Cunningham’s Law : เพราะตอบผิด จึงได้คำตอบที่ถูกต้อง

Cunningham’s Law คืออะไร
Cunningham’s Law = วิธีที่จะได้คำตอบที่ถูกต้องบนโลกอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่การตั้งคำถามอันบรรเจิด…แต่คือการให้คำตอบที่ผิดไปก่อน (เดี๋ยวคนจะมาแก้เอง!) เขานำแนวคิดนี้ไปต่อยอดจนนำมาสู่ Wikipedia
  • รู้หรือไม่? สมองคนมีอยู่ 84,000 เซลล์
  • โควิด-19 เริ่มระบาดมาจากไต้หวัน
  • GDP/หัว ของคนไทยสูงกว่ามาเลเซีย

แว่บแรกที่เห็น เราทุกคนล้วนเอะใจถึงความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ เรารู้อยู่ในใจลึกๆ ว่ามันผิดและมีแรงผลักดันอยากที่จะ “ทำให้ถูกต้อง”…ยินดีด้วย คุณกำลังตกอยู่ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า “Cunningham’s Law”

Cunningham’s Law คืออะไร ? 

หลายคนอาจเดาได้ว่าคำนี้มาจากชื่อคน โดยผู้ที่คิดค้นแนวคิดนี้คือคุณ Ward Cunningham โปรแกรมเมอร์รุ่นบุกเบิกชาวอเมริกัน และเป็นผู้พัฒนาเว็ปไซต์ WikiWikiWeb เวอร์ชันแรกของโลก  เขาคิดค้นแนวคิดนี้ขึ้นมาตั้งแต่ยุค 1980s โดยมีหัวใจหลักคือ “วิธีที่จะได้คำตอบที่ถูกต้องบนโลกอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่การตั้งคำถามอันบรรเจิด…แต่คือการให้คำตอบที่ผิดไปก่อน” (เพราะเดี๋ยวผู้คนจะมาทำให้ถูกเอง!!) เขานำแนวคิดนี้ไปต่อยอดจนนำมาสู่ Wikipedia ที่เปิดพื้นที่ให้ใครก็ได้มาแก้ไขข้อมูลและประสบความสำเร็จไปทั่วโลก

จิตวิทยาเบื้องหลัง 

Cunningham’s Law มีคำอธิบายทางจิตวิทยาเบื้องหลัง เพราะคนเรามักให้ความสนใจในการ “แก้ไขสิ่งที่ผิด” มากกว่าการตอบคำถามอันชาญฉลาด  ส่วนหนึ่งเพราะการแก้ไขให้ถูก ง่ายกว่าการคิดเริ่มจากศูนย์ เพราะมีพื้นฐานตรรกะมานำเสนอให้เราอยู่บ้างแล้วนั่นเอง และมนุษย์เรามีจริตในการอยากแก้ไขบางอย่างที่ผิดให้ถูกต้อง หรือในทางจิตวิทยาเรียกว่า “Tendency to Correct”

แต่โดยทั่วไป Cunningham’s Law จะทำงานได้มีประสิทธิภาพและได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นพิเศษ ก็ต่อเมื่อคำตอบที่ผิดแต่แรกนั้น ไม่ได้ผิดแบบหัวชนฝา!! แต่มีหลักการ “เหตุผลรองรับ” ระดับหนึ่ง ซึ่งต่อยอดนำไปสู่การโต้แย้งและได้คำตอบที่ถูกต้องได้ในที่สุด นอกจากนี้ยังต้องเป็นเรื่องที่มีคำตอบค่อนข้างชัดเจน สำหรับกรณีที่คำตอบผิดแบบชัดเจน คนอาจบอกว่าเราพูดจา “เพ้อเจ้อ” หริอมองว่ามันเป็นมุขหรือเรื่อง “ล้อเลียน” ตลกขบขันและคนจะเลิกสนใจในที่สุด

  • การบอกว่า โควิด-19 เริ่มระบาดมาจากไต้หวัน นำไปสู่การถกเถียงเพื่อแก้ไขมากกว่าบอกว่า…มาจากดาวอังคาร
  • การบอกว่า การขนส่งสินค้าที่ประหยัดต้นทุนที่สุดคือทางรถยนต์ นำไปสู่การถกเถียงเพื่อแก้ไขมากกว่าบอกว่า…ทางเครื่องบิน
  • การบอกว่า GDP/หัว ของคนไทยสูงกว่ามาเลเซีย นำไปสู่การถกเถียงเพื่อแก้ไขมากกว่าบอกว่า…สูงกว่าสหรัฐอเมริกา (ฟังดูเว่อร์เกิน)

ตัวอย่าง Cunningham’s Law

จากกระแสนายกรัฐมนตรีประเทศหนึ่งที่พูดกับสื่อมวลชนว่า สมองมนุษย์มีอยู่ 84,000 เซลล์ ซึ่งกลายเป็นกระแส Viral ไปทั่วโลกโซเชียล เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความถูกต้องของเรื่องนี้  จนผู้เชี่ยวชาญในวงการวิทยาศาสตร์มากมายต้องออกมาชี้แจงคำตอบที่ถูกต้องว่า ความจริงแล้ว สมองมนุษย์มีเซลล์อยู่มากกว่า 1 แสนล้านเซลล์เลยทีเดียว! เรื่องนี้จะไม่เป็นกระแสขนาดนี้เลยถ้าคำตอบที่ผิดไม่ถูกพูดขึ้นมาแต่แรก

Cunningham’s Law ยังสามารถนำไปใช้กับระบบการเรียนการสอนโดยเฉพาะในชั้นมัธยม(ที่เด็กเริ่มอ่านออกเขียนได้แล้ว) โดยอาจารย์อาจเอ่ยประโยคที่มีมูลความจริงบางส่วน…แต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด เช่น “ระบบการศึกษาปัจจุบันคือสิ่งที่ดีที่สุด เพราะเราทำติดต่อกันมาเป็นร้อยปีแล้ว”  วิธีนี้จะกระตุ้นให้เด็กออกไปค้นคว้าประวัติศาสตร์และวิจัยหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ดีกว่าการถามนักเรียนตรงๆ ว่า “ระบบการศึกษาที่ดีที่สุดคืออะไร?”

Cunningham’s Law ยังใช้ได้ดีในการทำงาน เป็นวิธีเพิ่มการมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพ (Participation) เช่น ระหว่างการรวมหัวกัน Brainstorm เรื่องบางอย่าง ให้ทุกคน “โยนไอเดีย” อะไรก็ได้ออกมาก่อน ยังไม่ต้องสมบูรณ์ ยังไม่ต้องตกผลึกทางความคิด เพราะหลังจากนั้นทุกคนจะช่วยกัน “เกลาไอเดีย” นั้นจนสมบูรณ์แบบเองในที่สุด

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…คุณพร้อมมีความสุขกับการทำงานในทุกๆ วันแล้วหรือยัง? >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

คำทรงพลัง

ใช้ “คำทรงพลัง” ให้เป็น…การงานโตระเบิด!!

จากแม่บ้านโรคซึมเศร้า สู่เจ้าของ Auntie Anne’s

ไปเดตกันไหมครับ VS. ผมรู้จักพาสต้าอร่อยมากอยู่ร้านนึง ไปทานด้วยกันไหมครับ

ครัวซองค์ร้านอื่นธรรมดาไปเลย…เมื่อมาเจอครัวซองค์แสนอร่อยของร้านนี้”

บริหารคนในองค์กรให้เหมือนทีมฟุตบอล

เรื่องนี้มีแค่คุณเท่านั้นนะครับที่จะได้รู้

Toxic Productivity

Toxic Productivity : คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา เคสของ Toxic Productivity ก็เช่นกัน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ / สังคม / หรือการได้เดินตามความฝันของตัวเอง ผลวิจัยมากมายยังระบุไปในทางเดียวกันว่า Toxic Productivity ยังเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของ Burnout Syndrome อาการหมดไฟในการทำงานของชาวอเมริกัน สัญญาณของ Toxic Productivity ? เมื่องานหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง แทบ “ไม่มีการเฉลิมฉลอง” ขอบคุณให้กำลังใจ แต่กลับตั้งเป็นมาตรฐานใหม่ ทุกคนโอเครับรู้แล้วก็รีบกลับไปทำงานต่อ เพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาพักผ่อน (หรือควรพักได้แล้ว) กลับยังเสพเนื้อหาเกี่ยวกับงาน (เช่น อ่านรายงาน) ราวกับไม่ยอมให้สมองได้หยุดพักแม้ครู่เดียว หรือไปชงกาแฟมาดื่มเพื่อเตรียมลุยงานต่อ กิจกรรมผ่อนคลายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ได้เพิ่ม Productivity ทางตรง แต่หวังกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทีม…ถูกมองเป็น “ค่าเสียโอกาส” (และเสียเวลา) ไปซะหมด ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องพยายามเสแสร้งทำตัวเป็นคนขยัน ยุ่ง เร่งรีบอยู่ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวถูกมองว่าเอื่อยเฉื่อยไม่โปรดักทีฟ หรือความรู้สึก “กลัววันจันทร์” ที่แว่บเข้ามาเพราะกลับไปประสบกับวงจรเดิม เราจะป้องกัน Toxic Productivity ได้อย่างไร ? ผู้นำองค์กรสามารถออกแบบนโยบายการทำงานที่จำกัดเวลาการทำงานของพนักงานอย่างเข้มงวด เช่น ไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรืออาจสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร เช่น ไม่มีการทำ OT แบบวัฒนธรรมการทำงานของชาวเยอรมันส่วนใหญ่ ประเด็นนี้ ภาครัฐก็มีส่วนเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่น รัฐบาลเยอรมันมีแผนที่จะออกกฎหมาย “ห้ามบริษัทส่ง Email เรื่องงานหลัง 6 โมงเย็น” บริษัทใดที่ทำจะมีความผิดตามกฎหมาย และพนักงานคนนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย…ซึ่งน่าจะช่วยลด Toxic Productivity ได้ไม่มากก็น้อย ข้างนอกจะเปลี่ยนได้…ข้างในต้องเปลี่ยนก่อน มันอาจไม่แฟร์เลยที่จะนำเรื่องงานมา “กำหนดคุณค่า” ในชีวิต เพราะชีวิตมีหลายด้าน Adam Grant นักจิตวิทยาชื่อดังชาวอเมริกันเตือนสติว่า ให้แยกระหว่าง “การกระทำของคุณ VS. ตัวตนของคุณ” ตัวตนของคุณคือสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ไม่มีอะไรมาเทียบเท่าได้ อย่าให้การกระทำมาปะปนกับเรื่องนี้ “งานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต” คำนี้ยังคงเป็นจริงไม่น้อยในหลายบริบท นอกจากนี้ เราอาจปรับเปลี่ยนเป้าหมายและความคาดหวังใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริงหรือสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนไปแล้วก็ช่วยได้ไม่น้อย ต้องไม่ลืมว่า “คนรอบตัว” ก็ช่วยเราได้มากกว่าที่คิด ควรเปิดใจและหาโอกาสพูดคุยให้มากๆ เพราะบางครั้งเป็นคุณเองที่เริ่มข้ามเส้นเอาการงานมาปะปนกับชีวิตส่วนตัว เช่น ยกเลิกนัดรวมกลุ่มเพื่อนสนิทติดต่อกันถึง 3 รอบเพราะเรื่องงาน เชื่อเลยว่าเพื่อนสนิทของคุณไม่มีใครโอเคกับเรื่องนี้แน่นอน จะลุยงานหนักได้…ร่างกายต้องพร้อม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองโดยการตั้ง แผนการออกกำลังกายที่ประนีประนอมไม่ได้ (Uncompromised Workout) เช่น วิ่งสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 45 นาทีอย่างต่ำ แม้มีงานหนักแค่ไหน ก็ต้องเจียดเวลาให้กับกิจกรรมนี้ Elizabeth Blackburn ผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านการแพทย์และผู้เขียนหนังสือ The Telomere Effect เผยข้อเท็จจริงที่ฟังดูย้อนแย้งว่า  “เวลาที่คุณควรออกกำลังกายมากที่สุด คือ เวลาที่คุณรู้สึกไม่อยากออก” เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย จะเกิดการหลั่งสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารที่เรารู้จักในชื่อ “สารแห่งความสุข” คุณจะรู้สึกผ่อนคลาย สมองไหลลื่นโล่งปลอดโปร่ง พร้อมกลับมาลุยงานใหม่ในเวอร์ชั่นที่ฟิตกว่าเดิม  และสารนี้เองที่หลั่งขณะออกกำลังกาย จะยิ่งทำให้เรารู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้น…วนลูปวงจรด้านบวก . . สุดท้ายแล้ว ความขยัน-ความโปรดักทีฟเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเติบโตขององค์กร เพียงแต่เราต้องหา “จุดสมดุล” ให้เจอ หาทางควบคุมตัวเอง รู้ลิมิตตัวเอง บางที การเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่หวือหวาแต่มั่นคง พร้อมๆ กับมีความสุขในการทำงาน…น่าจะเป็นจุดสมดุลที่หลายคนมองหาจริงๆ . . ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/ ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/ อ้างอิง Author CareerVisa Team รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน Post Views: 76