อยากทำงาน Content Creator ต้องเริ่มต้นอย่างไร?

ในยุคปัจจุบันไม่ว่าแบรนด์หรือธุรกิจไหน ก็ทำ Content Marketing กันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นอาชีพ Content Creator เลยกลายมาเป็นอาชีพยอดฮิตที่หลากหลายบริษัทเลือกที่จะจ้างเพื่อมาสร้างผลงานและสื่อสารการตลาดให้กับบริษัทของตัวเอง

คนหลายคนเลือกที่จะทำงานสายนี้ เพราะเป็นสายครีเอทีฟที่ได้ใช้ทั้งทักษะด้านภาษาและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งการเป็น Content Creator เป็นอาชีพที่สนุก สามารถทำได้ไม่ว่าจะเป็นงานประจำหรืองาน Freelance ในที่นี้เลยทำให้มีหลากหลายคนสนใจในอาชีพนี้และพัฒนาทักษะเพื่อมาสมัครงานในอาชีพนี้โดยเฉพาะ

 

เนื่องจากมีมนุษย์งานหลายคนเดินเข้าสายอาชีพของการเป็น Content Creator ต่างคนต่างมีสไตล์ของตัวเองที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสไตล์ความคิด สไตล์การเขียน เพราะฉะนั้นรูปแบบของงานที่ออกมาของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน อยู่ที่ว่าแบรนด์หรือธุรกิจชอบ Content แบบไหนก็จะจ้างคนที่ถนัดในแบบนั้น ๆ 

 

และด้วยเหตุผลที่ว่าหลากหลายคนสนใจในงานสายนี้ เลยทำให้การแข่งขันค่อนข้างสูง แต่ละคนจึงต้องหมั่นพัฒนาทักษะของตัวเองให้แข็งแกร่งขึ้นและพร้อมที่จะนำเสนอมันออกมาอย่างเต็มที่

 

วันนี้ CareerVisa จึงจะมาเปิดวิธี ทำอย่างไรให้เรากลายเป็น Content Creator ที่ดี และเก่งในแบบของตัวเอง มาลองดูกัน

 

[9 วิธี ทำอย่างไรให้เรากลายเป็น Content Creator ที่เก่งแบบไม่เหมือนใคร]

1) อ่านข่าวสารบ้านเมืองทุกวัน : อย่างที่รู้กันว่า Content Creator คือคนที่ต้องเล่าเรื่องให้คนอื่นฟังหรืออ่าน เพราะฉะนั้นเราจึงควรที่จะต้องติดตามข่าวสารบ้านเมือง ตามเทรนด์อยู่เสมอ เพื่อที่จะได้เป็นคนแรก ๆ ที่รู้เรื่อง และพร้อมนำมาเล่าให้คนอื่น ๆ ฟัง ยิ่งเรารู้มากเท่าไร ก็ยิ่งดีเท่านั้น

2) หมั่นเขียนอยู่เสมอ : หากเราเป็น Content Creator สายเขียน อย่าลืมที่จะใช้เวลา 10-15 นาที ในทุก ๆ วัน ได้ลองเขียนอะไรสักอย่างออกมาในภาษาของตัวเอง ลองฝึกวิธีการเล่าเรื่องในแบบของตัวเอง และปรับให้เป็นการเล่าเรื่องที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สามารถเป็นทั้งการเขียนบล็อกอย่างจริงจัง หรือจะเขียนไดอารี่ให้ตัวเองอ่านก็ได้

3) ศึกษาอุตสาหกรรมที่ตัวเองทำงานอยู่ : หากเราต้องทำ Content ในอุตสาหกรรมไหน ให้ทำความเข้าใจอุตสาหกรรมนั้น ๆ อย่างละเอียด เพราะทุกการเขียนคือการเล่าเรื่องและบอกรายละเอียดของสิ่ง ๆ หนึ่ง หากเราไม่มีความเข้าใจในสิ่งนั้นมากพอ เราก็ไม่สามารถที่จะเล่าเรื่องสิ่งนั้นออกมาได้ หรือทำให้คนอื่นเข้าใจอย่างถูกต้องได้นั่นเอง

4) หาจุดเด่นหรือสไตล์ของตัวเองและนำเสนอออกมาให้ได้ : ในโลกของการทำงาน มี Content Creator อยู่หลากหลายคนมาก ๆ และถ้าเรามีชิ้นงานที่ภาษาเขียนเหมือนกับทุกคน มันก็คงไม่มีอะไรที่โดดเด่นไปกว่าใคร เพราะฉะนั้นลองหาสไตล์ของตัวเองหรือวิธีการนำเสนอในแบบของตัวเองให้โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์

5) นำเนื้อหาที่น่าสนใจมานำเสนอในรูปแบบใหม่ : ไม่ผิดที่เราจะนำเนื้อหาของคนอื่น มานำเสนอในรูปแบบของเรา ซึ่งดีเสียอีกที่เราสามารถนำเนื้อหาที่น่าสนใจอยู่แล้ว มาทำให้มันน่าสนใจมากขึ้น หรือมาบอกต่อเพราะมันเป็นสิ่งที่เราอยากเล่าต่อ แต่อย่างไรก็ตาม อย่าลืมให้เครดิตหรือบอกแหล่งที่มาของข้อมูลหรือเนื้อหา เพื่อเป็นการให้เกียรติเจ้าของเนื้อหานั้น ๆ ด้วย

6) เข้าใจเป้าหมายของตัวเอง : อย่าลืมตั้ง KPIs ของตัวเองว่า เป้าหมายในการสร้าง Content ครั้งนี้ เราสร้างไปเพื่ออะไร เช่น เพื่อทำให้คนเข้าใจเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้อย่างละเอียดและเกิดการบอกต่อหรือสร้างคอนเทนต์ต่อ หรือเพื่อให้ได้ยอดแชร์มากกว่า 1,000 แชร์ในระยะเวลา 30 วัน เป็นต้น พยายามมีเป้าหมายทุกครั้ง จะทำให้การเขียนนั้นออกมาอย่างมีแบบแผน และเราจะตั้งใจทำมันมากขึ้น

7) เปิดใจให้กว้างกับทุก ๆ โอกาสที่เข้ามา : อย่าปิดตัวเองหรือคิดว่าตัวเองรู้มากที่สุด แต่ให้เปิดใจกับความรู้ใหม่ ๆ โอกาสใหม่ ๆ ที่เข้ามา หรือแม้แต่คนที่สามารถสอนเราได้ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม อย่าเป็นแต่นักเล่าเรื่อง แต่ให้เราเป็นผู้ฟังที่ดี และเก็บเกี่ยวความรู้ให้ได้มากที่สุด

8) ตั้งคำถามกับทุก ๆ อย่าง : ให้ทำตัวเป็นเจ้าหนูจำไม ที่ไม่ได้ไหลตามทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่เราต้องตั้งคำถามให้เป็น หมั่นตั้งคำถามกับหลาย ๆ สิ่ง เพราะหาคำตอบที่ลึกที่สุด และทำความเข้าใจให้ได้มากที่สุด หากเราสามารถทำสิ่งนี้ได้ ก็จะทำให้เราเล่าเรื่องหรือออกความคิดเห็นในเรื่องนั้น ๆ ได้ละเอียดและน่าสนใจมากขึ้นนั่นเอง

 

อ้างอิง :

https://blog.hubspot.com/marketing/5-habits-of-highly-successful-content-creators-list

Author

  • CareerVisa Team

    รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

ใครๆ ก็ไม่รักผม…อยากเป็นคนน่าสนใจมากขึ้น ควรทำอย่างไร?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเราเป็นคนที่น่าสนใจหรือเปล่า? ถ้าคิดว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นที่น่าสนใจ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะว่าความน่าสนใจมันสามารถสร้างได้เพียงแค่เสริมหรือปรับพฤติกรรมแค่บางอย่างเท่านั้น มาลองดูกันว่ามีอะไรบ้าง

Constructive Feedback

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก ?

Constructive Feedback คือการให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนา แทนที่จะเป็นการวิจารณ์เชิงลบ โดยควรชี้จุดที่ต้องปรับปรุงพร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยให้ผู้รับข้อเสนอแนะพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Confirmation Bias

Confirmation Bias : มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias คือแนวโน้มที่คนจะหาข้อมูลหรือเชื่อเฉพาะสิ่งที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดเห็นที่มีอยู่แล้ว และมองข้ามหรือปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้น ส่งผลให้การตัดสินใจไม่เป็นกลาง