Brief Reinterpretation : ตีโจทย์แตก มีชัยไปกว่าครึ่ง

ในวงการโฆษณามักเรียกโจทย์ปัญหาว่า “Brief” ซึ่งอันที่จริงสามารถใช้ได้กับทุกวงการธุรกิจอื่นๆ (รวมถึงเรื่องชีวิต)บางครั้ง Brief มาพร้อมปัญหาที่ดูมืดมนไปหมด แต่คุณลองแค่ “ตีโจทย์ใหม่” ให้แตก มองมุมกลับ (Brief Reinterpretation) ก็อาจเจอกับทางออกของปัญหา…หรือแม้แต่ปัญหานั้นได้ถูกแก้ไปกว่าครึ่งแล้ว!

พบกับเรื่องราวที่จะชวนให้คุณกลับมา “ฉุกคิด” ถึง Brief ของตัวเอง…ไม่แน่นะ ทางออกปัญหาอาจอยู่ใกล้แค่เอื้อมจนคุณมองข้ามมันมาโดยตลอด !

เก้าอี้ว่างในคอนเสิร์ต Elvis Presley

Jerry Weintraub เป็นนักจัดคอนเสิร์ตรุ่นเยาว์ที่มีศักยภาพ เขาจับพลัดจับพลูได้มาเป็นคนจัดทัวร์คอนเสิร์ตให้กับ “Elvis Presley” นักร้องในตำนานตัวท็อปของโลก!

ในวงการนี้ ถ้าทัวร์คอนเสิร์ตประสบความสำเร็จ Weintraub จะขึ้นสู่จุดสูงสุดของอาชีพ แต่ถ้าทัวร์ล้มเหลว เขาอาจต้องบอกลาวงการ

Elvis Presley ให้ “โจทย์” เขามาเพียงข้อเดียว แต่เป็นข้อที่ไม่มีการประนีประนอมใดๆ ทั้งสิ้น โจทย์นั้นคือ “ต้องไม่มีเก้าอี้ว่างในคอนเสิร์ตของผม” นั่นคือ ต้องขายตั๋วทุกใบให้หมดเกลี้ยง ห้ามเหลือแม้แต่ใบเดียว

ปกติคอนเสิร์ตจะมีเล่น 2 รอบคือทั้งช่วงเย็น (Evening Concert) และ กลางวัน (Matinee Concert)

ช่วงเย็นไม่ใช่ปัญหาเพราะถูกรสนิยมผู้ชมส่วนใหญ่อยู่แล้ว ตั๋วรอบเย็นจึงขายหมดเกลี้ยงล่วงหน้า

เมื่อถึงวันงาน Weintraub รีบมาแต่เช้าตรู่ และสิ่งที่เขากลัวมาตลอดก็ดันเกิดขึ้น นั่นคือ เหลือตั๋วรอบกลางวันที่ยังขายไม่หมดกองอยู่หลายร้อยใบ!! 

ทำไงดี อีกไม่กี่ชั่วโมงต้องขึ้นเล่นแล้ว ไม่มีทางขายตั๋วหมดทันแน่ๆ จะไปหาคนซื้อมาจากไหน และเขารู้ดีว่า Elvis Presley ไม่ประนีประนอมเรื่องนี้…เส้นทางอาชีพเขากำลังเดินมาถึงจุดจบ?

ขณะที่เหงื่อกำลังแตกพลั่ก เขาทวนโจทย์ใหม่อีกรอบ “ต้องไม่มีเก้าอี้ว่างในคอนเสิร์ตของผม”

เมื่อมาคิดดูดีๆ แบบตรงไปตรงมา นั่นอาจไม่ได้แปลว่า ต้องขายตั๋วให้หมดนี่นา? แต่คือทำยังไงก็ได้ให้คอนเสิร์ตนี้ “ไม่มีเก้าอี้ว่าง” เหลืออยู่!!

เมื่อเขาได้โจทย์ใหม่ (เหลือไม่กี่ชม.แล้ว) จึงรีบเรียกคนงานมารวมกันให้หมด แล้วทำการ “รื้อถอน” เก้าอี้ว่างที่ยังไม่ถูกจองออกให้หมด

Elvis Presley ขึ้นคอนเสิร์ตโดยไม่เห็นเก้าอี้ว่างตามที่ตนกำกับ

Weintraub ก็ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอาชีพ กลายเป็นนักจัดคอนเสิร์ตตัวท็อปของสหรัฐอเมริกา

สเปรย์ช่วยชีวิต

นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกำลังเจอปัญหาชวนปวดหัวที่อาร์กติก (Arctic) แถบขั้วโลกเหนือ เพราะมีกลุ่มนักล่าแมวน้ำหลายร้อยคนกำลังออกภารกิจล่าลูกแมวน้ำเพื่อมาทำเสื้อโค้ทคุณภาพสูง ให้สัมผัสที่นุ่มละมุน

โจทย์แรกของนักอนุรักษ์คือ “ทำยังไงก็ได้เพื่อหยุดนักล่าไม่ให้ฆ่าลูกแมวน้ำ” 

แต่ในทางปฏิบัติเป็นเรื่องที่ยากมากๆ กลุ่มนักล่าเป็นคนเถื่อน อารมณ์ร้อน ชอบใช้ความรุนแรง บางครั้งมีปากมีเสียงกับกลุ่มอนุรักษ์จนเกือบเข้ามาทำร้ายร่างกาย

สถานการณ์ไม่ค่อยดี การฆ่ายังคงดำเนินไปต่อเนื่อง ไม่มีทีท่าจะหยุด แต่แล้วกลุ่มก็นึกขึ้นได้ว่า โจทย์ที่ถูกต้องกว่าและอาจง่ายกว่าด้วยซ้ำคือ “ทำยังไงก็ได้ไม่ให้ลูกแมวน้ำถูกฆ่า” เป็นการมองมุมกลับนั่นเอง

เมื่อคิดได้ดังนั้นจึงวิเคราะห์ถึงต้นตอสาเหตุการฆ่า ซึ่งก็คือ “ฆ่าเพื่อนำมาทำเสื้อโค้ท”

กลุ่มอนุรักษ์จึงพกกล่องสเปรย์ไล่ “ฉีด” ใส่ลูกแมวน้ำทั้งตัว ซึ่งลูกแมวน้ำไม่ได้บาดเจ็บแต่อย่างใด และมันเองก็ไม่สนใจด้วยว่าขนบนตัวเลอะสีอะไร

แต่เรื่องนี้เป็นปัญหาต่อกลุ่มนักล่า เพราะเมื่อขนบนตัวลูกแมวน้ำเลอะสี ก็ไม่สามารถนำไปทำเสื้อโค้ทคุณภาพดีได้ เมื่อนำไปขายทำกำไรไม่ได้…ก็ไม่มีเหตุผลให้ต้องฆ่ามันอีกต่อไป

You Don’t Have to Be Jewish.

เจ้าของร้านเบเกอรี่ Levy’s ใน New York เข้าพบ Bill Bernbach นักโฆษณาแถวหน้าของอเมริกาในยุค 1970s และเล่าว่าโจทย์ของเขาคือ ”Market Share” ขยายส่วนแบ่งตลาดสู่ชาวยิว 

โดยต้องการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ Jewish Chronicle ซึ่งกลุ่มผู้อ่านหลักเป็นชาวยิว เนื่องจากร้านเขาขายขนมปังไรย์ (Rye Bread) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการกินอาหารของชาวยิว

แต่ Bill Bernbach บอกว่านั่นแหล่ะคือปัญหา โดยให้เหตุผลว่าเพราะชาวยิวส่วนใหญ่ที่ New York เป็นกลุ่มผู้อพยพที่กินแต่ขนมปังไรย์ทำสดเท่านั้น (ไม่ใช่มาจากโรงงานแบบ Levy’s)…จึงต้องหากลุ่มลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยกิน Rye Bread มาก่อน

โจทย์เปลี่ยนจาก Market Share เป็น ”Market Growth”

โดยโฆษณายุคนั้นยังยึดติดกับ “ขนบเดิมๆ” โดยนายแบบ-นางแบบต้องเป็นฝรั่งผิวขาวเท่านั้น ผมบลอนด์ ตาสีฟ้า ฟันสวย รูปรางเป๊ะ

แต่ Bill Bernbach ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น เขาสำรวจความคิดตัวเองและพบว่า ในเมืองที่มีผู้คนทุกเชื้อชาติมารวมอยู่ในที่เดียวอย่าง New York ถ้าต้องการ Market Growth ขนาดใหญ่จริงๆ กลุ่มตลาดหลักต้องไม่ใช่ฝรั่งคนขาว…แต่คือ คนดำ / คนจีน / ญี่ปุ่น / ชาวอเมริกันพื้นเมือง / อิตาเลี่ยน / ไอริช / ลาตินอเมริกัน ฯลฯ ซึ่งเป็นฐานลูกค้าที่ใหญ่กว่ามาก

โฆษณาของเขาจึงเป็นกลุ่มคนเหล่านี้ พร้อมออกสโลแกน “You don’t have to be Jeweish to love Levy’s real Jewish Rye.” สร้างการจดจำอันทรงพลัง

โฆษณาชิ้นนี้ทำให้ ปูทางให้ยอดขายขนมปังไรย์ Levy’s ขายดีที่สุดในเมือง ก่อนจะขายดีที่สุดในรัฐ…และสุดท้าย ขายดีที่สุดในประเทศ!

ช่างทำผมหมื่นล้าน

Vidal Sassoon เป็นช่างทำผมมากฝีมือให้กับศิลปินชื่อดังของอังกฤษในยุค 1950s ด้วยสไตล์การตัดผมรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากขนบเดิมๆ ทำให้เขามีชื่อเสียงในหมู่ดารา โดยเฉพาะนางแบบนิตยสาร Vogue มีคิวงานไม่ขาดสาย เรียกว่าสถานะปัจจุบันของเขา ก็มีกินมีใช้-มีฐานะค่อนข้างดีเลยทีเดียว

ในวงการนี้ เมื่อดาราคนหนึ่งประสบความสำเร็จ คนรอบตัวมีแนวโน้มสำเร็จขึ้นตาม เช่น ช่างทำผมอย่าง Vidal Sassoon ที่ทำผมประจำให้กับ Michael Caine นักแสดงที่แจ้งเกิดใหม่ในยุคนั้น

เป้าหมาย(โจทย์) ของ Vidal Sassoon คือแค่อยากตัดผมให้ผู้คนเยอะๆ เพื่อที่พวกเขาจะได้ดูดีขึ้น มีความมั่นใจ และมีความสุข ซึ่งปัจจุบันเขาทำได้แล้ว และก็ดูพอใจกับชีวิตดี

แต่แล้ว เช้าวันหนึ่ง Caine เดินเข้ามาหา Sassoon และให้คำแนะนำเรื่องหนึ่งที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าชีวิตเขาไปตลอดกาล

Caine บอกว่าภาพรวมเขาทำได้โอเคกับชีวิตแล้ว แต่ถ้าอยากไปไกลกว่านี้ต้องเปลี่ยน เพราะที่เป็นอยู่มันมี “ลิมิต” ในการตัดผม-ทำผม วันนึงคุณอาจรับลูกค้าได้ 7-8 คน และไม่มีทางมากไปกว่านั้น

สุดท้ายแล้วโมเดลนี้ ความรวยของคุณจะมีจำกัด และจำนวนคนที่จะส่งมอบความสุขก็จำกัด เพราะ Sassoon ต้องตัดผมทุกคน…ทีละคนด้วยตัวเขาเอง

สรุปเขาได้รับโจทย์ใหม่คือ “ทำยังไงก็ได้ให้ตัวเขาเองยังทำเงินและส่งมอบความสุขให้คนอื่นได้โดยตัวเขาไม่ต้องลงมือทำเอง”

เค้าคิดเรื่องนี้อยู่นานจนปีต่อมาเขาตัดสินใจเปิด Sassoon Academy ใจกลาง Mayfair ย่านหรูในลอนดอน เป็นที่อบรมสอนตัดผม-ทำผมแบบครบวงจรโดย Vidal Sassoon ลงมือสอนทุกคนด้วยตัวเอง ให้ตัดผมใน “สไตล์” ของเขา

หารู้ไม่ว่า ต่อมา Sassoon Academy ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนกลายเป็นที่ฝึกสอนคนในวงการแต่งหน้าทำผมระดับ World Class จนถึงปัจจุบัน มีสถาบันอยู่ที่สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และอีกหลายแห่งทั่วโลก รวมถึง “ผลิตภัณฑ์” ของแบรนด์ที่ออกมาแบบครบวงจร

ช่างที่จบจากสถาบันออกไป ก็เปรียบเสมือน Vidal Sassoon อีกคนหนึ่ง มีทักษะชั้นสูงเช่นเดียวกัน พร้อมส่งมอบความสุขผ่านเส้นผมให้คนอื่น

ปี 1982 Sassoon Academy และผลิตภัณฑ์ทั้งหมดทำเงินไปเมื่อตีเป็นค่าเงินปัจจุบันอยู่ที่ราว $500 ล้านเหรียญสหรัฐ

โจทย์ที่เปลี่ยนไปในวันนั้น…ทำให้เค้ามาไกลถึงวันนี้

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa ตีโจทย์ใหม่ให้กับชีวิต เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…คุณพร้อมมีความสุขกับการทำงานในทุกๆ วันแล้วหรือยัง? >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com


อ้างอิง

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

วิธีประเมินหัวหน้า
วิธีประเมินหัวหน้าอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาทั้งทีมและองค์กร
ในช่วงการประเมินผลการทำงานประจำปี นอกจากพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้าแล้ว หลายองค์กรยังเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถประเมินการทำงานของหัวหน้าตนเองได้อีกด้วย...
6 นิสัยสำคัญ
6 นิสัยสำคัญที่จะทำให้ปี 2025 เป็นปีที่ดีที่สุดของคุณ โดย Ali Abdal
ถ้าคุณกำลังมองหาวิธีพัฒนาตัวเองให้ชีวิตดีขึ้นในปี 2025 ลองมาดู 6 นิสัยสำคัญ ที่ Ali Abdal ผู้เชี่ยวชาญด้าน Productivity และเจ้าของช่อง YouTube ชื่อดังแนะนำไว้...
ลาพักร้อน
ก่อน "ลาพักร้อน" ต้องรู้ ! วิธีจัดการงานและตัวเองให้หยุดยาวอย่างสบายใจ 
ลาพักร้อนนี่แหละความสุขของพนักงานคงมีหลายคนที่ทำงานมาตลอดปี และอดทนรอเวลาที่จะได้ใช้วันลาของตัวเองเพื่อไปพักร้อนยาวๆ สัก 1 ทริป บอกเลยว่าการ “ลาพักร้อน”...