กำจัด Burnout อย่างไรให้ไฟกลับมาลุกโชนใหม่

Burnout
ผลการศึกษาจาก University of California เผยว่าปัญหา ”Burnout” หรือการทำงานหนักเกินไปจนหมดไฟ-หมดเรี่ยวแรง ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานซึ่งมักมาเป็นระลอกๆ และ “เกิดขึ้นได้กับทุกคน”

โดยเฉพาะกลุ่มผู้นำองค์กร ซึ่งกว่า 96% เคยประสบกับ Burnout (ภาวะหมดไฟ) มาแล้วช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต (มากกว่าพนักงานทั่วไป) เพราะความรับผิดชอบและความคาดหวังอันหนักอึ้งที่แบกรับอยู่

เมื่อเป็นเช่นนี้ แล้วเราพอจะหาทางขจัด Burnout อย่างไรได้บ้าง?วิธีขจัด Burnout อย่างไรได้บ้าง?

  1. Delegation

ปริมาณงานเยอะเกินหน้าที่ความรับผิดชอบ แม้คุณจะเป็นคนเก่ง…แต่ก็เป็นมนุษย์อยู่ดีที่มี “ขีดจำกัด” ซึ่งไม่สามารถ “ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง” ได้หมด ทางออกแบบตรงไปตรงมาที่สุดคือ “ให้คนอื่นทำแทน” ซะ!

สมัยที่ Barack Obama ดำรงตำแหน่งปธน.สหรัฐอเมริกาที่แต่ละวันมีแต่งานยุ่งไปหมด บริหารองค์กรว่ายากแล้ว…บริหารประเทศยากกว่าหลายสิบเท่า!

เขาจึงจำเป็นต้อง “มอบหมายงาน” ที่สำคัญน้อยลงมาให้คนอื่นที่ไว้ใจและเลือกมาแล้วไปทำแทนซะ มอบอำนาจให้ตัดสินใจเต็มที่ ตัวเขามีหน้าที่แค่เซ็นรับรองในขั้นตอนสุดท้าย

วิธีนี้จึงทำให้ Barack Obama โฟกัสกับงานที่สำคัญที่สุดและยังมีเวลารับประทานอาหารเย็นกับครอบครัว ‘ทุกวัน’ ได้นั่นเอง (ถ้าอยู่ที่ White House)

  1. Purpose & Passion

คุณก่อตั้งบริษัทหรือสร้างผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นมาเพื่ออยาก “แก้ปัญหา” ให้ผู้คนจริงๆ หรืออยากให้โลกนี้เจอสิ่งที่ดีกว่าเดิมใช่ไหม? 

ลองระลึกถึงเป้าหมายและ Passion นี้เป็นระยะจะช่วยให้คุณ “ยืนระยะ” อยู่ในเกมการแข่งขัน(อันโหดร้าย)ได้นานขึ้น ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ล้มแล้วลุกขึ้นใหม่ ความแข็งแกร่งทางด้านจิตใจก็สำคัญไม่แพ้เนื้องาน

เพราะน้อยคนมากที่ความสำเร็จจะเกิดขึ้นชั่วข้ามคืน หลายบริษัทต้องผ่านช่วงเวลาล้มลุกคลุกคลาน และเจ้าของผู้ก่อตั้งหมดไฟมาไม่รู้กี่รอบแล้ว

คุณ Bismarck Lepe ซีอีโอของ Wizeline (บริษัทด้านการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์) และอดีตพนักงานรุ่นบุกเบิกของ Google บอกว่าตัวเขาและทีมเคยภาหมดไฟเพราะเหนื่อยล้าทำงานหนักวันละ 14-15 ชม. แต่ที่ยังยืนหยัดลุยต่อได้เป็นเพราะนึกถึง Passion อยู่ทุกวัน เขาและทีมอยากปั้น Google (ยุคตั้งไข่) ให้ประสบความสำเร็จจริงๆ

  1. Find Breaking Point

เราทุกคนล้วนมีจุดแตกหัก “ไม่ไหวแล้วววววว!!!” เปรียบดั่งการยินอยู่ริมหน้าผา เมิ่อ Burnout เราจะร่วงลงเหว และหลายคนไม่มีวันกลับขึ้นมาได้อีกเลย

ตัวคุณเท่านั้นที่รู้ดีที่สุด “อย่ารอให้ตัวเองยืนอยู่ขอบหน้าผา” แต่หาทางที่จะบรรเทาให้เขยิบออกห่างมากที่สุด…ทิ้งตัวลงนอนบนโซฟา / ออกไปกินกาแฟกับเพื่อนสักแป๊บนึง / ออกไปเดินเล่นที่สวน 10 นาที / นั่งดูซีรี่ย์ Netflix หนึ่งตอน

ถ้า(ยัง)ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ภาพรวมได้ ให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยการสอดแทรกกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้เพื่อถอยร่นไม่ให้ตัวเองยืนใกล้หน้าผาจนเกินไป

การรู้จุดแตกหักของตัวเอง จะทำให้เราประเมินการทำงานและบริหารจัดการมันเพื่อสอดคล้องกับศักยภาพเราได้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่โอกาสเกิด Burnout ที่น้อยลงในที่สุด

  1. Workout

ถ้าสมองคุณ Burnout เหนื่อยล้าจนคิดอะไรไม่ออก…ให้ไปออกกำลังกายซะ! 

เวลาที่ควรออกกำลังกายที่สุดคือ เวลาที่เรารู้สึกไม่อยากออก

นี่เป็นวิธีคิดที่แตกต่างจากคนทั่วไป แต่เรื่องนี้มีผลวิจัยรองรับ เพราะทุกครั้งที่ออกกำลังกาย สาร “เอ็นโดรฟิน” จะหลั่ง และทำให้เรารู้สึกสดชื่นมีความสุข สารนี้จะไปกระตุ้นสมองให้กลับมาพร้อมลุยงานได้ต่อไป

จำคำนี้ให้ดี “เมื่อ Burnout….ให้ Workout”

  1. Adjustment to Pandemic

เท้าความก่อนว่าหลังจากโควิด-19 การ Work From Home กลายเป็นเรื่องปกติสำหรับหลายบริษัททั่วโลก ฟังดูดี…ประหยัดเงินและเวลาเดินทางได้ทุกวัน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีบ้านที่มี “สภาพแวดล้อม” เอื้อต่อการทำงาน

  • เพราะการ Work From Home หมายถึงการเอา “โลกการทำงาน x โลกส่วนตัว” มาไว้ในที่เดียวกัน
  • Online Tools เครื่องมือการทำงานที่ออนไลน์ตลอดเวลา ถ้าใช้มากเกินก็กลายเป็น Toxic เราอาจพะวงว่าจะงานเข้าได้ตลอดเวลา
  • นี่ยังไม่รวมบางคนที่มี “ภาระที่บ้าน” ที่ต้องดูแล เช่น ลูกยังเล็ก / ต้องสอนการบ้านลูก / ต้องทำอาหารให้ทั้งบ้าน / หรือแค่สภาพแวดล้อมบ้านไม่ได้ออกแบบมาให้เหมาะสมกับการทำงานแต่แรก

หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับนโยบาย สิ่งที่ทำได้คือ…

  • ลองคุยกับบริษัทให้หา Co-working space ส่วนกลาง
  • เจรจากับ HR ลดจำนวนการ Work From Home
  • คุณอาจต้องดีไซน์และหาพื้นที่ในบ้านเพื่อใช้ในการทำงานโดยเฉพาะ
  • หรือแม้แต่เอาตัวเองออกมาไปสู่ข้างนอก เช่น ตามร้านกาแฟ
  1. Focus

ผลสำรวจในหมู่พนักงานออฟฟิศที่อังกฤษกว่า 2,000 คนพบว่า ระยะเวลากลมกล่อมที่พวกเค้า “โฟกัส” การทำงานได้เต็มที่จริงๆ อยู่ที่ราว ”3 ชั่วโมง/วัน” ชั่วโมงที่เหลือนั้นประสิทธิภาพสมาธิจะลดลง 

ที่สำคัญ 3 ชั่วโมงดังกล่าวไม่ใช่ “3 ชั่วโมงติดต่อกัน” แต่กระจายไปในแต่ละช่วงของวัน ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน

โดยช่วงเวลานี้จะทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงมากๆ สมองแล่น ครีเอทีฟ ตรรกะใช้เหตุผล บางครั้งเราจะรู้สึกเหมือนไม่ได้ทำงาน (เวลาจะผ่านไปเร็วมาก) เปรียบได้กับกฎ 80:20 ได้ผลผลิตสูงถึง 80% ขณะที่ใช้เวลาไปแค่ 20%

คุณจึงต้องหา “ช่วงเวลากลมกล่อม” ของตัวเองให้เจอ มันอาจเป็นตี 5 หลังตื่นนอนของคุณ / ช่วงสายๆ หลังทานมื้อเช้าเสร็จ / หรือตอนเที่ยงคืนเงียบๆ…และทำงานที่ “สำคัญที่สุด” หรือใช้สมองที่สุดในช่วงเวลาสั้นๆ นี้

  1. Relax!

บางครั้งเราต้องอย่ากดดันตัวเองมากเกินไป หัดปล่อยวาง หัดหาช่วง “เวลาผ่อนคลาย” กับตัวเองเป็นระยะบ้าง 

คนเก่งระดับโลกหลายคนยังแบ่งเวลามานั่งดู Netflix ซัก 1-2 ชม.เป็นครั้งคราวไม่ต่างจากคนทั่วไปเลย!! 

รู้หรือไม่? ยอดมนุษย์อย่าง Elon Musk สารภาพว่าตัวเขาเองก็ชื่นชอบการดู Netflix ซึ่งจะหาเวลาว่างมานั่งดูอยู่เสมอ ถือเป็นการผ่อนคลายพักสมอง ได้ใช้ชีวิตปกติเหมือนคนอื่นเขาบ้าง แต่เวลาผ่อนคลายของเขาก็ยังมอบมุมมองแง่คิดที่ดีอยู่ เพราะหนึ่งในซีรี่ย์โปรดของเขาคือ Black Mirror ที่สะท้อนแง่มุมลบของเทคโนโลยี

ทุกการผ่อนคลายก็เหมือนการชาร์จพลังไปในตัว เมื่อแบตเต็ม เราก็พร้อมกลับไปลุยงานได้เต็มที่เหมือนเดิมนั่นเอง

Burnout ที่มีต่อชีวิต

ผลสำรวจจาก The Society for Human Resource Management (SHRM) เผยว่าภาวะหมดไฟคือปัจจัยอันดับต้นๆ ที่ทำให้พนักงาน “ลาออก” จากบริษัท แถมยังกระทบจิตใจของพนักงานชนิดที่อาจทำให้เค้าสูญเสียความมั่นใจ / กระทบความสัมพันธ์ส่วนตัว / หรือเกลียดงานประเภทนั้นไปเลย

“ชีวิตคนเราไม่ได้มีแต่เรื่องงาน…ยังมีเรื่องอื่นที่ต้องบาลานซ์” 

คงจะไม่คุ้มเสียเลยถ้า Burnout จากการทำงานข้ามมากระทบสู่มิติชีวิตด้านอื่น 

ลองนำ 7 ข้อนี้ไปประยุกต์ใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การทำงาน เพื่อหลีกเลี่ยง Burnout ทุกวิถีทาง หรือแม้แต่เพื่อให้ไฟที่ดับลงไปแล้ว…ลุกโชนขึ้นมาใหม่!

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…และจุดไฟในตัวคุณ! สู่การทำงานที่มีความหมายทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Disney
Disney ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่โลกจินตนาการที่มีอยู่จริง
Walt Disney มีมูลค่าบริษัทสูงถึง 9.6 ล้านล้านบาทปี 2019 เคาะรายได้รวม 2.1 ล้านล้านบาทมอบความบันเทิงและโลกจินตนาการแก่ผู้คนทั่วโลกทุกวันนี้เวลาเรานึกถึงดิสนีย์เรามักนึกถึง...
การตั้งชื่อ
Assigning Name : คำใหม่ กรอบใหม่ ชีวิตใหม่
Economy , Business Class , First Class ///4P: Product – Price – Place – Promotion ///London bus VS. The Routemaster ///new Coke VS. Coca-Cola classic นี่คือตัวอย่างของพลังการ...
Burnout
สัญญาณ Burnout : ทำไมการ ‘พร้อมเพื่อทุกคน’ อาจทำร้ายคุณ?
ในยุคที่ทุกอย่างเป็น “Always on” หรือพร้อมทำงานตลอดเวลา อาการ Burnout กลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในกลุ่มคนทำงานโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะสำหรับคนที่มักจะ...