กับดัก False Analogy
False Analogy คือความหลงกลผิดๆ ที่ว่าหาก 2 สิ่งมีลักษณะบางอย่างคล้ายกันในเรื่องหนึ่ง…ก็น่าจะคล้ายกันในเรื่องอื่นๆ ทั้งหมดด้วย
ซึ่งสาเหตุหลักก็อาจมาจากการ “เหมารวม” (Stereotype) ที่ผสมผสานกับอคติส่วนตัวหรือชุดความรู้ที่มีอยู่นั่นเอง จนนำไปสู่ปรากฎการณ์ “ตรรกะวิบัติ” ฟังไม่ขึ้น หมดความน่าเชื่อถือ และในโลกธุรกิจ อาจหมายถึงการตัดสินใจที่ผิดพลาดครั้งใหญ่หลวง
เพราะมนุษย์มองอะไรเป็น “แพทเทิร์น” (Pattern) โดยหาจุดร่วมที่มีความคล้ายคลึง (Analogy) กัน ก่อนจะเชื่อมโยงมาสู่องค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งตั้งแต่ยุคโบราณมันช่วยให้เราเข้าใจอะไรได้ง่าย ตัดสินใจได้รวดเร็วขึ้น ช่วยให้มีชีวิตรอดในธรรมชาติมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม โลกปัจจุบัน “ซับซ้อน” กว่าโลกยุคก่อนมาก มีตัวแปรที่เราต้องวิเคราะห์มากกว่าแบบเทียบกันไม่ติด การมองแพทเทิร์นแบบผิวเผินที่เคยเวิร์คในอดีต อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดหรือการตัดสินใจที่ผิดพลาดในปัจจุบัน
False Analogy ในเรื่องต่าง ๆ
“การเล่นหุ้นก็ไม่ต่างจากการพนัน”
จริงอยู่ ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง แต่ทั้งคู่ต่างกัน เพราะการพนันคือการเสี่ยงดวงล้วนๆ ขณะที่การเล่นหุ้นยังมีปัจจัยพื้นฐานบริษัทให้วิเคราะห์
การมี False Analogy เช่นนี้ อาจนำไปสู่การมีภาพลบๆ เกี่ยวกับตลาดหุ้น จึงตัดสินใจไม่ลงทุนในหุ้นซึ่งเป็นการตัดช่องทางการเพิ่มทรัพย์สินในระยะยาวไปอย่างน่าเสียดาย
“NASA ส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์เป็นเจ้าแรกได้สำเร็จ…ก็น่าจะส่งมนุษย์ไปดาวอังคารเป็นเจ้าแรกได้เหมือนกัน”
แม้ NASA จะมีอิทธิพลต่อการสำรวจอวกาศอย่างมากเมื่อ 60 ปีที่แล้ว แต่ปัจจุบันบริษัทเอกชนอย่าง SpaceX หรือ Blue Origin ก็ขึ้นมามีบทบาทสำคัญไม่แพ้กัน และอาจทำได้สำเร็จก่อน NASA ด้วยซ้ำ เช่น Elon Musk ตั้งเป้าส่งมนุษย์เหยียบดาวอังคารให้ได้ในปี 2026…เร็วกว่าแผนของ NASA ถึง 7 ปี!!
“เขาเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ…ก็น่าจะเป็นนักบริหารประเทศที่เก่งด้วย”
ทั้งคู่มีคาแรคเตอร์บางอย่างคล้ายกัน เช่น ภาษี-ยอดขาย แต่จุดประสงค์ของธุรกิจคือทำกำไร ขณะที่จุดประสงค์ของการบริหารประเทศคือพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้เลย
“การติดแอลกอฮอล์ทำให้ชีวิตพังได้…การติดเกมก็เช่นกัน วันๆ ไม่ทำอะไรเอาแต่เล่นเกม ชีวิตก็ล้มเหลวได้”
ซึ่งก็ไม่จริงเสมอไปโดยเฉพาะยุคนี้ เพราะเด็กติดเกมอาจผันตัวเองไปเป็นนักกีฬามืออาชีพแข่งขันในอุตสาหกรรม E-sport ทำเงินได้มหาศาลก็ได้ (นักกีฬา E-sport หลายคนก็เป็นอดีตเด็กติดเกม)
.
.
“นิ้วยังไม่เท่ากัน แล้วคนจะเท่ากันได้อย่างไร”
อีกหนึ่งเคสสุดคลาสสิก เพราะ “นิ้ว” เราพูดถึงกายภาพตามธรรมชาติของมนุษย์ แต่ “คน” เราพูดถึงสิทธิ / เสรีภาพ / ความเท่าเทียมในฐานะมนุษย์ต่างหาก
รู้เท่าทัน False Analogy
False Analogy เป็นกับดักทางความคิดที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน…รวมถึงผู้เชี่ยวชาญทุกวงการ แต่เราพอจะมีสติรู้เท่าทัน False Analogy ของตัวเองและของคนอื่นได้
ขั้นตอนแรกสุดคืออย่าพึ่ง “ด่วนสรุป” เชื่อปักใจไปก่อน เพราะเราทุกคนล้วนอยู่ภายใต้การคิดและมองอะไรเป็นแพทเทิร์นดังที่กล่าวไป จึงอาจทำให้ (False) Analogy ดูสมเหตุสมผลตั้งแต่แรกที่ได้ยิน….ให้หมั่นวิเคราะห์ที่มาที่ไปของเหตุและผลก่อน
ซึ่งทำได้โดยการคิดในเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) ลองหาข้อโต้แย้งความคิดนั้นๆ การลองฝึกคิดใจอยู่เสมอว่า “เราอาจจะผิดก็ได้นะ” ก็ช่วยให้มีสติได้
ฝึกตัวเองให้เป็นคน “ใจกว้าง” เปิดใจรับฟังมุมมองจากคนรอบตัว ทั้งจากที่ปรึกษาส่วนตัว / เพื่อนร่วมงาน / สมาชิกในทีม
ทั้งหมดก็ทำให้เราหลีกเลี่ยง False Analogy และนำไปสู่การความคิดและการตัดสินใจที่ถูกต้องมากขึ้น และบอกลาตรรกะวิบัติในที่สุด…
.
.
ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/
ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com
ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/
อ้างอิง
- https://simplicable.com/new/false-analogy
- https://examples.yourdictionary.com/false-analogy-examples.html
- https://www.thoughtco.com/false-analogy-fallacy-1690850
- https://biznewske.com/false-analogy-fallacy-examples/