาด: การฟีดแบคอย่างทันท่วงที ช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาหรือความผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะเกิดความเสียหายมากขึ้น นอกจากนี้การฟีดแบคยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำๆ ได้อีกด้วย 

6. ทำให้องค์กรเติบโตได้ไวขึ้น: เพราะทุกคนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นและช่วยฟีดแบคเพื่อให้แต่ละคนสามารถพัฒนาการทำงานได้อย่างตรงจุดไปพร้อมๆ กัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้องค์กรเป็นองค์กรที่เปิดกว้างและสร้างสังคมที่ดีในการพัฒนาตัวเองร่วมกัน

ประเภทของ “การฟีดแบค” มีอะไรบ้าง?

“การให้ฟีดแบคเชิงบวก” (Positive Feedback)

เป็นการให้ฟีดแบคในทางที่ดี เป็นการชื่นชมพนักงานและแสดงความยอมรับในสิ่งที่พนักงานคนนั้นๆ สามารถทำออกมาได้ดี ซึ่งการให้ฟีดแบคเชิงบวกสามารถให้ในรูปแบบการฟีดแบคเดี่ยวๆ หรือการฟีดแบคต่อพนักงานเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ และทำให้พนักงานอยากสร้างผลงานที่ดีต่อไปในอนาคต

“ฟีดแบคเชิงสร้างสรรค์” (Constructive Feedback)

เป็นการฟีดแบคเพื่อทำให้เกิดการแก้ไขและพัฒนาให้งานดีขึ้น โดยการบอกสิ่งที่คาดหวังและแนวทางที่ควรเป็น โดยเฉพาะพนักงานใหม่ที่ต้องการคำแนะนำมากขึ้น ควรให้คำแนะนำที่นำไปใช้ได้จริง เพื่อให้พวกเขาไปในทิศทางที่ถูกต้อง

“ฟีดแบคเชิงลบ” (Negative Feedback)

เป็นฟีดแบคที่เกิดขึ้นเมื่อพนักงานทำผิดอย่างชัดเจน หรือมีผลกระทบต่อบริษัทอย่างร้ายแรง ซึ่งระดับความรุนแรงในการให้ฟีดแบคเชิงลบนั้น จะขึ้นอยู่กับความผิดหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำของพนักงาน ฟีดแบคเชิงลบไม่ควรเกิดขึ้นบ่อย ควรจะเลือกสื่อสารฟีดแบคเชิงนี้เมื่อเกิดสถานการณ์ที่จำเป็นจริงๆ เพื่อไม่ทำให้เป็นการฟีดแบคที่พร่ำเพรื่อและทำร้ายความรู้สึกของพนักงานโดยใช่เหตุ

“ฟีดแบคที่เป็นทางการ” (Formal Feedback)

ในการบริหารทีม ฟีดแบคอย่างเป็นทางการจะช่วยเน้นย้ำความสำคัญและความจริงจังในการสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาการทำงานของพนักงานแต่ละคน เพื่อทำให้เห็นถึงความสำคัญของความสำเร็จหรือปัญหา

“ฟีคแบคไม่เป็นทางการ” (Informal Feedback)

เป็นการฟีดแบคที่ไม่ได้ถูกวางแผนมาอย่างละเอียดมากนัก เป็นการให้ฟีดแบคในเรื่องเล็กๆ ที่อาจจะเร่งด่วนและต้องการการเปลี่ยนแปลงไม่มาก

วิธีการให้ฟีดแบคที่ดี ควรทำอย่างไร?

ใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเนื้อหาที่ชัดเจนในการฟีดแบค

  • เป็นการเสนอแนะโดยการให้ข้อมูลประกอบ มีตัวอย่างในการอธิบาย ซึ่งส่วนนี้จะทำให้การฟีดแบคเป็นกลางมากยิ่งขึ้น
  • เน้นฟีดแบคที่พฤติกรรม ไม่ใช่นิสัยส่วนตัว ไม่เอาเรื่องบุคลิกภาพและความเป็นตัวตนของอีกคนมากระทบกับการให้ฟีดแบคครั้งนั้นๆ
  • มีขั้นตอนที่นำไปปฏิบัติใช้งานต่อได้

กำหนดเวลาการให้ฟีดแบคให้เหมาะสม

  • การให้ฟีดแบคแบบเรียลไทม์: ด้วยการเพิ่มขึ้นของเครื่องมือการทำงานร่วมกันและการสื่อสารแบบทันที ควรให้ข้อเสนอแนะใกล้เคียงกับเหตุการณ์หรือพฤติกรรมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกี่ยวข้องและมีผลกระทบมากขึ้น
  • มีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ: การตรวจสอบอย่างไม่เป็นทางการบ่อยครั้งมีประสิทธิภาพมากกว่าการตรวจสอบอย่างเป็นทางการที่เกิดขึ้นไม่บ่อย เพราะจะช่วยให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลาม

ใช้ความเห็นอกเห็นใจและความฉลาดทางอารมณ์

  • พิจารณาด้วยปัจเจกบุคคล เพราะแต่ละคนไม่เหมือนกันเราจึงเลือกที่จะต้องทำความเข้าใจและให้ฟีดแบคหรือข้อแนะนำที่เหมาะสม โดยไม่ตัดสินคนๆ นั้นไปเสียก่อน
  • มุ่งเน้นการเติบโตและพัฒนา ด้วยฟีดแบคที่สามารถนำไปต่อยอดได้ ไม่ใช่แค่การติอย่างเดียว แต่ต้องเป็นการติเพื่อที่จะอยากจะให้อีกคนได้พัฒนาตัวเองและหาทางแก้ไขได้อยางทันท่วงที
  • เปิดรับการสื่อสารสองทาง นอกจากเราจะฟีดแบคคนๆ นั้นแล้ว อย่าลืมเลือกที่จะรับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกของเขาด้วยเช่นกัน

การให้ฟีดแบค” ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีหรือวิธีใหม่ ๆ

  • เรียนรู้ที่จะลองใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี เช่น AI VR และ การประเมินในรูปแบบ 360 องศา เป็นต้น เข้ามาช่วยดำเนินการในการฟีดแบค และอย่าลืมให้ข้อเสนอแนะกลับไปอย่างมีประสิทธิภาพ

มีความเข้าใจเรื่องการอยู่ร่วมกันและความละเอียดอ่อนทางวัฒนธรรม

  • หากการฟีดแบคต้องเกิดขึ้นในสังคมที่มีความหลากหลายของวัฒนธรรม ด้วยความแตกต่างนี้เราจึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการทำความเข้าใจธรรมชาติของความแตกต่างแต่ละคนอย่างมาก
  • ต้องตระหนักถึงการใช้ภาษาที่ครอบคลุม และสามารถเข้าใจได้อย่างชัดเจน หลีกเลี่ยงคำศัพท์เฉพาะ หรือการใช้สำนวนที่เป็นที่เข้าใจยาก
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกคนสามารถเข้าถึงข้อเสนอแนะได้ โดยไม่คำนึงถึงความสามารถของพวกเขา

การให้ฟีดแบคในที่ทำงานเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนที่เป็นหัวหน้าหรือสมาชิกในทีม การเข้าใจถึงความสำคัญ ประเภท วิธีการ และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการให้ฟีดแบค จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาทั้งในระดับบุคคล ทีม และบริษัท 

ซึ่งการให้ฟีดแบคอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ จะนำไปสู่การทำงานที่ดีขึ้น ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้น และการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทในที่สุด ดังนั้น การเรียนรู้และพัฒนาทักษะการให้ฟีดแบคจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ

อ้างอิง: 

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

10 ทักษะ
10 ทักษะสุดล้ำ พัฒนาไว้เพื่อก้าวสู่อนาคตการทำงานในปี 2025
เทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของโลกการทำงานในปี 2025 โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีใหม่ ๆ ถูกพัฒนาและนำมาใช้ในทุกสายงาน ทำให้ทักษะที่เคยสำคัญอาจล้าสมัยไปอย่างรวดเร็ว...
เทรนด์ที่ทำงาน
7 เทรนด์ที่ทำงานน่าติดตาม ที่จะมาเปลี่ยนชีวิตการทำงานปี 2025
ในปีที่ผ่านมา มีหลากหลาย “เทรนด์การทำงาน” และเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของพนักงานทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มบทบาทของ AI ในระบบการทำงานขององค์กร...
OKR
ขับเคลื่อนองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการตั้ง OKR
ไม่ว่าจะองค์กรไหนก็ตาม ย่อมต้องมีการตั้งเป้าหมายและติดตามผลงานของพนักงาน ซึ่งแต่ละองค์กรก็มีรูปแบบการตั้งเป้าหมายที่แตกต่างกัน มี Template การใช้ที่ไม่เหมือนกันแล้วแต่ว่าองค์กรนั้นเหมาะกับการตั้งเป้าหมายแบบไหน...