เคยมีอาการเหนื่อย ไม่อยากทำอะไรบ้างไหม ใน Podcast ของ Chris Williamson ได้สัมภาษณ์ Andrew Huberman เอาไว้เกี่ยวกับพฤติกรรมทำลายแรงจูงใจในชีวิตอย่างน่าสนใจดังนี้:
สาเหตุที่ใกล้ตัวที่ทำให้แรงใจหมด นิสัยนั้นคือสิ่งที่เรียกว่า “Excessive social Medai use” หรือการใช้โซเชียลมีเดียเกินขนาดเหมือนกับใช้สารเสพติดจนนำมาสู่พฤติกรรมทำลายแรงจูงใจในชีวิต ทำไมถึงเป็นแบบนั้น มีคำอธิบายดังนี้:
1. โซเชียลมีเดีย
โซเชียลมีเดีย หรือการไถจอโทรศัพท์ เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นฮอร์โมนโดพามีนได้ดีเป็นอย่างมาก เพราะ Algorithm ถูกออกแบบเอาไว้เพื่อกระตุ้นโดพามีนโดยเฉพาะ
2. โดพามีนที่ถูกกระตุ้นโดยโซเชียลมีเดีย
โดพามีนที่ถูกกระตุ้นโดยโซเชียลมีเดียเป็นการกระตุ้นแบบ Spike หรือพุ่งขึ้นอย่างรุนแรงแล้วตกลงอย่างรวดเร็ว
3. ความแตกต่างจากเซโรโทนิน
โดพามีนมีความแตกต่างจากเซโรโทนินที่เป็นฮอร์โมนแห่งความสุขในระยะยาว ที่ช่วงแรกจะไม่รู้สึกทันทีแต่รู้สึกเต็มอิ่มขึ้นทีละนิด ๆ ได้เอง
4. Algorithm ของโซเชียลมีเดีย
Algorithm ของโซเชียลมีเดียจะ ‘สุ่มเรื่องน่าตื่นเต้น’ มาให้เราเรื่อยๆ คล้ายกับการเล่นพนัน ที่คนเล่นไม่รู้ว่ารางวัลใหญ่จะออกเมื่อไหร่ แต่ขอให้เล่นวนไปเรื่อย ๆ ไถไปเรื่อย ๆ
5. สังเกตตัวเอง
ลองสังเกตตัวเองดูก็ได้ว่าช่วงแรกที่เปิดแอปฯ ขึ้นมาจะรู้สึกสนุก แต่พอผ่านไปสักพักจะเริ่มไม่รู้สึกสนุกเท่าตอนแรกแล้ว แต่ว่าไม่สามารถหยุดตัวเองได้จนกว่าจะหมดแรง
6. อาการหมดแรง
เมื่อหมดแรงเท่ากับว่าไม่มีแรงใจจะไปทำอะไรอย่างอื่นอีกต่อไป ทำให้การใช้โซเชียลมีเดียกลายเป็นพฤติกรรมทำลายที่แรงจูงใจในชีวิตได้
7. เปรียบเทียบอาการนี้ในสัตว์
หากเปรียบเทียบอาการนี้ในสัตว์ จะเปรียบได้กับสัตว์ที่ขุดไปเจอกระดูกที่ฝังไว้แล้วดีใจจึงทำการขุดซ้ำไปเรื่อย ๆ แม้จะหาไม่เจออีกแล้วก็ตาม (ซึ่งมองจากมุมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่น่าตลกมาก)
8. แนวทางป้องกัน
แนวทางป้องกันที่ทำได้คือ รู้ตัวอยู่เสมอว่าตอนนี้เรากำลังไถฟีดหาความสุข ความตื่นเต้นที่ไม่มีอยู่จริงรึเปล่า หากเป็นแบบนั้นต้องรีบออกมาจากโซเชียลโดยด่วนก่อนที่จะเกิด Excessive social Medai use ที่เป็นพฤติกรรมทำลายแรงจูงใจในชีวิต
9. เพิ่มพฤติกรรมที่ช่วยสร้างความสุข
อย่าลืมเพิ่มพฤติกรรมที่ช่วยสร้างความสุขแบบเซโรโทนินมากขึ้นมาแทนที่โดพามีน เช่น การออกกำลังกาย นั่งสมาธิ พบปะสังคมพูดคุยกับผู้อื่น ออกไปเจอแสงแดด ฯลฯ
อ้างอิง