ทำความรู้จักกับสภาวะหมดไฟ (Burnout) และสภาวะเครียด (Stress) ต่างกันอย่างไร รับมือได้อย่างไรบ้าง

Burnout and stress

ปกติแล้วสภาวะหมดไฟ หรือ burnout จะเกิดจากการที่เราเครียดมาก เครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว ซึ่งจะต่างจากความเครียด (Stress) ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ชั่วครั้งคราวตามสถานการณ์ที่พบเจอ และหายไปในวันหนึ่งเมื่อเราผ่านพ้นปัญหานั้นมาได้แล้ว

หากแต่ว่าหลายคนไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่า จริงๆ แล้วเราแค่เครียด หรือนี่เรียกว่าหมดไฟ การสังเกตตัวเองอย่างดี จึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาเอาไว้ เรียนรู้อาการ เพื่อที่จะได้ปรับตัวและหาวิธีแก้ไขได้อย่างถูกจุด

วันนี้ CareerVisa จะมาบอกให้ว่า สภาวะหมดไฟ (Burnout) และสภาวะเครียด (Stress) ต่างกันอย่างไร

สภาวะหมดไฟ (Burnout)

– ไม่สนใจสิ่งต่างๆ รอบตัว และไม่อยากทำอะไรเลย

– ไร้ความรู้สึก ไร้อารมณ์ตอบสนองกับสิ่งรอบตัว

– เพิกเฉยและเริ่มสิ้นหวังกับสิ่งต่างๆ

– ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวได้ลดลง

– หมดแรงบันดาลใจ ไม่อยากพัฒนาตัวเองต่อ

– เสี่ยงที่จะเป็นสภาวะซึมเศร้า

– มีผลกระทบต่ออารมณ์อย่างชัดเจน

– เริ่มรู้สึกว่าชีวิตไม่มีคุณค่า โลกนี้ไม่จำเป็นต้องมีเราก็ได้

แนวทางแก้ไข

[1] เข้าสังคมให้มากขึ้น

[2] เปลี่ยนความคิดต่องานให้เป็นแง่บวกยิ่งขึ้น

[3] จัดลำดับความสำคัญในชีวิตให้ดีขึ้น

[4] ออกกำลังกายมากขึ้น

[5] กินอาหารที่ดี มีสารอาหารครบ

สภาวะเครียด (Stress)

– สนใจสิ่งรอบตัว แคร์คนรอบข้างมากจนเกินไป

– สภาวะอารมณ์แปรปรวน

– รีบร้อนที่จะทำสิ่งต่างๆ

– ตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ มากกว่าปกติ

– หมดพลังและเหนื่อยง่ายกว่าปกติ

– กังวลง่าย

– เกิดผลกระทบด้านร่างกายโดยตรง

– ร่างกายเสื่อม มีโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

แนวทางแก้ไข

[1] ทำสมาธิให้บ่อยขึ้น

[2] จัดสรรเวลาในชีวิตประจำวันให้ดีขึ้น

[3] หาอะไรทำที่ผ่อนคลาย เช่น ดูหนังและฟังเพลง เป็นต้น

[4] ปรับเปลี่ยนความคิดต่อชีวิต

[5] ออกกำลังกายให้มากขึ้น

หากตระหนักรู้อาการตัวเองอยู่เสมอ เข้าใจอารมณ์และสิ่งที่ตัวเองกำลังพบเจออยู่ ก็จะสามารถหาทางแก้ไขได้อย่างถูกจุด บางทีเราอาจจะเครียดหรืออาจจะหมดไฟก็ได้ ลองค่อยๆ คิด และค่อยๆ หาทางแก้ไข ไม่ต้องรีบ หากเราใจเย็นกับตัวเองมากพอ จะกลับมามีความสุขขึ้นได้อย่างแน่นอน

อ้างอิง:

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Self Reflection
Self-Reflection: Small Win ที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต
ในโลกที่หมุนเร็วและเต็มไปด้วยความคาดหวังจากภายนอก การหยุดมองย้อนกลับมาที่ “ตัวเราเอง” กลายเป็นสิ่งที่ถูกละเลยอยู่บ่อยครั้ง ท่ามกลางเส้นทางที่ไม่ชัดเจน...
Social Media (New Brand) (1)
วัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ได้เรียนรู้จากการเดินทาง: รายละเอียดเล็ก ๆ ที่ยิ่งใหญ่กว่าที่คิด
หนึ่งในข้อดีของการทำงานที่ CareerVisa คือเราได้ทำงานในองค์กรที่ให้ความสำคัญกับ Work-Life Balance และเชื่อว่าการออกไปเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ จะช่วยให้เรากลับมาทำงานได้อย่างมีพลังและมุมมองที่กว้างขึ้น...
TKI Framework
รู้ก่อน จัดการได้! สำรวจ 5 วิธีตอบสนองต่อความขัดแย้งในทีมด้วย TKI Framework
เพราะคนแต่ละคนมี “สไตล์” ในการจัดการความขัดแย้งต่างกัน การเข้าใจสไตล์เหล่านี้ช่วยให้เรา คุยกันรู้เรื่อง ไม่ขัดกันลึก และ สร้างทีมเวิร์คที่แข็งแรงขึ้น TKI...