HR มองข้ามแต่ Elon Musk มองเห็นในตัวแคนดิเดต !

Elon Musk
“Tell me about some of the most difficult problems you worked on and exactly how you solved them.”นี่คือประโยคที่แคนดิเดตทุกคนต้องตอบเมื่อสัมภาษณ์กับเขาดูเผินๆ นี้มีอะไรพิเศษแตกต่าง? เรามาแกะดูไปทีคำกัน

ไม่มีใครกล้าเถียงว่า Elon Musk เป็นหนึ่งในอัจฉริยะของโลกในศตวรรษที่ 21 เขาคือผู้ก่อตั้งบริษัทอันเหนือชั้นแห่งอนาคต ไม่ว่าจะ…

SpaceX  ผลิตจรวดที่จะพามนุษย์ชาติไปดาวอังคาร

Starlink  บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม

Neuralink เชื่อมสมองคนเข้ากับคอมพิวเตอร์

Tesla  รถยนต์ไฟฟ้า(ไร้คนขับในอนาคต)

…และอีกมากมายซึ่งพวกเราน่าจะเคยได้ยินกัน

บริษัทเหล่านี้ที่เขาก่อตั้ง ย่อมต้องการมันสมองระดับ “หัวกะทิ” ของโลกให้มาร่วมงานด้วยเพื่อบรรลุเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ให้สำเร็จได้ ดังนั้น การจะรับใครเข้ามาจึงต้องมองเห็นทะลุถึงศักยภาพตัวแคนดิเดตในแบบที่ HR หรือคนธรรมดามองไม่เห็น

Elon Musk มีวิธีอย่างไร? ตามไปดูกัน…

Evidence of Exceptional Ability

อีลอน มัสก์ ยังคงใช้ชีวิตในโรงงาน ลุยงานปฏิบัติการด้านวิศวกรรมเอง รวมถึงการ “สัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว” อยู่เป็นประจำตามขนาดบริษัทที่กำลังเติบโต

“Tell me about some of the most difficult problems you worked on and exactly how you solved them.”

นี่คือประโยคที่แคนดิเดตทุกคนต้องตอบเมื่อสัมภาษณ์กับเขา

ดูเผินๆ นี้มีอะไรพิเศษแตกต่าง? เรามาแกะดูไปทีคำกัน

“Some of the most difficult problems” คนเก่งระดับหัวกะทิย่อมมีประสบการณ์แก้ปัญหายากๆ เป็นชีวิตจิตใจ ประเด็นไม่ใช่ว่าเคยแก้ปัญหายากๆ หรือไม่ แต่ให้เลือก “บางส่วนที่ยากที่สุด” มาต่างหาก

“Exactly how you solved” ประโยคนี้บอกอะไรเราได้มากอีลอน มัสก์เชื่อว่าคนเก่งที่ลงมือแก้ปัญหาจะรู้ ‘ชัดเจน’ ว่าต้นตอปัญหาเกิดจากอะไร ส่งผลกระทบถึงเรื่องไหนบ้าง รู้กระบวนการทุกขั้นตอนในการแก้ และอนาคตจะหาทางหลีกเลี่ยงยังไงได้บ้าง นอกจากนี้ยังวัดความ “ซื่อสัตย์” เป็นตัวจับการพูดโกหกได้เป็นอย่างดี ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

Journal of Applied Research in Memory and Cognition วารสารวิชาการชั้นนำด้านสมองและความทรงจำ ยังสนับสนุนว่า คำถามนี้เข้าข่ายเทคนิคที่ศัพท์วิชาการเรียกว่า Asymmetric Information Management (AIM) หรือการมีข้อมูลไม่เท่ากัน ซึ่งใช้พิสูจน์ว่าแคนดิเดตพูดโกหกหรือไม่ได้สูงถึง 70% 

วิธีคือให้แคนดิเดตเล่า “รายละเอียด” เหตุการณ์การแก้ปัญหาออกมาให้มากที่สุด ยิ่งละเอียดเท่าไร โอกาสโกหกยิ่งน้อย ซึ่งระหว่างที่เล่าอีลอน มัสก์ยังสามารถสังเกตบุคลิกภาพอื่นๆ อย่าง ขนาดรูม่านตา การกรอกตาไปมา น้ำเสียง สีหน้า ความลุกลี้ลุกลน เพื่อประเมินแคนดิเดตในเรื่องอื่นได้ด้วย

Hidden Value

อีลอน มัสก์ไม่ได้ถามแค่เนื้องานในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง แต่พยายามเรียนรู้ความเป็น “ตัวตน” แคนดิเดตด้วยคำถามว่า

“What makes you the right person to build my company? Why should I trust you?”

เขาบอกว่าคำถามลักษณะนี้อาจฟังดูเหมือนคนถามได้ปักธงมีคำตอบในใจอยู่แล้ว แต่ตัวเขายืนยันว่ามันเป็นคำถามที่จริงใจ (Genuine question) ถามเพราะอยากรู้จริงๆ ถามเพื่อเปิดโอกาสให้แคนดิเดต pitch ตัวเอง

ด้วยคำถามที่กว้าง แคนดิเดตอาจเล่าเรื่องราวที่ไม่ได้เกี่ยวกับงานโดยตรง แต่เชื่อมโยงไปถึงคุณค่าบางอย่างที่ไม่ได้อยู่บนเรซูเม่เช่นกัน

Brain-Teaser Questions

แปลกแต่จริงอีลอน มัสก์ยังคงตั้งถามคำถามเชิง “ปัญหาเชาว์” อยู่ในการสัมภาษณ์ ซึ่ง Google และบริษัทใหญ่อื่นๆ ที่อดีตเคยถาม(หลายข้อเลยทีเดียว)
มีนโยบายยกเลิกไปพอสมควรแล้วเพราะไม่เกี่ยวกับเนื้องานของแคนดิเดตโดยตรง

คำถามคลาสสิกที่เขาชอบถามบ่อยคือ

“ถ้าคุณเดินขึ้นทิศเหนือ 1 กม. และเดินไปทิศตะวันออกอีก 1 กม. และเดินไปทิศใต้อีก 1 กม. และพบว่าคุณกลับมาอยู่ที่เดิมตอนแรกสุด…คุณอยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้ได้บ้าง?”

หลังขบคิดอยู่ซักพัก แคนดิเดตส่วนใหญ่มักตอบว่า “ขั้วโลกเหนือ” ซึ่งเป็นคำตอบมาตรฐาน แต่หารู้ไม่ว่า…”ขั้วโลกใต้” ก็สามารถเป็นคำตอบได้เหมือนกัน (แต่คนตอบน้อยกว่ามาก)

ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องตายตัวอีลอน มัสก์แค่อยากเห็นกระบวนการคิดวิเคราะห์ ไหวพริบในการแก้ปัญหา หรือแม้แต่ EQ ปฏิกิริยาอารมณ์ตอนรับโจทย์

แคนดิเดตที่มีตรรกะการคิดอย่างเป็นระบบ มีไหวพริบในการเล่าเรื่องอธิบาย และรับสภาพความกดดันได้ดีจะถูกพิจารณาเป็นพิเศษ

Beyond Degree

ดูเหมือนว่า Elon Musk จะไม่ได้ศรัทธาการศึกษาในระบบ เป็นที่รู้กันว่า การศึกษาในระบบเป็นวิธีที่ใช้ผลิตคนเพื่อป้อนสู่ภาคอุตสาหกรรม ริเริ่มตั้งแต่สมัยเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วซึ่งอาจไม่ตอบโจทย์ปัจจุบันนัก

เขาประกาศให้โลกรู้ในงานประชุม World Government Summit ปี 2017 ว่า ผู้มาสมัครทุกบริษัทของเขาไม่จำเป็นต้องจบมหาวิทยาลัย มีปริญญาหลายใบ มีเกียรติบัตรมากมายเลย แต่เขามองหาผลงานความสำเร็จ (Achievement) ที่จำต้องได้มากกว่า นั่นคือสิ่งที่เขามองหาในคนเก่ง

เขาเคยบอกว่า ถ้า Nicola Tesla ผู้เป็นไอดอลส่วนตัว (ถึงขนาดเอามาตั้งชื่อบริษัทรถยนต์ไฟฟ้า!) ยังมีชีวิตอยู่…อัจฉริยะอย่างเขาจะมีโอกาสได้เข้ามาสัมภาษณ์ที่บริษัทของอีลอน มัสก์หรือไม่? เพราะ Nicola Tesla เอง…ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ “เรียนไม่จบมหาวิทยาลัย” เรื่องนี้เตือนสติให้อีลอน มัสก์ไม่หลงระเริงไปกับความยอดเยี่ยมของใบปริญญาและชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย 

การที่คุณบกพร่องทางการศึกษา…ไม่ได้แปลว่าคุณบกพร่องความสามารถ

Optimist & Visionarist

ภารกิจที่ยิ่งใหญ่อาศัยทัศนคติด้านบวกเป็นเชื้อเพลิง เขารู้ดีว่า สิ่งที่บริษัทกำลังสร้างเป็นวิสัยทัศน์แห่งอนาคต ยังไม่มีใครเคยทำ ยังไม่มีใครเคยไปถึงแบบสำเร็จจริงๆ มันย่อมมาพร้อมความคลุมเครือ ความกลัว ความคิดแง่ลบ

Elon Musk บอกว่าแคนดิเดตต้องไม่ใช่แค่คนคิดบวก แต่ต้องถึงระดับ “คนมีความฝัน” มีวิสัยทัศน์ที่อยาก “ร่วมสร้างอนาคต” เหล่านี้และไปให้ถึงจริงๆ 

ต่อให้คุณเป็นนักวิทยาศาสตร์จรวดอวกาศโปรไฟล์ดีเลิศอีลอน มัสก์ก็อาจไม่รับคุณถ้าสัมผัสได้ว่าคุณเป็นคนคิดลบ พูดจาถากถาง วิพากษ์วิจารณ์ไปเรื่อย 

ความคิดของกลุ่มคนประเภทหนึ่งที่ทำให้เขาหัวเสีย(และพยายามหลีกเลี่ยง) คือ

“ทำไมคุณทำอย่างโน้น…ทำไมคุณไม่ทำอย่างนี้?”

“ทำไมคุณทำแบบนั้น…แต่ไม่ทำอีกแบบนึง?”

ซึ่งมักเป็นการพูดที่ไม่มีเหตุผลรองรับหรือข้อมูลที่ช่วยชี้แนะให้เกิดประโยชน์หรือความก้าวหน้าแต่อย่างใด

ผู้มีวิสัยทัศน์หลายคนก็ยังทำงานอยู่กับเขาในวันที่บริษัทพึ่งตั้งไข่ คนกลุ่มนี้คือเบื้องหลังที่ร่วมสร้างนวัตกรรมไฮเทคให้แก่โลก

ย้อนกลับไปเพียง 10 ปีที่แล้ว ใครจะเชื่อว่า SpaceX สามารถสร้างจรวดที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้สำเร็จเมื่อปี 2020 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่แซงหน้า NASA และปูทางสู่การพาณิชย์เต็มรูปแบบของ Starlink ที่จะเชื่อมอินเตอร์เน็ตทั้งโลกผ่านดาวเทียมนับพัน 

5 ปีที่แล้ววันที่ก่อตั้ง Neuralink ใครจะคาดคิดผ่านมาเพียงไม่กี่ปี วันนี้บริษัทสามารถฝังชิปในสมองลิง และทำให้มันเล่นเกมผ่านความคิดได้แล้ว! 

เก่งอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องมีความฝัน ความหวัง มีภาพแห่งอนาคตที่ปรารถนาไปให้ถึง..

และเราเชื่อว่า Elon Musk ก็ต้องมองเห็นความเป็นเลิศของ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa ที่ช่วยให้ทุกคนค้นหาสายอาชีพที่ใช่ รู้จักตัวเองดีพอ และพร้อมลุยงานอย่างมีความสุข! ทดลองทำฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...
การประเมินผลการทำงาน
เตรียมตัวให้พร้อม : เคล็ดลับรับมือการประเมินผลการทำงานช่วงสิ้นปีอย่างมืออาชีพ
การประเมินผลการทำงาน คืออะไร?การประเมินผลการทำงาน คือกระบวนการประเมินผลงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเกณฑ์ตรงกลางที่บริษัทตั้งไว้ และพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้างานหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในการทำงาน...